ดูหนึ่งข้อความ
  #15  
Old 20 เมษายน 2006, 11:21
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ M@gpie:

ทฤษฏีบท : Lebesgue's Integrability criterion
ให้ \( f : [a,b] \rightarrow R \) เป็นฟังก์ชันมีขอบเขตบน \( [a,b] \) จะได้ว่า f เป็นฟังก์ชันที่หาปริพันธ์รีมันน์ได้ ก็ต่อเมื่อ f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องเกือบทุกแห่งบน [a,b]

ฟังก์ชันต่อไปนี้ที่มีสมบัติดังกล่าว ใช่ไหมครับ?
1. ฟังก์ชันต่อเนื่องเป็นช่วงๆ และมีขอบเขต ที่มีจุดไม่ต่อเนื่องเป็นจำนวนจำกัด ??
2. ฟังก์ชันอย่างง่าย simple function ??
3. ฟังก์ชันดีริคเลต \[ f(x) = \biggl\{ \begin{array}{rcl} 1 & ; & x \in Q \cap [0,1] \\ 0 & ; & x \in Q \prime \cap [0,1] \end{array} \]
ซึ่งในข้อ 3. ผมสงสัยว่า ในตัวอย่างบอกว่าหาปริพันธ์รีมันน์ไม่ได้เพราะไม่ต่อเนื่องที่ทุกจุด ?? แต่จาก criterion ข้างบนจะกล่าวได้ว่าหาปริพันธ์รีมันน์ได้ ?? เอ๊ะ งง

ถ้าเราใช้ทฤษฏีบทนี้ ก็จะได้ว่า มีฟังก์ชัน \( g(x) = 0 \; ; \; x \in [0,1] \)
ซึ่ง f = g เกือบทุกแห่งบน [0,1] จะได้ว่า \[ \int_{[0,1]} f \; d\mu = \int_0^1 g dx = 0 \] ได้คำตอบเดียวกันกับใช้นิยาม แบบนี้ถูกไหมครับ
และทำนองเดียวกัน ก็จะได้ว่า
\[ f(x) = \biggl\{ \begin{array}{rcl} \cos x & ; & x \in Q \cap [0,1] \\ \sin x & ; & x \in Q \prime \cap [0,1] \end{array} \]
มีฟังก์ชัน \( g(x) = \sin x \; ; \; x \in [0,1] \)
ซึ่ง f = g เกือบทุกแห่งบน [0,1] จะได้ว่า \[ \int_{[0,1]} f \; d\mu = \int_0^1 \sin x dx \] ซึ่งง่ายกว่าใช้นิยาม เพราะนิยามคำนวณยาก

แต่ทฤษฏีบทนี้บอกว่าถ้าฟังก์ชันสอดคล้องเงื่อนไขสามารถหาปริพันธ์รีมันน์ได้ และ จะเท่ากับปริพันธ์เลอเบก แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าฟังก์ชันไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข จะไม่สามารถหาปริพันธ์เลอเบกได้ ?? แสดงว่าถ้าฟังก์ชันไม่สอดคล้องเงื่อนไขนี้ อาจจะหาปริพันธ์เลอเบกได้แต่ ต้องใช้วิธีอื่น ใช่ไหมครับ หรือว่า ถ้าไม่สอดคล้องก้ไม่สามารถหาปริพันธ์เลอเบกได้ ??
ข้อ 1 Riemann integrable ครับ
ข้อ 2 ไม่จำเป็นครับ เพราะฟังก์ชันอย่างง่ายสามารถนิยามบน measurable set ใดๆได้ ตัวอย่างก็คือข้อ 3 นั่นเอง แต่ถ้าเป็น step function ก็โอเคครับ
ข้อ 3 ไม่ Riemann integrable ครับ เพราะเซตของจุดซึ่งฟังก์ชันไม่ต่อเนื่องมี measure มากกว่าศูนย์

ส่วนที่ทำให้ดูตอนหลังก็โอเคแล้วครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้