ดูหนึ่งข้อความ
  #2  
Old 12 กรกฎาคม 2010, 10:55
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ผมคงเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในข่ายเดียวกับน้องsuttikeat.....หัวกลางๆ ไม่ได้ไบรท์จัด
ตอนเรียนมัธยมต้นเหรอครับเกรดผมก็ใกล้ๆกับน้องนั่นแหละ....ขอเรียกเป็นน้องแล้วกัน(จริงๆแล้วลูกคนโตอยู่ม.1) ขอเล่าให้ฟังแล้วกันครับ ผมขอแบ่งความรู้เป็นขั้นพื้นฐานกับขั้นพลิกแพลงประยุกต์ อันดับแรกต้องมีพื้นฐานที่แน่นพอตัวก่อนครับซึ่งในระดับนี้น้องสามารถซื้อคู่มือของสำนักพิมพ์ไหนก็ได้ในท้องตลาดมาอ่าน เพราะเป็นภาคบังคับตามหลักสูตร ขอเพียงแต่นั่งทำตามแบบฝึกหัดในแต่ละตอนจนครบ สิ่งที่จะได้คือจำสูตรได้จนติดหัว เพราะทำซ้ำๆจนจำได้และได้ความเข้าใจกฎพื้นฐาน ขยับขึ้นมาอีกขั้นที่ผมมองว่าหนังสือเล่มไหนในท้องตลาดที่เราน่าจะซื้อคือการเพิ่มเติมเนื้อหาการพลิกแพลงประยุกต์ เป็นคุณค่าเพิ่ม ซึ่งถ้าความรู้พื้นฐานไม่แน่น การประยุกต์ย่อมทำได้ยาก ผมแนะนำอ่านเล่มใดเล่มหนึ่งสักเล่มก่อนเพื่อปูพื้นตัวเองให้แน่นก่อนครับ

สำหรับผมเองแรกๆไม่ได้ชอบคณิตศาสตร์ เพราะเรียนไม่รู้เรื่อง แถมเคยคิดว่าตัวเองคงเรียนคณิตศาสตร์ไม่ได้ดีแล้ว เมื่อลองนั่งอ่านนั่งทำโจทย์ไปเรื่อยๆจากง่ายๆแล้วเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ ค่อยๆมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น หาโจทย์สอบแข่งมาทำ พอดีเป้าหมายของผมคือการเข้ามหาวิทยาลัย จึงเน้นไปที่ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นหลัก โจทย์ระดับแข่งก็ไม่ค่อยได้สนใจ และยังต้องแบ่งเวลาอ่านวิชาอื่นเพื่อเตรียมสอบ เลยขีดเส้นให้ตัวเองว่าทำคะแนนคณิตศาสตร์ได้สัก70-80คะแนนเท่านั้นพอ แทบไม่น่าเชื่อว่าแต่ละชั่วโมงแต่ละวันที่ผ่านไป ผมก็เริ่มชอบคณิตศาสตร์ไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้เก่งอะไรมากเกินสิ่งที่ผมตั้งเป้าไว้ .อีกสิ่งหนึ่งที่ผมทำจนคิดว่าครูกับอาจารย์หลายคนคงรำคาญ คือที่เรียนที่โรงเรียน หมดชั่วโมงสอนผมมักจะหยิบโจทย์ที่ผมทำไม่ได้ไปประกบถามครูเสมอ โชคดีที่ครูเขาไม่รำคาญ เมตตาชี้แนะเสมอครับ ครูยุคเก่าเขาไม่รำคาญเขากลับชอบ เผลอๆเวลาพักผมก็แอบไปถามที่ห้องพักครูเป็นประจำ ไม่ได้หวังคะแนนพิศวาสหรอกครับ อยากได้ความรู้จริงๆ และที่เรียนพิเศษก็อีกเช่นกัน ผมก็ถามแบบนี้ ไม่ได้หวังจะแกล้งให้ต้อนครูจนมุม เราถามด้วยความอยากรู้จริงๆ และเพื่อนที่เก่งกว่าผมหลายคนก็ถูกผมถามอีกเช่นกัน สุดท้ายเวลาทีมีโจทย์แปลกๆเพื่อนก็เอามาถามเราเอง ทำได้บ้างทำไม่ได้บ้างก็ไม่เป็นไร

มีหนังสือสำหรับม.ต้นเล่มหนึ่งที่ผมว่าดี ตามพี่เล็กswitchGearคือ หนังสือHi-Speed Gifted Math M.1-2-3 'ลุยโจทย์คณิตศาสตร์กิฟเตด ม.1-2-3 ....เล่มแดงๆหนาๆเกือบ 800 หน้า เล่มละเกือบสองร้อย ของสำนักพิมพ์SCIENCE CENTER ของ ณัฐวุฒิ ขานภูเขียว, อัมรินทร์ อภิรักษ์มาศ...(ไม่ได้ค่าโปรโมทนะครับ)......ลองไปดูที่ร้านหนังสือครับ เปิดๆดูก่อน.....สมัยก่อนผมชอบเข้าไปห้องสมุดของโรงเรียนและชุมนุมคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน ยืมหนังสือมาอ่านบ้าง เก็บโจทย์มาทำบ้าง อีกวิธีที่ประหยัดตังค์ครับ.....
เป็นมุมมองของผม ไม่รู้ว่าพอจะได้ความอะไรบ้างไหมครับ วันเวลาเปลี่ยนไป บางอย่างก็ยังใช้ได้ บางอย่างอาจต้องปรับวิธี
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

12 กรกฎาคม 2010 14:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้