ดูหนึ่งข้อความ
  #1  
Old 18 ธันวาคม 2004, 15:18
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb รู้จักคำสั่ง LaTeX เบื้องต้น

เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ น้องๆหลายคน ได้รู้จักกับคำสั่ง LaTeX สำหรับใช้งานในเว็บบอร์ด หรือในอนาคตอาจมีโอกาสได้ใช้อีกครั้ง จะขอแนะนำวิธีใช้ คำสั่ง LaTeX เบื้องต้นนะครับ
หมายเหตุ :
  • คำสั่ง LaTeX ที่จะใช้งานในเว็บบอร์ดได้ ต้องครอบคำสั่ง LaTeX ด้วย Tag ต่อไปนี้ (ผมจงใจเขียนเว้นช่องว่างระหว่าง วงเล็บและตัวอักษร ทั้งด้านหน้าและหลัง เพื่อไม่ให้เว็บบอร์ด ตีความว่าเป็นการใช้คำสั่ง LaTeX นะครับ หวังว่าคงอ่านเข้าใจ)
    • [ itex ] [ /itex ] หรือ $ $ หรือ \( \) สำหรับ แสดงสมการในบรรทัดเดียวกับข้อความ ที่ไม่ได้อยู่ในคำสั่ง LaTeX สมการคณิตศาสตร์ที่ได้ จะดูไม่โตจนเกินไป เพื่อให้แต่ละบรรทัดดูสวยงาม
    • [ dtex ] [ /dtex ] หรือ $$ $$ หรือ \[ \] สำหรับ แสดงสมการโดดๆ ตรงกลางหน้า ไม่รวมอยู่ในบรรทัดเดียวกับข้อความ ที่ไม่ได้อยู่ในคำสั่ง LaTeX สมการคณิตศาสตร์ที่ได้ จะตัวโต ดูเด่นชัด
    • [ notex] [ /notex ] สำหรับทำให้ Tag $ $ หรือ \( \) หรือ $$ $$ หรือ \[ \] ไม่ถูกมองว่าเป็นการเรียกใช้ LaTeX (คำสั่งนี้ไม่มีผลกับ [ itex ]...[ /itex ] หรือ [ dtex ]...[ /dtex ] ที่อยู่ข้างใน)
  • คำสั่ง LaTeX ตัวอักษรเล็กใหญ่ แตกต่างกัน
  • ห้ามใช้ Tag [ itex ] [ /itex ] หรือ $ $ หรือ \( \) หรือ [ dtex ] [ /dtex ] หรือ $$ $$ หรือ \[ \] ซ้อนกัน
  • ห้ามใช้คำสั่ง UBB Code ใน Tag ของ LaTeX เพราะเป็นคำสั่งต่างชนิดกัน คำสั่งที่จะใช้ใน Tag ของ LaTeX ได้คือคำสั่งที่ปรากฎในหน้านี้เท่านั้น หรือหากจะใช้ผ่าน Toolbar ให้ใช้เฉพาะคำสั่งที่อยู่ใต้เมนู LaTeX เท่านั้น ( คำสั่งภายใต้เมนูอื่น รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ทุกตัว ที่ปรากฎใน Toolbar เป็น UBB Code ด้วย จึงห้ามใช้ )
  • คำสั่ง LaTeX สงวนไว้ใช้สำหรับสมาชิกเท่านั้น
รู้จักคำสั่ง LaTeX เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ การพิมพ์ตัวอักษรต่างๆลงไป ตัวอักษรบนแป้นคีย์บอรด์เกือบทุกตัว พิมพ์แล้วเห็นเป็นเช่นไร ก็เห็นเป็นตัวอักษรเช่นนั้น ยกเว้นเพียงอักษรพิเศษ (สัญลักษณ์พิเศษ) ต่อไปนี้

สัญลักษณ์พิเศษ สัญลักษณ์พิเศษของ LaTeX คือ สัญลักษณ์ที่สงวนไว้สำหรับโปรแกรม LaTeX เท่านั้น จึงไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์เหล่านี้ ลงในข้อความตรงๆได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้จริงๆให้ เพิ่มตัว "\" ไว้ข้างหน้าสัญลักษณ์พิเศษ สัญลักษณ์พิเศษได้แก่

$ & % # _ { } ~ ^ \

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ "\" นำหน้า สัญลักษณ์พิเศษ เช่น

