ดูหนึ่งข้อความ
  #25  
Old 03 มิถุนายน 2010, 23:18
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

... เนื้อหาต่อจากความเห็น #19

ใครเคยรู้จักคำว่า "การย่อเรขาคณิต" มาก่อนบ้าง ??? ผมก็เพิ่งอ่านเจอในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งตามเนื้อหาที่เขียนไว้
บ่งบอกว่าเป็นแนวคิดของผู้แต่งหนังสือเอง ลองมาดูกันครับว่าจะย่อเรขาคณิตได้อย่างไร ?


การย่อเรขาคณิต

ตามธรรมดานักเรียนมักดูเรขาคณิตเต็มเรื่องเสมอ ซึ่งเป็นการดีเมื่อนักเรียนมีเวลามากๆ หากนักเรียนมีเวลาน้อย
ควรจะย่อไว้ดูด้วย (แต่ถ้าดูย่อไม่รู้เรื่องก็ต้องดูเต็มเรื่อง) ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการย่อที่ได้คิดขึ้น หวังว่าคงจะ
เป็นประโยชน์แก่นักเรียนและครูผู้สอนบ้าง การย่อควรเขียนไว้ทางช่องซ้ายมือ ดังจะเห็นตามตัวอย่างที่จะ
กล่าวต่อไปทุกๆ ตัวอย่าง

1. สร้าง มีสร้างอะไรไว้หรือเปล่า สร้างแล้วได้ประโยชน์อะไร เช่น ลากเส้นขนานได้มุมแย้งเท่ากัน ฯ

2. จุดสำคัญ หรือเรียกว่าจุดอ่อนแอของโจทย์ที่เราจะโจมตี อยู่ตรงไหน เช่นพิสูจน์มุมนั้นเท่ากับมุมนี้ก่อน ฯ

3. ใช้ทฤษฎีบท หรือ บทสร้าง ใดบ้าง เช่น ท.บ.14, ท.บ.60 ฯ

4. ข้อควรระวัง หรือสิ่งที่หลอกลวงให้เราหลงอยู่ตรงไหน เช่น เขาบอกหลายเหลี่ยม เราทำเป็นสามเหลี่ยม ฯ

5. เคยติดตรงไหน คือเมื่อเวลาดูแล้วทำไม่ได้ ไปติดตอนไหน เช่น ติดตอนลืมพิสูจน์วงกลมล้อม ฯ

หมายเหตุ ในข้อหนึ่งๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเรื่องราวที่จะย่อทั้ง 5 ข้อ อาจจะมีเพียงบางข้อก็ได้ แต่ข้อ 2 กับข้อ 3
ควรมีเสมอ และเวลาทำสอบไม่ต้องเขียนย่อลงไปด้วย

-------------------------------

โปรดติดตามเนื้อหาตอนต่อไปเกี่ยวกับ "การเขียนรูป" ครับ!

แต่ก่อนจบความเห็นนี้ มาดูรูปประกอบของตัวอย่างที่ 12 เพื่อให้เข้าใจคำอธิบายเรื่อง "การย่อเรขาคณิต" มากขึ้น
พร้อมทั้งจะได้เห็นรูปแบบการเฉลยทั้งแบบเต็มและแบบย่อของตัวอย่างแต่ละข้อในหนังสือเล่มนี้ด้วย โดยตัวอย่าง
ทั้งเล่มก็จะเฉลยทั้งแบบเต็มและแบบย่อทำนองเดียวกันนี้ ... ดูแล้วเพื่อนชาว MC เริ่มชอบหนังสือเล่มนี้หรือยัง ?
.
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

03 มิถุนายน 2010 23:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้