หัวข้อ: TMO 13 Discussion
ดูหนึ่งข้อความ
  #32  
Old 28 กันยายน 2016, 15:55
Pitchayut Pitchayut ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 มกราคม 2015
ข้อความ: 352
Pitchayut is on a distinguished road
Default

ผมจำไม่ได้เหมือนกันว่าตอนสอบเขียนไปแบบไหน แต่แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน

ให้ $S=\{(y,b)\in\mathbb{N}^2\mid 1\le y\le 100, 1\le b\le 100\}$ ที่ $|S|=2559$ แทนเซตของเหรียญปัตตาโน

ให้ $T=\{((y_1,b_1),(y_2,b_2))\in S^2\mid (y_1=y_2)\vee (b_1=b_2)\}$

นั่นคือ $T$ เป็นเซตของคู่ของเหรียญปัตตาโนที่ประกบกันได้

เราจะหาขอบล่างของ $|T|$ โดยการแบ่งออกเป็น 2 เซต

ให้ $T_1=\{((y_1,b_1),(y_2,b_2))\in S^2\mid y_1=y_2\}$

และ $T_2=\{((y_1,b_1),(y_2,b_2))\in S^2\mid b_1=b_2\}$

เนื่องจากไม่มีเหรียญปัตตาโน 2 เหรียญใดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะได้ $T_1\cap T_2=\varnothing $

จาก $T_1\cup T_2=T$

จะได้ $|T|=|T_1|+|T_2|$


การหาขอบล่างของ $|T_2|$ สามารถทำได้ในทำนองเดียวกัน

เพราะฉะนั้น $|T|\ge 2\left(\dfrac{2559^2}{100}-2559\right)$

สำหรับแต่ละ $s=(y,b)\in S$ นิยาม $A(s)=\{(y_1,b_1)\in S\mid (y=y_1)\vee (b=b_1)\}$

นั่นคือ $A(s)$ เป็นเซตของเหรียญปัตตาโนที่ประกบกับ $s$ ได้

ดังนั้น $\displaystyle{\sum_{s\in S}|A(s)|=|T|\ge 2\left(\dfrac{2559^2}{100}-2559\right)}$

โดยหลักค่าเฉลี่ย จะมี $t\in S$ ที่ทำให้ $|A(t)|\ge \dfrac{2}{2559}\left(\dfrac{2559^2}{100}-2559\right)=49.18$

ดังนั้น $|A(t)|\ge 50$ นั่นคือมีเหรียญปัตตาโนที่สามารถประกบกับเหรียญอื่นได้ 50 เหรียญตามต้องการ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้