ดูหนึ่งข้อความ
  #18  
Old 26 เมษายน 2011, 20:23
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ไม่เป็นไรครับเรื่องขอโทษ ผมไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องเสียหายในเรื่องความคิดเห็นต่าง ตราบใดที่ข้อมูล หลักคิดและความเชื่อไม่ตรงกัน ความคิดเห็นแตกต่างย่อมเป็นเรื่องธรรมดา และเราก็ไม่ได้ว่ากันแบบสาดเสียเทเสีย คุณ RoSe-JoKer ไม่ต้องขอโทษหรอกครับ การแสดงความเห็นของแต่ละคน ถูกหรือผิดชอบหรือไม่อนาคตและผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสิน ที่ผมพยายามนำเสนอข้อมูล ให้ มิได้ต้องการมาหักล้างความคิดเห็นของคุณ RoSe-JoKer เลย เพียงเข้าใจว่าคุณ RoSe-JoKer สนใจทางด้านการศึกษาก็เลยนำข้อมูลอีกด้านที่คิดว่าไม่ตรงกันให้อ่านครับ และเท่าที่ผมดูจากที่เขียนตอบก็อนุมานเอาว่าคงไม่ได้อ่านรายละเดียดเกี่ยวกับการปฎิรูปการศึกษา ที่ผมลิงค์ให้ (ถ้าเข้าใจผิดก็ขอโทษครับ) เพราะในนั้นได้ระบุถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมันก็ยังมีอยู่ และในส่วนของ พรบ. ก็ได้ระบุอยู่แล้วว่าจะต้องจัดให้เรียนฟรี อย่างน้อย 12 ปี ภาคบังคับ 9 ปี ถ้าได้ติดตามการเมืองจะเห็นว่าหลายพรรคก็ชูนโยบายด้านการศึกษาในตอนนั้นให้เรียนฟรี มากกว่า 12 ปี นะครับ ผมก็เลยมองเป็นประชานิยมแทบทุกพรรคแหละครับ ไม่ได้ตื่นเต้นอะไร เพียงแต่ใครโชคดีได้มาเป็นรัฐบาลเท่านั้น แต่ที่ผมไม่ได้ไปพูดเพราะไม่อยากไปยุ่งเรื่องการเมือง เพราะที่ผมได้แสดงความเห็นในกระทู้ก่อนหน้าถ้าได้กลับไปอ่านก็จะพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระบบ การจัดการ การกำกับ การตรวจสอบ ประสิทธิภาพของครู เด็กนัเรียน การประสานงาน เป็นต้น ถ้ามีเวลาน้อยและได้อ่านบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ก็จะเข้าใจว่าใครเป็นผู้ผลักดันเรื่องนี้โดยแถลงต่อสภา และในนั้นก็จะบอกถึงปัญหาที่มีอยู่ที่ผมพยายามไม่เขียนหรือเอยนามใครเพราะไม่อยากจะไปยุ่งการเมืองอีกครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบในความเห็นต่างหรือความเห็นที่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะเป็นสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละท่านที่อาจเข้าใจไม่ตรงกันหรือความเห็นต่างได้ขอเพียงไม่แตกแยกก็ใช้ได้แล้วครับ แต่ผมจะตอบในส่วนที่ถาม ที่ว่า ระบบดี เมื่อไหร่ระบบถึงจะเรียกได้ว่า "ดี" เรียกได้ครับ ถ้าเอาแบบง่ายๆ ก็สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ ครับ แต่ถ้าเอาแบบวิชาการ ก็ต้องมีตัววัด ตัววัดที่ว่าก็คือเป้าหมาย เช่น ถ้าระบบ o-net ดี เด็กในแต่ละปีต้องผ่านเกณฑ์เท่านั้นเท่านี้ เป็นต้น “ ถ้าหากเราจะมามัวแต่รอวันนั้น ประเทศชาติก็คงเดินหน้าไปได้แค่ไม่กี่เมตร ผมจึงแค่คิดว่าสุดท้ายมันก็อยู่ที่คน โดยตรงจุดนี้ถ้ามองตามตรรกะที่ผมคาดเดาไว้ของคุณหยินหยาง ก็ต้องบอกว่าผมคิดว่าอยู่ที่คนที่จะเลือกยอมรับในระบบที่มีอยู่นี้หรือไม่ แม้ว่าจะไม่ได้"ดี" “ การจะรอหรือไม่ไม่สำคัญเท่ากับถ้าเดินต่อไปแล้วมันจะตกเหวเอาก็ได้ (เป็นเพียงให้แง่คิดอีกด้าน) อันที่จริงระบบหรือคนคงต้องทำงานประสานกันไป แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีปัญหา ก็ไปดูที่ผลลัพธ์ ผมขอนำเสนอแนวคิดหรือหลักคิด ในวิชา motion & time study หลักมีอยู่ว่าเค้า พยายามที่จะหาหรือจัดระบบหรือเทคนิคมาพัฒนาคน เพื่อให้ได้มาตรฐาน โดยใช้เวลาหรือประสิทธิภาพของชิ้นงานมาเป็นตัววัด พอคนพัฒนามาได้ถึงจุดที่ต้องการ จุดตรงนั้นก็จะเป็นมาตรฐานธรรมดาไปซะแล้ว คนก็ต้องมาคิดระบบต่อที่จะช่วยพัฒนาคน ดังนั้นทั้งคนและระบบมักจะไปด้วยกัน จึงมักมีคำกล่าวที่ว่า คนพัฒนาระบบ ระบบพัฒนาคน
(ให้อีกแง่คิด ระบบแม้จะดีอย่างไร ถ้าไม่สามารถนำไปปฏิบัติหรือทำให้สัมฤทธิ์ผลได้ ก็ไม่ต่างกับขยะดีๆนี่เอง)

ปล. ผมอาจไม่สามารถขยายความในแต่ละประเด็นได้ เนื่องจากมีข้อจำกัด ก็ต้องขอโทษผู้อ่านด้วย บางครั้งเพื่อไม่ให้น่าเบื่อจึงเขียนด้วยลีลาเสียดสีบ้าง ออกเฮฮาบ้าง เพื่อให้คนอ่านจจะได้สะดุดคิดบ้างก็เท่านั้นเองครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้