$ \$ \& \% \# \_ \{ \} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \$ \& \% \# \_ \{ \} \)หมายเหตุ : สัญลักษณ์พิเศษที่เหลือ ที่ไม่ได้เขียน ใช้ไม่ได้นะครับ

ช่องว่าง
หากน้องๆ เริ่มลองหัดใช้งานแล้ว จะสังเกตพบว่า ไม่ว่าน้องจะพิมพ์เว้นวรรคไปกี่ครั้ง หรือกด Tab ไปกี่ที ผลลัพธ์จาก LaTeX ที่ได้จะเป็นการเว้นวรรค เพียงครั้งเดียวเสมอ เช่น

$ ดังนั้น x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น x = 1 \)

จะสังเกตได้ว่า ระหว่างคำว่า "ดังนั้น" กับ "x" เว้นระยะไว้นิดเดียวเอง ดูแล้วไม่สวยงาม เพื่อแก้ปัญหานี้ LaTeX มีคำสั่งเกี่ยวกับ การเพิ่มระยะห่างของช่องว่าง เรียงจากเว้นน้อยไปมากดังนี้ครับ

\ (หมายถึง ตามด้วยช่องว่าง หรือการเว้นวรรคหนึ่งครั้ง นะครับ) \, \; \quad \qquad ตัวอย่างเช่น

$ ดังนั้น\ x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\ x = 1 \)
$ ดังนั้น\, x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\, x = 1 \)
$ ดังนั้น\; x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\; x = 1 \)
$ ดังนั้น\quad x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\quad x = 1 \)
$ ดังนั้น\qquad x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\qquad x = 1 \)
หมายเหตุ : เท่าที่ทดลองดูจะพบว่า "\ "และ "\," ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน

นอกจากจะมีคำสั่งช่วย เพิ่มระยะห่างของช่องว่างแล้ว ยังมีอีกคำสั่งใช้ ลดระยะห่างของช่องว่าง คือ "\!" ตัวอย่างเช่น

$ ดังนั้น\! x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\! x = 1 \)

การจัดกลุ่ม
คำสั่ง LaTeX หลายคำสั่ง จะมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นขอบเขตของคำสั่งชัดเจน ด้วยคำสั่ง "{}" แต่มีบางคำสั่ง เช่น คำสั่งทำตัวยก และตัวห้อย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การจัดกลุ่ม แต่จะมีขอบเขตของคำสั่ง เพียงอักษรตัวแรกที่ตามหลังคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการขยายขอบเขตของคำสั่งมากขึ้น จำเป็นต้องใช้การจัดกลุ่ม ลองดูตัวอย่างข้างล่าง เรื่องของ การทำตัวยกและตัวห้อย

การทำตัวยกและตัวห้อย
ตัวยกใช้คำสั่ง "^" และตัวห้อยใช้คำสั่ง "_" แต่ถ้ามีทั้งตัวยกและตัวห้อย จะใช้คำสั่งไหนขึ้นก่อนก็ได้ ตัวอย่างเช่น
$ x^n $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^n \)
$ x^n+1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^n+1 \)
$ x^{n+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{n+1} \)
$ x_n $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_n \)
$ x_n+1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_n+1 \)
$ x_{n+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_{n+1} \)
$ x_{123}^{456} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_{123}^{456} \)
$ x^{456}_{123} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{456}_{123} \)
หมายเหตุ : การเขียนคำสั่ง Limit และ Sum หากเราใช้เพียงคำสั่ง ตัวยกหรือตัวห้อยตามปกติ จะได้การแสดงผลที่ไม่ถูกต้อง (เราต้องการอยู่บนหรือข้างใต้ ไม่เยื้อง) เช่น

$ lim_{x \to \infty} $ จะได้ผลลัพธ์ \( lim_{x \to \infty} \)
$ sum_{n=1}^{\infty} n $ จะได้ผลลัพธ์ \( sum_{n=1}^{\infty} n \)

ในกรณีนี้ เราจำเป็นต้องใช้คำสั่ง "\lim" หรือ "\sum" เพื่อบอกให้ LaTeX แสดงผลให้ถูกต้อง (นอกจากนี้ ชื่อฟังก์ชันจะมีลักษณะพิเศษ แสดงความแตกต่างจากตัวแปรทั่วไป) ตัวอย่างเช่น
$ \lim_{x \to \infty} $ จะได้ผลลัพธ์ \[ \lim_{x \to \infty} \]
$ \sum_{n=1}^{\infty} n $ จะได้ผลลัพธ์ \[ \sum_{n=1}^{\infty} n \]

