ดูหนึ่งข้อความ
  #11  
Old 09 มิถุนายน 2011, 17:33
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

J. ข้อคิดปิดท้าย

การบวช 1 เดือนของผม ในแง่กิจของสงฆ์ ก็ได้ทำเกือบครบทุกอย่างครับ เว้นแต่สวดศพ กับอยู่ปริวาส (การอยู่กรรมของภิกษุ เพื่อชำระอาบัติสังฆาทิเสส จะอาบัติหรือไม่ ก็มาปริวาสได้ครับ (ปกติ จะทำปีละครั้ง สำหรับพระที่บวชเกิน 3 เดือน) เพราะบางที เราอาจเผลอทำสิ่งที่อาบัติโดยไม่รู้ตัว)

อ้อ! ผมลืมเล่าไปเรื่องนึงครับ คือที่นี่ พระจะปลงอาบัติกันทุกเช้าครับ ก่อนทำวัตรเช้า โดยจะจับคู่ พรรษามากกับพรรษาน้อยแล้วปลงอาบัติ ซึ่งก็จะเป็นบทสวดแบบ conversation

จริงๆกิจวัตรประจำวันของสงฆ์นั้น มีไม่มากครับแต่วินัยสงฆ์นั้นมีมาก พระจะพรรษามากหรือน้อยก็อาจเผลอทำสิ่งที่ผิดวินัยโดยไม่รู้ตัวได้

ในแง่ธรรมะ ที่ได้มากสุดของผม มี 2 อย่างครับ อย่างแรกคือ ขันติ บททดสอบขันติอย่างแรก ก็เช่น ตอนที่บวชมาได้ซักระยะ หัวเข่าจะด้านไปหมดเลยครับ เพราะท่อนที่คุกเข่า ทำวัตรเช้า-เย็น จะนานมาก อาทิตย์แรกๆ ผมอาจจะมีนั่งพับเพียบในตอนที่ให้คุกเข่าบ้าง แต่พอ 2 อาทิตย์หลัง ผมพยายาม ทำให้เป๊ะๆตามที่สงฆ์ควรทำ ว่าสวดท่อนไหนคุกเข่า ท่อนไหนพับเพียบ นอกจากขันติต่อความยากลำยากแล้ว ก็ยังมีขันติต่อความหิวครับ ซึ่งหลังสึก น้ำหนักลดไป 4 กิโลครับ

ภาพชินตาอีกอย่างที่ได้เห็นตอนมาบวช คือ ฆราวาสที่อาวุโสกว่าเรา ยกมือไหว้เรา ซึ่งจริงๆแล้ว เขาไหว้ในศีลที่เราปฏิบัติ ดังนั้น เราก็ต้องประพฤติตัวให้ดี ให้สมกับที่มีคนมายกมือไหว้เรา

มีเรื่องนึงครับ จะฝากเผื่ออนาคตใครที่ board จะบวช นั่นคือเรื่อง บุหรี่ เพราะผมเห็นพระใหม่ที่มาบวช หลายรูป ยังตัดไม่ได้ มันอาจจะไม่ผิดวินัย แต่ ในความเห็นผม ผมว่าเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดี ถ้ามีใครมาเห็น

จากการได้มาบวช ก็พบว่า สังคมพระ มีหลายอย่าง ที่ไม่ต่างจากสังคมฆราวาสครับ ไม่ใช่เพราะวัดไม่ดี แต่เพราะคนที่มาบวช ร้อยพ่อพันแม่ องค์ที่ดีและน่าเคารพก็มีเยอะ ซึ่งผมก็อนุโมทนา อย่างองค์ที่มาช่วยผมล้างห้องน้ำ ก็เป็นองค์ที่ให้ความรู้ผมเยอะมาก ซึ่งสาระต่างๆที่ผมมาถ่ายทอดในกระทู้นี้ ก็มาจากท่านส่วนนึง นอกจากนี้ ท่านจะมาชวนผมเดินจงกรมเกือบทุกวัน วันที่ผมสึก ท่านบอกผมว่า ?ฆราวาสที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ยังดีกว่าบรรพชิตที่ไม่ปฏิบัติ การมาบวชเราต้องบวชใจด้วย ไม่ใช่บวชกายเพียงอย่างเดียว และการบวชใจ ทำได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะลาสิกขาไปแล้ว?

สำหรับองค์ที่ติดพฤติกรรมหลายอย่างของฆราวาสมาใช้ที่วัดก็มีครับ ซึ่งเราก็ต้องปล่อยวาง และทำความเข้าใจว่า เป็นเรื่องส่วนบุคคล

ผมชื่นชมเจ้าอาวาส ตรงที่ท่านอ่านคนขาด และเป็นคนสมานฉันท์ในเวลาเดียวกัน ผมสัมผัสได้ว่า ท่านรู้ว่า พระรูปไหน นิสัยใจคออย่างไร ใครชอบท่าน ไม่ชอบท่าน แต่ท่านไม่เอามาเป็นอารมณ์ แม่ผมบอกว่า จริงๆท่านจะไปอยู่วัดอื่นนานแล้ว แต่ญาติโยมขอร้องไว้ เพราะท่านเป็นสไตล์พระนักพัฒนา

อย่างผมเอง เวลาเจอเรื่องขัดใจระหว่างบวชเกี่ยวกับคน ก็จะนึกถึงคำของท่านพุทธทาสที่บอกว่า ?เขามีส่วนเลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู เรื่องที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย? ซึ่งนั่นก็คือ สิ่งที่สอง นอกจากขันติที่ผมได้ คือ ได้เข้าใจ อนัตตา มากขึ้น

อนัตตา เป็นหนึ่งในไตรลักษณ์ ครับ แปลว่า ไม่มีตัวตน หรือจริงๆแล้วใจความของ อนัตตา ต้องการจะบอกว่า สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ เหตุใดมนุษย์จึงยึดมันเอาไว้ พยายามจะควบคุมให้ได้อย่างใจเรา

ผมว่า ถ้าคนเราเข้าใจ อนัตตา ความขัดแย้งระหว่างบุคคลจะยุติง่ายขึ้นเยอะครับ

พอพูดเรื่องนี้ แล้วก็นึกถึง wording ฝรั่ง ที่บังเอิญไปเจอในหนังสือ จิตวิทยาการสื่อสาร หัวข้อ การดูแลอารมณ์ เขาบอกว่า Don?t think that ?you make me feel hurt.?, just thinks only ?I feel hurt? and delete it. เป็นคำสอนเรื่องอนัตตา ที่ดีมากครับ เพราะปกติเวลาใครมาทำให้เราไม่พอใจ เราจะย้ำว่า คุณมาทำให้ฉันเจ็บ ซึ่งนำไปสู่ความโกรธ อาฆาต และอื่นๆ แต่พอตัดเขา ตัดเราออกได้ ไม่ไปยึดกับมัน คิดแค่ว่า เจ็บหนอ แล้วลืมมันไปซะ ไม่ต้องไปย้ำความเจ็บ วิวาทะก็ไม่เกิด
----------------------------------------จบบริบูรณ์----------------------------------------------------------
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้