ดูหนึ่งข้อความ
  #51  
Old 20 เมษายน 2018, 13:49
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ขอขอบคุณ คุณTop

ขอตอบที่ถามมาครับ
(ขออภัยที่ตอบช้ามาก ๆ เพิ่งกลับมาเห็นครับ)
"เราควรทำเกาเหลาให้เหมาะสมกับความรู้ที่มี เท่านั้นเองใช่ไหมครับ"


ใช่ครับ

ผมแนะสอนในหลายระดับ
สิ่งที่ระวัง เตือนตนเองเสมอ คือ ระดับเนื้อหาที่เรา (สองฝ่าย) พูดคุยกัน

จาก คห.26
A รับสมัครงาน ป.ตรี ด้วยเงินเดือน 15000 บาท
สิ้นเดือน จ่ายเงินเดือนทุกคน 15000

ก บอกว่า ทำงานดีกว่า ข ค ง ต้องได้ 18000
ข บอกว่า ทำงานดีกว่า ค ง ต้องได้ 17000

A จึงตอบว่า
"เราตกลงกันเงินเดือน 15000 บาท ไม่ใช่หรือ
ผมผิดสัญญาหรือ
ผมเป็นผู้ว่าจ้าง
ใครทำงานดี/ไม่ดี ใครกันควรมีสิทธิ์ตัดสิน"

คห.29
ถกว่า จะวัดผลใด ๆ เราควรคำนึงว่า
เรามีข้อตกลงอะไรกันบ้าง
ผู้ทดสอบเป็นกลุ่มพวกไหน
จะวัดระดับใด เพื่ออะไร ฯลฯ

ระดับ ม.ต้น เรียนจำนวนตรรกยะ
ระดับ ม.ปลาย เรียนจำนวนจริง
หาก ผู้ตอบโจทย์ระดับ ม.ปลาย วิเคราะห์โจทย์ได้แค่ ระดับ ม.ต้น
เราก็ต้องให้คะแนนแค่นั้น (เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน)
แม้ คำตอบไม่ผิด
ดังที่ผมยกว่า ผู้จ้าง จ้างป.โท ทำงาน เงินเดือนป.โท
แต่ทำงานได้แค่ ป.ตรี
หากไม่ลดเงินเดือน ก็คงให้ออก


คห.37
แต่มุ่งว่า เมื่อได้รับมอบงานใด ๆ มาให้ทำ ควรต้องคำนึง
"แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่"

อย่าง รง.ไส้กรอก
ผู้ว่าจ้าง ไม่ประสงค์ให้ จบป.โท ไปนั่งผสมไส้กรอก (ระดับอื่นเขาทำได้)
แต่จ้างเพื่อไป ตรวจตรา แก้ปัญหาที่อาจเกิด

โจทย์แยกตัวประกอบ ต้องการให้ผู้ร่วมถก เห็นประเด็น
"แก่นเรื่อง บุคคล กาล และ สถานที่" ครับ

ถ้า คนที่1 เห็นแค่ "พื้น ๆ" ทั้งที่ เขาสามารถมากกว่านั้น
ย่อมไม่สมควร คะแนนจึงตามนั้น (ไม่ให้ต่ำกว่าครึ่ง เพราะ "ไม่ผิด")ครับ


ขอบคุณยิ่งครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้