นอกจากนี้การยกกำลังซ้อน ให้ใส่วงเล็บปีกกาช่วยจัดกลุ่มด้วยเช่น
$ x^{x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot^{}}}}}} \)

ฟังก์ชัน
เพื่อให้แสดงชื่อฟังก์ชัน แตกต่างจากตัวแปร หรือเพื่อการจัดรูปสมการเพิ่มเติม LaTeX จึงมีคำสั่งเกี่ยวกับฟังก์ชันดังต่อไปนี้
\( \arcsin \) \arcsin \( \dim \) \dim \( \log \) \log
\( \arccos \) \arccos \(\exp \) \exp \( \max \) \max
\( \arctan \) \arctan \( \gcd \) \gcd \( \min \) \min
\( \arg \) \arg \( \hom \) \hom \( \Pr \) \Pr
\( \cos \) \cos \( \inf \) \inf \( \sec \) \sec
\( \cosh \) \cosh \( \ker \) \ker \( \sin \) \sin
\( \cot \) \cot \( \lg \) \lg \( \sinh \) \sinh
\( \coth \) \coth \( \lim \) \lim \( \sup \) \sup
\( \csc \) \csc \( \liminf \) \liminf \( \tan \) \tan
\( \deg \) \deg \( \limsup \) \limsup \( \tanh \) \tanh
\( \det \) \det \( \ln \) \ln

ลองเปรียบเทียบ การเขียนชื่อฟังก์ชันแบบที่ไม่ได้ใช้คำสั่ง LaTeX (ชื่อฟังก์ชันจะแสดงออกมาเหมือนตัวแปรตัวอื่นๆ) กับที่ใช้คำสั่ง LaTeX สิครับ แล้วจะพบว่าเราควรจะเขียนชื่อฟังก์ชัน ด้วยคำสั่ง LaTeX จะดีกว่า เช่น
$ tan (A+B) = \frac{tan A + tan B}{1 - tan A tan B} $ จะได้ผลลัพธ์ \( tan (A+B) = \frac{tan A + tan B}{1 - tan A tan B} \)
$ \tan (A+B) = \frac{\tan A + \tan B}{1 - \tan A \tan B} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \tan (A+B) = \frac{\tan A + \tan B}{1 - \tan A \tan B} \)

เครื่องหมายราก และเศษส่วน
นอกจากฟังก์ชันดังกล่าวแล้ว ยังมีคำสั่งแสดงเครื่องหมายราก และเศษส่วน ดังนี้
$ \sqrt{ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt{ภายในราก} \)
$ \sqrt[รากตัวที่]{ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[รากตัวที่]{ภายในราก} \)
$ \root รากตัวที่ \of {ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \root รากตัวที่ \of {ภายในราก} \)
$ \frac{ตัวเศษ}{ตัวส่วน} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \frac{ตัวเศษ}{ตัวส่วน} \)

การบังคับให้ไม่เปลี่ยนขนาดตัวอักษร
หากเราเขียนตัวยก ตัวห้อย หรือเศษส่วน หรือคำสั่งอะไรก็แล้วแต่ แล้วมีผลให้ตัวอักษร มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เพื่อความสวยงาม ในบางครั้งอาจทำให้อ่านได้ลำบากมาก ตัวอย่างเช่น

$ 2^{1 - 2^{1 - 2^{1 - 2^n}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( 2^{1 - 2^{1 - 2^{1 - 2^n}}} \)
$ \sqrt[n]{x^2+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[n]{x^2+1} \)
จะเห็นว่า ตัวยกกำลังตัวบนๆ ตัวเล็กลงเรื่อยๆ อ่านได้ลำบาก หากต้องการให้ขนาดตัวอักษรคงเดิม ไม่เล็กลง ให้ใช้คำสั่ง "\displaystyle{}" ครอบเอาไว้ ตรงส่วนของคำสั่งที่ทำให้ตัวอักษรเล็กลง (เช่นคำสั่ง ตัวยก ตัวห้อย เศษส่วน ราก) ตัวอย่างเช่น

