หัวข้อ: การบ้าน math ana
ดูหนึ่งข้อความ
  #4  
Old 08 กันยายน 2014, 08:50
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Default

เนื่องจากมีการคุยกันเล็กน้อยกับน้อง Twentymath ผมก็อยากจะขอถามหาความเห็นเพิ่มเติมจากทุกท่าน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการแก้โจทย์ข้อนี้หรือการแก้ปัญกาใน Analysis โดยทั่วไป ถ้ามีคำแนะนำเพิ่มเติมอะไรก็บอกกันครับ

เนื้อหาใน Private Message

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Twentymath
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gools
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Twentymath
ขอโทดนะคะการบ้าน mathana ข้อที่ช่วยทำอะคะ
คือไม่เข้าใจอะ ทำแล้วมันไม่ออกอะคะ
เพื่อนหนูบางคนก็ทำวิธีอื่น แต่หนูว่ามันแปลกๆ
แต่วิธีที่พี่สอนหนูทำไม่ออกอะคะ ทั้ง2กรณีเลย หนูงงๆแปลกๆ
-ถ้า $A$ เป็นสับเซ็ตของจำนวนจริงและ $r<a$ ทุกๆ $r \in A$ แล้ว $s= \sup\{r : r\in A\}\leq a$

ตรงนี้พิสูจน์ได้ไหมครับ?

สมมติว่าไม่จริง แล้วจะได้ว่า $s>a$ โดยนิยามของ sup จะมี $r\in A$ ที่อยู่ใกล้ๆ $s$ ดังนั้นเราสามารถสมมติให้ $s>r>a$ เห็นรึเปล่าครับว่าเราได้ข้อขัดแย้ง

กลับไปที่คำถามในโจทย์ ในที่นี้ให้ $A=\{r\in \mathbb{Q} : r<a\}$ พิสูจน์ได้ไหมครับว่า $b=\sup\{r\in \mathbb{Q} : r<a\} \leq a$

หนูเข้าใจนะคะ แต่มันก็พิสูจนฺไม่ได้อะ หนูลองพยายามหลายวันหลายคืนแต่มันก้ดูเหมือนจะแถๆ
ทำไงหนูถึงจะเก่ง proof อะคะ พี่ช่วยแนะนำหนุหน่อยได้มั้ยอะ
แบบเรียนแล้วก็รู้สึกเครียดแบบทำการบ้านไม่ได้ แต่หนูจะพยายามนะคะ
ขอบคุณพี่ที่ช่วยหนูนะคะ
"เข้าใจนะคะ แต่มันก็พิสูจนฺไม่ได้อะ" หมายความว่าตาม proof ของคนอื่นทัน แต่พิสูจน์ด้วยตัวเองไม่ได้เหรอครับ

รู้สึกเหมือนปัญหาของน้องก็คือน้องไม่เข้าใจหลักการต่างๆ ใน real analysis ซึ่งวิชานี้มีเทคนิคในการพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆที่ไม่เหมือนกับวิชาอื่น นั่นก็คือการใช้ตัวแปร "$\epsilon$" ใน proof

คนที่เจอ proof พวกนี้ใหม่ๆ จะรู้สึกเหมือนจะเป็นการแถแต่สิงเหล่านี้คือ 'ความจริง'

ลองกลับไปดูและศึกษาว่าสิ่งไหนที่น้องรู้สึกเหมือนเป็นการแถ เราจะทำให้มันเป็น "ความจริง" ในโลกของคณิตศาสตร์

1. ให้ $s = \sup A = \sup\{r\in \mathbb{Q} : r<a\}$ แล้วจะมี $a\in A$ ที่อยู่ใกล้ๆ $s$

น้องก็คงจะรู้สึกว่านี่เป็นการแถ แต่ถ้าเราทำให้มันดูดีด้วยการใส่ $\epsilon$ เข้าไป:

2. ให้ $s = \sup A = \sup\{r\in \mathbb{Q} : r<a\}$ แล้ว ทุกๆ $\epsilon > 0$ จะมี $a\in A$ ที่ทำให้ $s-a< \epsilon$

ตรงนี้เป็นความจริงซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากนิยามของ $\sup$ รู้สึกไปมครับว่าข้อความใน 2. เป็นการแถ?

