หัวข้อ: สมการ
ดูหนึ่งข้อความ
  #10  
Old 15 มกราคม 2017, 20:40
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

มาเพิ่มตรงส่วนคำถามแรกให้นะ เอาไว้ประกอบ detail ของสัมมนา

ที่ถามว่า $a^2+b^2=c^3$ แล้วมาเป็นเอกลักษณ์นั้นได้ไง

point ของมันก็เป็นไปตามที่ความเห็นบนบอกนั่นแหละครับ

คือมันพยายามโชว์ว่า solution มีมากมายไม่จำกัด (infinitely many solutions)

ซึ่งข้อสังเกตของความเห็นบนก็เพียงพอที่จะแสดง point นี้

แต่ถ้าหากอยากได้ด้วยว่า $(u,v)=1$ ก็ต้องสร้างเอกลักษณ์ขึ้นมาให้ match กับเงื่อนไขนี้ด้วย

--------------------------------------------------------------

ต่อมาผมจะโชว์ให้เห็นว่าจาก $a^2+b^2=c^3$ เพียวๆมัน build เอกลักษณ์ออกมายังไง

ให้ลองสังเกตจากเลขชี้กำลังดูก่อน คือมันมี 2 กับ 3 ถูกป่าว และมโนคติเบื้องต้นอย่างเป็นรูปธรรม

ของสมการนี้คือ มันต้อง build เอกลักษณ์ของตัวแปรอื่นๆ (เช่น $u,v$) ให้กำลังสองของอะไรสักอย่าง

บวกกันแล้วได้กำลังสามของอีกตัว ถูกไหม แต่เราไม่รู้ว่าไส้ใน $a,b,c$ มันควรมีอะไร และมีตัวแปรกี่ตัว

ถ้าเป็นตัวเดียวก็จะคล้ายๆของคุณ nooonuii *** เพราะงั้นก็ลองนึกเป็น 2 ตัวแปรดูก่อน

ก็เลยควรเดาไปก่อนเลยว่าเป็น 2 ตัวแปร ต่อมามาลองดูเลขชี้กำลัง มันมี 2 กับ 3 นิพจน์ในการกระจายมันจะเท่ากันได้

มันควรมีเลขชี้กำลังตอนกระจายออกมาแล้วเท่ากัน เพราะงั้นข้างในไส้ของกำลัง 2 ด้านซ้ายควรมี 3

และข้างในไส้กำลัง 3 ด้านขวาควรมี 2 เพื่อที่ว่ามันคูณกระจายออกมาแล้วได้กำลัง 6 ถูกป่าว

จากนั้นก็ใช้ข้อสังเกตนี้นี่แหละ build เอกลักษณ์ (เรามีสูตรกำลังสองกับสามอะไรบ้างนึกดู)

เรามี $(u-v)^3,(u+v)^3$ อยู่นิ และเราต้องการกำลัง 6 ที่สามารถจะดัดได้ง่ายๆถูกไหม

เพราะงั้นก็เลือกเป็น $(u^2-v^2)^3$ มาดู และสังเกตเพิ่มด้วยว่า $(u^2-v^2)^3=-(v^2-u^2)^3$

จะได้เป็น $(u^2-v^2)^3+(v^2-u^2)^3=0$ ที่ต้องใช้แบบนี้เพราะเราต้องการดัดเอกลักษณ์โดยใช้สมมาตรที่บวกกันเป็น 0 ทางฝั่งขวา

เพื่อที่ว่าเราจะสามารถย้ายบางเทอมหรือบวกบางเทอมจากการกระจายฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา แล้วได้อะไรซักอย่างกำลังสามพอดี

และหวังว่าค่าที่เหลือจากทางฝั่งซ้ายมันจะ match กับอะไรซักอย่างที่เป็นกำลังสองบวกกัน

กระจายออก $u^6-3u^4v^2+3u^2v^4-v^6+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4-u^6=0$

