หัวข้อ: Marathon - Primary # 2
ดูหนึ่งข้อความ
  #379  
Old 06 กรกฎาคม 2010, 18:06
Tanat's Avatar
Tanat Tanat ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 พฤศจิกายน 2008
ข้อความ: 412
Tanat is on a distinguished road
Default

[quote=banker;92419]
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Tanat View Post


ถ้าTanatโตขึ้น ทำโจทย์มากขึ้น ก็จะเห็นเองว่า โจทย์เติมคำตอบกับโจทย์มี choice บางครั้งก็ต่างกัน

กรณีที่โจทย์มีหลายคำตอบได้ การเติมคำตอบ อาจตอบได้หลายคำตอบ แต่เมื่อมี choice มากำกับ ก็ต้องเลือกคำตอบที่มีใน choice

อย่างโจทย์ข้อข้างต้น ถ้าเป็นกรณีเติมคำตอบ จะตอบ 676 หรือ 289 ก็ถูกเหมือนกัน

แต่พอมี choice เราก็ต้องเลือก 289 เพราะ 676 ไม่มีใน choice ทั้งๆที่ถูกเหมือนกัน


ส่วนเรื่อง "แทนทูลั่ม" เดี๋ยวนี้คนออกข้อสอบรู้ไต๋ โจทย์ที่จะใช้ แทนทูลั่มได้ มีน้อยลง (แต่ข้อสอบ admission ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่)


ข้อสอบระดับประถม เริ่มเปลี่ยนแนวมาเป็นแบบเติมคำตอบมากขึ้น ทำได้ก็คือทำได้ ทำไม่ได้ ก็ไม่มีแทนทูลั่มให้ใช้ ผมเชื่อว่า ต่อไปข้อสอบแข่งขัน จะมีข้อแสดงวิธีทำมากขึ้น แม้จะตรวจยากหน่อย แต่ก็วัดกึ๋นได้ดี
เข้าใจเหตุผลการแก้ปัญหา มี Choice และ no choice ของคุณลุงแล้วครับ ในกรณีที่มีหลายคำตอบ ขอบคุณครับ

สำหรับแนวข้อสอบแข่งขัน หรือข้อสอบเรียนต่อน้ัน ในส่วนตัวผมมีความเห็นว่า ข้อสอบที่ยุติธรรมที่สุด (ไร้ข้อกังขา) และไม่สามารถพึ่งดวงได้ คือข้อสอบที่ให้เขียนเฉพาะคำตอบครับ หรือจะใช้วิธีการตอบให้เป็นแบบรอบแรกของ สสวท ปีที่แล้วก็ได้ครับ (ฝนวงกลมสามหลักหรือมากกว่าที่เป็นคำตอบ แต่ไม่ใช่เป็นปรนัยน่ะ) เหตุผลที่ผมคิดว่ายุติธรรมที่สุด คือ วิธีในการแกัไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ ไม่ได้มีเพียงวิธีเดียวที่จะได้คำตอบ และวิธีแต่ละวิธีก็มีแนวคิดของมันเอง ผมเคยโหลดตัวอย่างการแข่งขัน และวิธีการให้คะแนนการแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติระดับประถม (ของประเทศหนึ่ง) วิธีการเขียนคำตอบโจทย์ที่เป็นวิธีทำ จะเป็น Pattern สำเร็จรูปเลยครับ ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้ตรวจคำตอบก็ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าวิธีทำมีประโยคสัญลักษณ์ ตามที่เค้ากำหนดไว้แล้ว ได้คะแนน และถัดไปมีวิธีการทำหรือมีข้อความที่กำหนด ได้คะแนน ไล่ไปจนถึงคำตอบ ถ้าคำตอบตรง ก็จะได้คะแนน แต่คะแนนของคำตอบนั้น คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับคะแนนรวมท้ังหมดของข้อนั้น

ลองนึกดูเล่นๆ น่ะครับว่า ถ้าเด็กที่มีพรสวรรค์ทางคณิตศาสตร์(แต่ไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูล เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจ) ที่สามารถคิดคำตอบต่างๆ ได้โดยใช้วิธีคิดของเขาเอง และวิธีทำของเค้าที่ใช้แก้ไขปัญหาโจทย์น้ั้น ไม่ตรงกับ Pattern ที่ใช้สำหรับตรวจคำตอบ คะแนนรวมที่เค้าทำได้จะน้อยมาก ถึงแม้จะทำได้เกือบทุกข้อ และทำจากพรสวรรค์ของเขาเอง แต่มีวิธีทำที่ไม่ตรงกับผู้ออกสอบและเฉลยข้อสอบ

อีกกรณีหนึ่ง เด็กที่เข้าร่วมแข่งขันเวทีเดียวกันกับเด็กคนแรก เตรียมตัวพร้อม มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี (ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น หาซื้อหนังสือ เรียนพิเศษ ฯ) รู้วิธีที่จะตอบให้ได้คะแนนตามแนวข้อสอบ และหากโชคดีมีโอกาสไปได้เรียนกับผู้ออกข้อสอบโดยตรง ก็ยิ่งมีความแตกต่างกันด้านคะแนนมากย่ิงขึ้น

อะไรจะเป็นเกณฑ์ตัดสินความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กทั้งสองคนนี้ ที่ความถูกต้องและยุติธรรม เมื่อทั้งสองคนก็สามารถที่จะหาคำตอบได้เหมือนกัน อะไรจะเป็นตัวตัดสินว่าวิธีไหนดีกว่ากัน ถ้าดีกว่าหรือง่ายกว่า ก็น่าทำได้ถูกต้องและจำนวนข้อมากกว่า ซึ่งนั่นก็เป็นวิธีทียุติธรรมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้