$ 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^n}}}}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^n}}}}}} \)
$ \sqrt[\displaystyle{n}]{x^2+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[\displaystyle{n}]{x^2+1} \)
หมายเหตุ : จริงๆแล้ว คำสั่ง "\displaystyle{}" เป็นคำสั่งเพื่อให้แสดงรูปแบบ เดียวกับการใช้คำสั่ง [ dtex ] [ /dtex ] ซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเมื่อนำมาใช้อีกครั้ง จึงแก้ปัญหาตัวอักษรเล็กลงได้

วงเล็บที่เปลี่ยนขนาดได้
วงเล็บที่ครอบสมการคณิตศาสตร์ หากเปลี่ยนขนาดตามสมการ จะสวยงามยิ่งขึ้น ตัวอย่างของวงเล็บธรรมดา ที่ไม่เปลี่ยนขนาด เช่น

$ (\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}) $ จะได้ผลลัพธ์ \( (\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}) \)

เพื่อให้วงเล็บเปลี่ยนขนาดได้จึง ต้องมีคำสั่งมานำหน้าวงเล็บตัวนั้น หากต้องการเปลี่ยนขนาด ของวงเล็บด้านซ้าย ให้ใช้ "\left" นำหน้า และหากต้องการเปลี่ยนขนาด ของวงเล็บด้านขวา ให้ใช้ "\right" นำหน้า แต่ทั้งนี้ เมื่อใช้คำสั่ง "\left" แล้วจะต้อง มีคำสั่ง "\right" ให้เข้าคู่กันด้วย

เพื่อแก้ปัญหาที่ต้องการเปลี่ยนวงเล็บ เพียงด้านเดียว
หากไม่ต้องการเปลี่ยนขนาดของ วงเล็บด้านซ้ายให้ใช้คำสั่ง "\left." และหากไม่ต้องการเปลี่ยนขนาดของ วงเล็บด้านขวาให้ใช้คำสั่ง "\right." ตัวอย่างเช่น

$ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) \)
$ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right. $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right. \)
$ \left.\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left.\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) \)
$ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} , \frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} \right] $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} , \frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} \right] \)
หมายเหตุ : เกี่ยวกับเศษส่วนต่อเนื่อง หรือสมการอะไรก็แล้วแต่ ที่มีความสูงพอสมควร เราสามารถจัดสมการให้อยู่ระดับตรงกลางได้ด้วยคำสั่ง "\vcenter{}" ลองเปรียบเทียบ คำสั่งที่ใช้ และไม่ใช้ นะครับ
$ \left( \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}} \right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left( \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}} \right) \)
$ \left( \vcenter{\frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}}} \right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left( \vcenter{\frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}}} \right) \)

การเขียนข้างบนหรือข้างใต้
คำสั่งได้แก่ "\overline{}", "\underline{}", "\overbrace{}^{}", "\underbrace{}_{}", "\overleftarrow{}", "\overrightarrow{}" วิธีใช้ดูจากตัวอย่างเลยละกัน ง่ายดี

$ \overline{x+y+z} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overline{x+y+z} \)
$ \underline{x+y+z} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \underline{x+y+z} \)
$ \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} \)
$ \underbrace{x+\cdots+x}_{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \underbrace{x+\cdots+x}_{\text{$k\;$ตัว}} \)
$ \overleftarrow{x_1+\cdots+x_k} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overleftarrow{x_1+\cdots+x_k} \)
$ \overrightarrow{x_1+\cdots+x_k} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overrightarrow{x_1+\cdots+x_k} \)

การแทรกข้อความ
ปกติแล้ว LaTeX มีคำสั่ง "\textrm{}" สำหรับแทรกข้อความ ในสมการคณิตศาสตร์ แต่เนื่องจากนี่คือ LaTeX บนเว็บ ดังนั้น เราสามารถพิมพ์ข้อความ ภาษาไทยแทรกลงไปได้เลย แต่หากเป็นภาษาอังกฤษ หากแทรกไปตรงๆ ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นแบบตัวแปร และการเว้นระยะไม่ปกติ นอกจากนี้สำหรับภาษาไทยเอง หากตำแหน่งที่ตัวอักษรไทยปรากฎ เป็นตัวยกหรือตัวห้อย ก็แสดงผลได้ไม่ถูกต้อง คือจะโดนตัดขอบบน หรือล่างทิ้งไป ในกรณีเช่นนี้เรามีคำสั่ง "\text{}" ให้ใช้งานเท่านั้น (ไม่มีคำสั่ง "\textrm{}" นะครับ) ตัวอย่างเช่น