ผมก็ต้องขออภัยในที่นี้ด้วยเนื่องจากการใช้คำว่า "ใกล้" ในการพิสูจน์ทำให้มันดูแปลกๆ
ถ้าเราใส่ตัวแปร $\epsilon$ เข้าไปแทนคำกว่า "ใกล้" ก็จะทำให้ proof ดูดีขึ้น

การเรียนรู้ในการเขียน proof เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญและวิธีหนึ่งที่จะศึกษาเทคนิดการพิสูจน์ใน Analysis ก็คือการอ่าน proof ใน textbook
1. หาหนังสือใน Real Analysis มาอ่านหนึ่งเล่มแล้วลองอ่านพิสูจน์ต่างๆ น้องต้องมั่นใจว่าทุกๆความรู้ที่คนเขียนเขาใช้ในการพิสูจน์นั้น เป็น "ความจริง"

2. ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนจริงๆ วิธีที่ดีที่สุดคือถามอาจารย์ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นอาจารย์ที่น้องเรียนด้วย น้องสามารถถามอาจารย์คนไหนที่น้องเข้าถึงได้ ผมมั่นใจว่า 99% ของศาสตราจารย์เข้าใจเรื่องที่ผมพูดไปทั้งหมดนี้

ความรู้ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ใช้เยอะที่สุดใน Real Analysis สำคัญมาก
1. ถ้าอยากพิสูจน์ว่า $a=b$ มันอาจจะง่ายกว่าที่จะพิสูจน์ว่า $a\leq b$ และ $b \leq a$
2. ถ้า $a$ และ $b$ เป็นจำนวนจริง และ $a<b+\epsilon$ ทุกๆ $\epsilon>0$ แล้ว $a\leq b$ สังเกตว่าเครื่องหมายต่างกันตรงที่ $<$ และ $\leq$

ในกรณีพิเศษ (และใช้บ่อยที่สุดในการพิสูจน์ convergence) สมมติว่า $a$ เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นลบและ $a<\epsilon$ ทุกๆ $\epsilon>0$ แล้ว $a= 0$

3. นิยามของ $\sup$ และ $\inf$: ให้ $A$ เป็นสับเซ็ตของจำนวนจริงและ $s=\sup_{a\in A}A$ แล้วทุกๆ $\epsilon >0$ จะมี $a\in A$ ที่ทำให้ $s-a<\epsilon$

ให้ $m=\inf_{a\in A}A$ แล้วทุกๆ $\epsilon >0$ จะมี $a\in A$ ที่ทำให้ $a-m<\epsilon$


ผมขอถามทุกคนในที่นี้ว่ามี textbook ไหนบ้างที่พูดถึงเทคนิคการใช้ $\epsilon$ ในการพิสูจน์ทฤษฎีใน Real Analysis เนื่องจากหนังสือที่ผมอ่านมา (4 เล่ม) ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องพวกนี้ ยกเว้นบทที่ 2.1 ใน Terrence Tao's An Introduction to Measure Theory ซึ่งน้องสามารถอ่าน (อ่านเฉพาะข้อ 1 และ 2) ได้ที่

http://terrytao.wordpress.com/2010/1...ing-strategies

แต่ตัวหนังสือเองผมไม่แนะนำให้อ่านเนื่องจากเนื้อหาไม่ใช่ของป.ตรี แต่น้องคนไหนที่เก่ง Analysis ตอนป.ตรีก็อ่านได้ เนื้อหาที่ต้องรู้มาก่อนก็คือบทที่ 0 ใน Folland

สุดท้ายนี้ผมก็ขอให้น้องโชคดีในการศึกษา Analysis นะครับ ตอนป.ตรีผมเองก็ทำได้แย่มากในทุกสาขาในคณิตศาสตร์เพราะว่าผมเล่นมากไปในตอนนั้น แต่ตอนนี้ก็ทำได้ดีขึ้นหลังจากที่ศึกษาด้วยตัวเองจาก Folland ไปสักพักในสองฤดูร้อนที่ผ่านมา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

08 กันยายน 2014 09:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gools
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้