ดูหนึ่งข้อความ
  #14  
Old 29 ตุลาคม 2010, 22:07
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อยากจะบอกเพียงว่า จุดประสงค์ของการออกข้อสอบ ปรนัย และอัตนัย มีจุดประสงค์ในการวัดแตกต่างกัน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โดยหลักการแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับครูขี้เกียจตรวจเป็นสำคัญ เพียงแต่ว่าคุณภาพของการออกต่างหากที่เป็นปัญหา เลยทำให้เห็นว่า ข้อสอบปรนัยไม่สามารถวัดผลได้ บางคนยังเข้าใจว่าข้สอบปรนัยคือข้อสอบแบบตัวเลือก ซึ่งตามหลักวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 ประเภทย่อย

1. แบบตอบสั้นๆ (แบบนี้ที่เรามักเข้าใจว่าเป็นอัตนัย ซึ่งไม่ใช่)
2. แบบเติมคำ (แบบนี้ที่เรามักเข้าใจว่าเป็นอัตนัย ซึ่งไม่ใช่)
3. แบบจับคู่
4. แบบถูก-ผิด
5. แบบเลือกตอบ

ส่วนความหมายหรือลักษณะของข้อสอบอัตนัยมีนักวิชการให้ความหมายดังนี้

ข้อสอบอัตนัยเป็นข้อสอบที่ให้ผู้เรียนเขียนตอบแบบบรรยาย เพื่อวัดผลว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนไปแล้วอย่างไรบ้าง ข้อสอบอัตนัยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด และทัศนคติได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการรวบรวม เรียบเรียง และลำดับความคิดของตนให้เป็นระบบระเบียบ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการเขียนถ่ายทอดความรู้ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนด้วย การวัดผลการเรียนการเรียนในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่มักใช้ข้อสอบอัตนัย ดังนั้นการเรียนรู้ลักษณะและการตอบข้อสอบอัตนัยจึงมีความสำคัญ

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งลักษณะของข้อสอบอัตนัยได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ข้อสอบที่มุ่งให้อธิบาย
2. ข้อสอบที่มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
3. ข้อสอบที่มุ่งให้อภิปราย

หลักสำคัญของการออกข้อสอบปรนัยและอัตนัยพอแยกให้เห็นถึงจุดประสงค์และสิ่งที่ต้องคำนึงได้ดังนี้
1.วัดความมุ่งหมายของการเรียนการสอน
ปรนัย : ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์และการวิเคราะห์ ไม่เหมาะที่จะใช้วัดการสังเคราะห์และการประเมินค่า
อัตนัย : ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ไม่เหมาะที่จะใช้วัดความรู้ ความจำ
2. การสุ่มเนื้อหา
ปรนัย : ใช้จำนวนข้อสอบมาก ทำให้สุ่มเนื้อหาได้มาก
อัตนัย : ใช้จำนวนข้อสอบน้อย ทำให้สุ่มเนื้อหาได้น้อย
3. การเตรียมการ
ปรนัย : ข้อสอบที่ดีสร้างยาก และใช้เวลาสร้างนาน
อัตนัย : ข้อสอบที่ดีสร้างยาก แต่ทำได้ง่ายกว่าแบบปรนัย
4. การให้คะแนน
ปรนัย : ยุติธรรม ง่ายและมีความเชื่อมั่นสูง
อัตนัย : ลำเอียง และมีความเชื่อมั่นต่ำ
5.ปัจจัยที่ทำให้คะแนนคลาดเคลื่อน
ปรนัย :เนื่องจากการอ่านข้อสอบ และการเดาของผู้สอบ
อัตนัย :เนื่องจากลายมือ และวิธีเขียนของผู้สอบ
6. ผลต่อการเรียนรู้
ปรนัย : กระตุ้นให้ผู้เรียนจำ แปลความวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้อื่น
อัตนัย :กระตุ้นให้ผู้เรียนจัดระบบผสมผสานและแสดงออกซึ่งความคิดของตน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้