$ Test x=1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( Test x=1 \)
$ \text{Test } x=1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( \text{Test } x=1 \)
$ \overbrace{x+\cdots+x}^{k\; ตัว} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{k\; ตัว} \)
$ \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} \)
หมายเหตุ : การใช้ตัวแปร หรือคำสั่ง LaTeX ใน "\text{}" ให้ล้อมรอบด้วยเครื่องหมาย "$$" จะทำให้ได้ตัวอักษร ขนาดเดียวกับข้อความ

ใส่หมวก
คำสั่งใส่หมวก สำหรับอักษรเพียง 1 ตัว โปรดศึกษาจากตัวอย่าง

$ \hat a \quad \check a\quad \tilde a \quad \acute a \quad \grave a \quad \dot a \quad \ddot a \quad \breve a \quad \bar a \quad \vec a $ จะได้ผลลัพธ์ \( \hat a \quad \check a\quad \tilde a \quad \acute a \quad \grave a \quad \dot a \quad \ddot a \quad \breve a \quad \bar a \quad \vec a \)

สำหรับอักษรเป็นกลุ่ม โปรดศึกษาจากตัวอย่าง

$ \widehat x, \widetilde x \quad \widehat{xy}, \widetilde{xy} \quad \widehat{xyz}, \widetilde{xyz} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \widehat x, \widetilde x \quad \widehat{xy}, \widetilde{xy} \quad \widehat{xyz}, \widetilde{xyz} \)

ทำตัวหนา
ใช้คำสั่ง "\mathbf{}" ตัวอย่างเช่น
$ \mathbf{CHNPQRZ} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \mathbf{CHNPQRZ} \)

ตัวอักษร Unicode
เราสามารถแสดงตัวอักษร unicode ใน LaTeX ได้ด้วยคำสั่ง \unicode{รหัส unicode} เช่น
$ \unicode{8450} \unicode{8461} \unicode{8469} \unicode{8473} \unicode{8474} \unicode{8477} \unicode{8484} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \unicode{8450} \unicode{8461} \unicode{8469} \unicode{8473} \unicode{8474} \unicode{8477} \unicode{8484} \)

เมตริกซ์และอาร์เรย์
เราสามารถจัดรูปแบบ เป็นเมตริกซ์ได้ด้วยคำสั่ง "\matrix{}" โดยมี "&" สำหรับแบ่งระว่างคอลัมน์ และ "\\" สำหรับขึ้นแถวใหม่ ตัวอย่างเช่น

$ \matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)

หากเราต้องการวงเล็บด้านซ้ายและขวา ประกอบเข้ามาด้วย ก็อาจใช้การเขียนวงเล็บที่เปลี่ยนขนาดได้ หรือคำสั่งที่ช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น ศึกษาเทคนิคจากตัวอย่างเลยละกัน

$ \left[\matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab}\right] $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left[\matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab}\right] \)
$ \pmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \pmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)
$ \bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)
$ \Bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)
$ \vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)
$ \Vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \)
$ \left(\matrix{n\\ r}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\matrix{n\\ r}\right) \)
$ {n \choose r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \choose r} \)
$ {n \brack r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \brack r} \)
$ {n \brace r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \brace r} \)
$ f(x) = \left\{\matrix{x^2+1 & , x < 0\\ 1-x & , \text{ Otherwise}}\right. $ จะได้ผลลัพธ์ \( f(x) = \left\{\matrix{x^2+1 & , x < 0\\ 1-x & , \text{ Otherwise}}\right. \)
$ f(x) = \cases{x^2+1 & , x<0 \cr 1 - x & , \text{ Otherwise}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( f(x) = \cases{x^2+1 & , x<0 \cr 1 - x & , \text{ Otherwise}} \)

สำหรับคำสั่งอาร์เรย์ ใช้จัดรูปของหลายๆสมการ ให้สวยงาม เช่นให้เครื่องหมาย "=" เรียงลงมาตรงกัน สมการอยู่ในแนวเดียวกัน รูปแบบของคำสั่งคือ

\begin{array}{การวางตำแหน่งของแต่ละคอลัมน์} ข้อมูลในอาร์เรย์ (รูปแบบเดียวกับในคำสั่งเมตริกซ์) \end{array}

