ดูหนึ่งข้อความ
  #4  
Old 24 มกราคม 2013, 00:53
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ผมว่าคงต้องแยกระหว่างข้อสอบแข่งขันกับข้อสอบที่ใช้ทดสอบมาตรฐานการศึกษาออกจากกันก่อนเพราะจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน

และข้อสอบแข่งขันก็ต้องมาพิจารณาว่ายากกับเกินหลักสูตรก็ไม่เมือนกัน เราสามารถออกข้อสอบยากได้โดยไม่เกินหลักสูตรได้ครับ

ข้อสอบประเภทถึกใช้แรงมือกับใช้ทริกก็ไม่เหมือนกัน

ถ้าแยกเรื่องเหล่านี้ออกได้ก็จะพิจารณาได้ง่ายขึ้นครับ

ผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่ข้อสอบยากแล้วเลยไปเหมารวมว่าเกินหลักสูตร เท่าที่ผมดูข้อสอบแข่งขันที่มีชื่อเสียงถ้าจะออกเกินหลักสูตรก็มีไม่เกิน 10-15% แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน ปัญหาอยู่ที่คนที่มีความรู้มากกว่ามักจะใช้สิ่งที่เรียนรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อาจลืมคิดไปว่าอาจมีวิธีแก้แบบอื่นที่ใช้ความรู้ไม่เกินหลักสูตรก็ได้ ซึ่งอาจต้องใช้มุมมอง จินตนาการ และทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น ผมไม่ปฏิเสธว่าการใช้ความรู้เกินหรือมีความรู้เกินย่อมได้เปรียบ แต่ก็ไม่เสมอไปเหมือนกัน ลองดูกระทู้ใน MC ก็ได้

แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ก็คงไม่ง่ายครับเพราะคงต้องพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ถ้าเราเชื่อว่าการศึกษาสามารถพัฒนาคนได้ดังที่ทั่วโลก เค้าทำกัน
คำว่าพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียนหมายความว่่าอย่างไร
ผู้สอนคงต้องมีองค์ความรู้เป็นอันดับแรก ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องแต่จำเป็นต้องรู้เรื่องที่จะสอนอย่างแจ่มแจ้ง ประยุกต์การใช้ทฤษฎี เรื่องที่เรียน
สอง มีเทคนิคในการถ่ายทอด มีลูกเล่นในการสอน ไม่น่าเบื่อทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องที่ไม่ลืมอีกต่อไป รู้จักการสร้างทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้ผู้เรียน
สาม ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือรู้ว่าเท่าไรที่เด็กรับได้และแบบฝึกหัดแบบไหนแค่ไหนที่จะพัฒนาได้ ไม่ใช่ใครเรียนก็ชุดนี้เหมือนตำรายามหัศจรรย์
สี่ ต้องหมั่นพัฒนาตัวเองทั้งความรู้และเทคนิคการสอน

สำหรับผู้เรียน
หนึ่ง ต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองเรียนได้ถึงแม้จะโง่(ในความคิดของตัวเอง) คนส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาเก่ง
สอง ต้องตั้งใจ ขยันและอดทน และหมั่นทำโจทย์ตลอดเวลา การฝึกฝนการทำโจทย์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์

เป็นเพียงข้อความที่ร่วมแสดงความเห็นครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้