ดูหนึ่งข้อความ
  #14  
Old 25 มกราคม 2007, 11:36
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

มาต่อแบบที่ 2 ครับ ก็จากแบบแรกมันทำให้ การประเมินถูกกดดันค่อนข้างมากด้วยเหตุผลที่ว่ามา ก็เลยให้เจ้าของผลงานไม่ต้องรู้เลยว่าใครอ่านและประเมินให้ ผู้ประเมินมีความอิสระมากขึ้น มากขนาดว่าไม่ต้องรับผิดชอบเลยก็ได้ หากประเมินผิดพลาด ( เช่น บทความผิดแต่ผู้ประเมินมองไม่เห็น เป็นต้น ) หรือว่าไม่พอใจเจ้าของผลงานเป็นการส่วนตัว ก็เขี่ยบทความที่ประเมินทิ้งไป ดองไว้ไม่อ่านซะงั้น เจ้าของผลงานก็รอแล้วรอเล่า หรือจนเกิดเหตุการณ์ เช่น มีคนทำคล้าย ๆ กัน แล้วเอาเหตุนั้นมา reject เรื่องแบบนี้ถ้าเจอเข้ากับใคร ถือว่าเป็นความโชคร้ายแสนสาหัส

ที่มาของเหตุ "ไม่พอใจเจ้าของผลงานเป็นการส่วนตัว" ก็มาจาก ระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของวารสาร (ของบริษัท ๆ หนึ่ง ไม่บอกแล้วกัน---ไม่ใช่เมืองไทยหรอกครับ---ท้ายสุดเป็นแนวคิดให้เกิด google เขาว่ากันว่าอย่างนั้นนะ) เพราะว่ามีวารสารเยอะมากจนคนเริ่มสงสัยว่า วารสารไหนดี วารสารไหนแย่ บางวารสารมีมาตรฐานน้อย มาตรฐานมากกว่ากัน ได้รับการยอมรับมากกว่ากัน มีคนอ่านเยอะกว่ากัน เลยมีการกำหนดมาตรฐานที่เรียกกันว่า impact factor ขึ้น เจ้าเลขตัวนี้เป็นดัชนีมาจัดอันดับว่าวารสารไหนดีกว่ากัน (จริง ๆ มีหลายดัชนี ขอเล่าแค่ตัวนี้ตัวเดียวนะครับ) ขอยกตัวอย่างแล้วกัน impact factor ของวารสาร X ปีที่ Y (สมมติ Y=2006) คำนวณจากอัตราส่วนของจำนวนครั้งทั้งหมดของการอ้างอิง (citation) บทความของวารสาร X ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ Y-1 และ Y-2 (คือ 2005 และ 2004) ตลอดปี Y หารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดของวารสาร X ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ Y-1 และ Y-2 (การนับจะนับเฉพาะวารสารที่เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลของบริษัทที่ว่าเท่านั้น วารสารที่ไม่เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลก็ไม่นับ ต่อให้อ้างอิงเป็นร้อยเป็นพันก็ไม่นับ)

ถ้าอัตราส่วนนี้มาก หมายความว่า(ตามแนวความคิดของบริษัทดังกล่าว) วารสาร X เป็นที่นิยมชมชอบของหมู่นักวิชาการ เพราะว่า มีการอ้างอิง-กล่าวถึงบทความของวารสาร X บ่อยครั้งมากเมื่อเทียบกับจำนวนบทความที่เผยแพร่ (เดี๋ยวจะมาเล่าวันหลังนะครับ นักคณิตศาสตร์กลุ่มหนึ่ง(มากพอสมควร)ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าว---เพื่อน ๆ ลองคิดดูนะว่า"ทำไม")

กลับมาเข้าเรื่องนะ เดี๋ยวออกนอกเรื่องไปไกลเกินไป ผู้ประเมินกับกองบรรณาธิการ(บางวารสาร ขอย้ำ) อยากให้วารสารของตัวเองมี impact factor สูง ๆ ก็เลยจะพอใจมากถ้ามีการอ้างอิงวารสารตัวเองบ่อยครั้ง (สร้างภาพ) ก็มีแนวโน้มจะ accept บทความที่เป็นประเภทข้างต้นมากกว่า บทความทั่ว ๆ ไป เลยเป็นที่มาของวิชา "มาร" เจ้าของผลงานก็เขียนอ้างอิงถึงบทความอื่น ๆ ของวารสาร บ่อย ๆ ในขณะที่ผู้ประเมินกับกองบรรณาธิการขะยั้นขะยอให้เจ้าของผลงานอ้างอิงบ่อย ๆ โดยหารู้ไม่ว่ามันก็ให้เกิดขยะของการอ้างอิงมหาศาล ผู้ประเมินถ้าถูกกล่าวถึงในบทความที่ถูกประเมิน ก็พอใจ ผผู้เขียนเจ้าของผลงานก็หว่านแหอ้างอิงเผื่อฟลุคเจอไปตรงกับผู้ประเมินพอดี

เรื่องมันหนักเข้าไปอีก ขนาดหว่านแหแบบนั้น เกิดไม่อ้างอิงผู้ประเมิน ก็โดน reject ไปเลย โทษฐานไม่รู้จักอ้างอิงให้ตรงใจผู้ประเมิน เฮ้อเหนื่อยใจแทน ถ้าเจอเรื่องแบบนี้

ก่อนจบวันนี้ ขอออกตัวก่อนนะครับ ไม่ใช่คณิตศาสตร์วิชาเดียวที่เจอเรื่องนี้ และไม่ใช่ทุกวารสารเป็นแบบนี้นะครับ ข้อมูลข้างต้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัว--โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟังนะครับ และสุดท้ายนะครับ "ทองแท้ไม่กลัวไฟ(รน)"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้