การวางชิดซ้าย (Left) ใช้สัญลักษณ์ "l"
การวางตรงกลาง (Center) ใช้สัญลักษณ์ "c"
การวางชิดขวา (Right) ใช้สัญลักษณ์ "r"

ตัวอย่างเช่นคำสั่ง
$ \begin{array}{rcl}ax^2 + bx + c & = & 0 \\
x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} & = & 0 \\
\left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} & = & \frac{b^2}{4a^2} \\
\left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 & = & \frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \\
x + \frac{b}{2a} & = & \pm \frac{\sqrt{ b^2 - 4ac }}{2a} \\
x & = & \frac{-b \pm \sqrt{b^2 - 4ac} }{2a} \end{array} $


ตรงคำสั่ง "{rcl}" บอกให้รู้ว่า คอลัมน์แรกให้ชิดขวา (r) คอลัมน์ที่สองวางตรงกลาง (c) และคอลัมน์ที่สามให้ชิดซ้าย (l) ผลลัพธ์ของคำสั่งนี้คือ
\[ \begin{array}{rcl}ax^2 + bx + c & = & 0 \\
x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} & = & 0 \\
\left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} & = & \frac{b^2}{4a^2} \\
\left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 & = & \frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \\
x + \frac{b}{2a} & = & \pm \frac{\sqrt{ b^2 - 4ac }}{2a} \\
x & = & \frac{-b \pm \sqrt{b^2 - 4ac} }{2a} \end{array} \]

ลองดูอีกสักตัวอย่าง คำสั่ง
$ \begin{array}{cl} & ax^2 + bx + c \\
= & x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} \\
= & \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} -\frac{b^2}{4a^2} \\
= & \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 -\frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \end{array} $


จะได้ผลลัพธ์เป็น
\[ \begin{array}{cl} & ax^2 + bx + c \\
= & x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} \\
= & \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} -\frac{b^2}{4a^2} \\
= & \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 -\frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \end{array} \]

หมายเหตุ : เราอาจมองว่าคำสั่ง \matrix{} ก็คือ การใช้อาร์เรย์ที่มีการวางข้อมูล ในแต่ละคอลัมน์อยู่ตรงกลางเสมอ

ตัวอักษรกรีก
ตัวอักษรกรีกทั้งหมดที่มีได้แก่
\( \alpha \) \alpha \( \iota \) \iota \( \varrho \) \varrho
\( \beta \) \beta \( \kappa \) \kappa \( \sigma \) \sigma
\( \gamma \) \gamma \( \lambda \) \lambda \( \varsigma \) \varsigma
\( \delta \) \delta \( \mu \) \mu \( \tau \) \tau
\( \epsilon \) \epsilon \( \nu \) \nu \( \upsilon \) \upsilon
\( \varepsilon \) \varepsilon \( \xi \) \xi \( \phi \) \phi
\( \zeta \) \zeta \( o \) o \( \varphi \) \varphi
\( \eta \) \eta \( \pi \) \pi \( \chi \) \chi
\( \theta \) \theta \( \varpi \) \varpi \( \psi \) \psi
\( \vartheta \) \vartheta \( \rho \) \rho \( \omega \) \omega
\( \Gamma \) \Gamma \( \Xi \) \Xi \( \Phi \) \Phi
\( \Delta \) \Delta \( \Pi \) \Pi \( \Psi \) \Psi
\( \Theta \) \Theta \( \Sigma \) \Sigma \( \Omega \) \Omega
\( \Lambda \) \Lambda \( \Upsilon \) \Upsilon


สัญลักษณ์ถัดมา
\( \aleph \) \aleph \( \prime \) \prime \( \forall \) \forall
\( \hbar \) \hbar \( \emptyset \) \emptyset \( \exists \) \exists
\( \imath \) \imath \( \nabla \) \nabla \( \neg \) \neg
\( \jmath \) \jmath \( \surd \) \surd \( \flat \) \flat
\( \ell \) \ell \( \top \) \top \( \natural \) \natural
\( \wp \) \wp \( \bot \) \bot \( \sharp \) \sharp
\( \Re \) \Re \( \| \) \| \( \clubsuit \) \clubsuit
\( \Im \) \Im \( \angle \) \angle \( \diamondsuit \) \diamondsuit
\( \partial \) \partial \( \triangle \) \triangle \( \heartsuit \) \heartsuit
\( \infty \) \infty \( \backslash \) \backslash \( \spadesuit \) \spadesuit
\( \ldots \) \ldots \( \cdots \) \cdots \( \vdots \) \vdots
\( \ddots \) \ddots