จากนี้สังเกตว่า จัดให้เป็นกำลังสองสองก้อนบวกกัน ยากกว่า จัดให้เป็นกำลังสามก้อนเดียว

เพราะงั้นเริ่มจากย้ายตัวที่น่าจะเป็นกำลังสามไปทางขวาก่อนคือ $-u^6,-v^6$

แล้วมองให้เป็นกำลังสามให้ได้ บวกเทอมที่เหลือคือ $3u^4v^2+3u^2v^4$ เข้าไป

$u^6-3u^4v^2+3u^2v^4+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4+3u^4v^2+3u^2v^4=u^6+v^6+3u^4v^2+3u^2v^4=(u^2+v^2)^3$ ---(***)

ทีนี้ฝั่งขวามันจะรวบเป็นกำลังสามได้ตามแผนละ ถูกป่าว เหลือแต่บีบทางฝั่งซ้ายให้หลุดเป็นกำลังสองบวกกันให้ได้

จากนี้ถ้าเรารีบไปตัดทอนผลลัพธ์สุดท้ายของฝั่งซ้าย มันจะเหลือแต่พจน์ที่เป็นค่าบวกซึ่งจัดกำลังสองบวกกันแล้วมองยาก

เลยเหลือเป็นค่าลบไว้ $u^6-3u^4v^2+3u^2v^4+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4+3u^4v^2+3u^2v^4$

ตรงนี้มันจะมองได้ไม่ยากมากให้เป็นกำลังสองสองตัวบวกกันจากการดูเลขชี้กำลังที่โชว์อยู่

เลือกจากที่ obvious สุดก่อน คือ $u^6,v^6$ มันต้องเป็นกำลังสองสองตัวบวกกัน เพราะงั้นต้องมองเป็น $(u^3)^2,(v^3)^2$

แล้วเอาไปโยงกับเอกลักษณ์ที่เรารู้จักกันดี $(x-y)^2=x^2-2xy+y^2$ มอง $x,y$ ให้ออกให้ได้

เลือกไปจับกับ $u^6-3u^4v^2$ (ทำไม?...) เพราะมันมองเป็น $(u^3)^2-2(u^3)(3uv^2)+(3uv^2)^2$ ซึ่งเลขชี้กำลังมัน force ให้เป็นกำลังสองได้พอดี

จัดได้เป็น $u^6-3u^4v^2=(u^3)^2-2(u^3)(3uv^2)+(3uv^2)^2+3u^4v^2-9u^2v^4$ แค่บวกเข้าตัดออกธรรมดาๆ

เหลือแค่เชคดูว่าผลลัพธ์สุดท้ายมันตัดทอนกันหมดเหลือแค่กำลังสองของอะไรสักอย่างบวกกันไหม

เวลาเชคเขียนแยกเป็นแบบนี้น่าจะเชคง่ายขึ้นครับ

$u^6-3u^4v^2=(u^3-3uv^2)^2+3u^4v^2-9u^2v^4$
$v^6-3v^4u^2=(v^3-3vu^2)^2+3v^4u^2-9v^2u^4$

จับสองอันบนบวกกันแล้วบวกเทอมอื่นๆที่เหลือจาก (***) ก็จบแล้ว มันจะตัดกันหมด

เหลือเป็น $(u^3-3uv^2)^2+(v^3-3vu^2)^2=(u^2+v^2)^3$ ก็เท่านั้นเอง ไม่ยากใช่มั้ย

ตรง *** มันมีเอกลักษ์แบบตัวแปรเดียวอยู่ด้วยคือ $(t^3-3t)^2+(3t^2-1)^2=(t^2+1)^3$ คือแทน $v=1$ นี่แหละ

แต่การสร้างแบบนี้ ผมว่ามองไม่ยากไม่ง่ายไปกว่าการมองแบบสองตัวแปรอีกนะ เพราะมันไม่มีอุปกรณ์ช่วย deduct เท่าไร

ปล. ประเด็นอื่นๆเดี๋ยวมามีเวลามาช่วยให้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้