สัญลักษณ์ถัดมา
\( \pm \) \pm \( \cap \) \cap \( \vee \) \vee
\( \mp \) \mp \( \cup \) \cup \( \wedge \) \wedge
\( \setminus \) \setminus \( \uplus \) \uplus \( \oplus \) \oplus
\( \cdot \) \cdot \( \sqcap \) \sqcap \( \ominus \) \ominus
\( \times \) \times \( \sqcup \) \sqcup \( \otimes \) \otimes
\( \ast \) \ast \( \triangleleft \) \triangleleft \( \oslash \) \oslash
\( \star \) \star \( \triangleright \) \triangleright \( \odot \) \odot
\( \diamond \) \diamond \( \wr \) \wr \( \dagger \) \dagger
\( \circ \) \circ \( \bigcirc \) \bigcirc \( \ddagger \) \ddagger
\( \bullet \) \bullet \( \bigtriangleup \) \bigtriangleup \( \amalg \) \amalg
\( \div \) \div \( \bigtriangledown \) \bigtriangledown \( \therefore \) \therefore
\( \bmod \) \bmod \( \equiv \) \equiv \( \because \) \because


สัญลักษณ์ถัดมา
\( \sum \) \sum \( \bigcap \) \bigcap \( \bigodot \) \bigodot
\( \prod \) \prod \( \bigcup \) \bigcup \( \bigotimes \) \bigotimes
\( \coprod \) \coprod \( \bigsqcup \) \bigsqcup \( \bigoplus \) \bigoplus
\( \int \) \int \( \bigvee \) \bigvee \( \biguplus \) \biguplus
\( \oint \) \oint \( \bigwedge \) \bigwedge


สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์
\( < \) < \( > \) > \( = \) =
\( \leq \) \leq \( \geq \) \geq \( \equiv \) \equiv
\( \prec \) \prec \( \succ \) \succ \( \sim \) \sim
\( \preceq \) \preceq \( \succeq \) \succeq \( \simeq \) \simeq
\( \ll \) \ll \( \gg \) \gg \( \asymp \) \asymp
\( \subset \) \subset \( \supset \) \supset \( \approx \) \approx
\( \subseteq \) \subseteq \( \supseteq \) \supseteq \( \cong \) \cong
\( \sqsubseteq \) \sqsubseteq \( \sqsupseteq \) \sqsupseteq \( \bowtie \) \bowtie
\( \in \) \in \( \ni \) \ni \( \propto \) \propto
\( \vdash \) \vdash \( \dashv \) \dashv \( \models \) \models
\( \smile \) \smile \( \mid \) \mid \( \doteq \) \doteq
\( \frown \) \frown \( \parallel \) \parallel \( \perp \) \perp
\( \not< \) \not< \( \not> \) \not> \( \not= \) \not=
\( \not\leq \) \not\leq \( \not\geq \) \not\geq \( \not\equiv \) \not\equiv
\( \not\prec \) \not\prec \( \not\succ \) \not\succ \( \not\sim \) \not\sim
\( \not\preceq \) \not\preceq \( \not\succeq \) \not\succeq \( \not\simeq \) \not\simeq
\( \not\subset \) \not\subset \( \not\supset \) \not\supset \( \not\approx \) \not\approx
\( \not\subseteq \) \not\subseteq \( \not\supseteq \) \not\supseteq \( \not\cong \) \not\cong
\( \not\sqsubseteq \) \not\sqsubseteq \( \not\sqsupseteq \) \not\sqsupseteq \( \not\asymp \) \not\asymp
\( \notin \) \notin


ลูกศร
\( \leftarrow \) \leftarrow \( \longleftarrow \) \longleftarrow \( \uparrow \) \uparrow
\( \Leftarrow \) \Leftarrow \( \Longleftarrow \) \Longleftarrow \( \Uparrow \) \Uparrow
\( \rightarrow \) \rightarrow \( \longrightarrow \) \longrightarrow \( \downarrow \) \downarrow
\( \Rightarrow \) \Rightarrow \( \Longrightarrow \) \Longrightarrow \( \Downarrow \) \Downarrow
\( \leftrightarrow \) \leftrightarrow \( \longleftrightarrow \) \longleftrightarrow \( \updownarrow \) \updownarrow
\( \Leftrightarrow \) \Leftrightarrow \( \Longleftrightarrow \) \Longleftrightarrow \( \Updownarrow \) \Updownarrow
\( \mapsto \) \mapsto \( \longmapsto \) \longmapsto \( \nearrow \) \nearrow
\( \hookleftarrow \) \hookleftarrow \( \hookrightarrow \) \hookrightarrow \( \searrow \) \searrow
\( \leftharpoonup \) \leftharpoonup \( \rightharpoonup \) \rightharpoonup \( \swarrow \) \swarrow
\( \leftharpoondown \) \leftharpoondown \( \rightharpoondown \) \rightharpoondown \( \nwarrow \) \nwarrow
\( \rightleftharpoons \) \rightleftharpoons


วงเล็บ หรือ สัญลักษณ์ที่เปลี่ยนขนาดได้
\( ( \) ( \( ) \) ) \( [ \) [ \( ] \) ]
\( \{ \) \{ \( \} \) \} \( \lfloor \) \lfloor \( \rfloor \) \rfloor
\( \lceil \) \lceil \( \rceil \) \rceil \( \langle \) \langle \( \rangle \) \rangle
\( / \) / \( \backslash \) \backslash \( | \) | \( \vert \) \vert
\( \Vert \) \Vert \( \uparrow \) \uparrow \( \Uparrow \) \Uparrow \( \downarrow \) \downarrow
\( \Downarrow \) \Downarrow \( \updownarrow \) \updownarrow \( \Updownarrow \) \Updownarrow \( \lgroup \) \lgroup
\( \rgroup \) \rgroup \( \Bigg\lmoustache \) \lmoustache \( \Bigg\rmoustache \) \rmoustache

หมายเหตุ : เราสามารถบังคับให้ วงเล็บเหล่านี้มีขนาดใหญ่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เข้ากับสมการ ด้วยการใช้คำสั่งต่อไปนี้นำหน้า เรียงจากเล็กไปใหญ่ดังนี้
\big \Big \bigg \Bigg ตัวอย่างเช่น

$ \big ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \big ( \)
$ \Big ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Big ( \)
$ \bigg ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \bigg ( \)
$ \Bigg ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Bigg ( \)

ชื่ออื่นๆของสัญลักษณ์
\( \not= \) \not= (เหมือนกับ \ne หรือ \neq) \( \le \) \le (เหมือนกับ \leq) \( \ge \) \ge (เหมือนกับ \geq)
\( \lbrace \) \lbrace (เหมือนกับ \{) \( \rbrace \) \rbrace (เหมือนกับ \}) \( \to \) \to (เหมือนกับ \rightarrow)
\( \gets \) \gets (เหมือนกับ \leftarrow) \( \owns \) \owns (เหมือนกับ \ni) \( \land \) \land (เหมือนกับ \wedge)
\( \lor \) \lor (เหมือนกับ \vee) \( \lnot \) \lnot (เหมือนกับ \neq) \( | \) | (เหมือนกับ \vert)
\( \| \) \| (เหมือนกับ \Vert)


TIPS : สัญลักษณ์บางอย่าง ได้จากการประยุกต์ใช้สัญลักษณ์เหล่านี้ เช่น

วิธีเขียนตัวองศา ให้ใช้คำสั่ง "^\circ" เช่น
$ \sin 30^\circ $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sin 30^\circ \)

ปล. ลองเปรียบเทียบสมการที่ท่านเห็นกับรูปภาพด้านล่าง หากได้ผลลัพธ์ต่างกัน แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน ยังขาดฟอนต์ที่จำเป็นสำหรับการแสดง LaTeX ในเว็บบอร์ดนี้ ในกรณีนี้ให้ติดตั้งฟอนต์ ตัวนี้เพิ่มเติมนะครับ TeXfonts
\[
\int_0^\infty e^{-x^2} dx = \frac{\sqrt{\pi}}{2}
\]
\[
\sum_{n=1}^\infty \frac{1}{n^6+1} =
\frac{\pi}{6}\left( \coth\pi + \frac{\sinh\pi + \sqrt 3\sin\pi\sqrt 3}{\cosh\pi - \cos\pi\sqrt 3}\right)
- \frac{1}{2}
\]
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

22 พฤษภาคม 2013 22:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 27 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้