ดูหนึ่งข้อความ
  #9  
Old 08 กรกฎาคม 2010, 17:21
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

ตัวอย่างที่ 7.

การหาเศษเหลือที่ได้จากการหาร $2^{1000}$ ด้วย $13$


เพราะว่า $ 2^{1000} =(2^4)^{250} =16^{250} =(13+3)^{250}$

เพราะฉะนั้น $2^{1000} \equiv (13+3)^{250} \pmod {13} \equiv 3^{250} \pmod {13}$


ในทำนองเดียวกันกับการพิสูจน์ว่า $(m+b)^n \equiv b^n \pmod{m} $

จะได้ว่า $(km+b)^n \equiv b^n \pmod{m} $

นั้นคือ ถ้า $m$ หาร $A$ ลงตัว แล้ว $(A+b)^n \equiv b^n \pmod{m} $

เพราะว่า $3^{250} = (3^5)^{50} = (243)^{50} =(18(13))+9)^{50}$

เพราะฉะนั้น $3^{250} \pmod {13} \equiv (18(13+9))^{50} \pmod {13}$

$\equiv 9^{50} \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv (9^2)^{25}

\pmod {13} $

$\equiv 81^{25} \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv (6(13)

+3)^{25} \pmod {13}$

$\equiv 3^{25} \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv (3^5)

^5 \pmod {13} $

$\equiv (18(13)+9)^5 \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv9^5 \pmod

{13} $

$\equiv 3^{10} \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv(3^5)

^2 \pmod {13} $

$\equiv 9^2 \pmod {13} \ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv 81

\pmod {13} $

$\equiv 3 \pmod {13} $


สรุป $2^{1000} \equiv 3 \pmod {13} $

นั้นคือ $2^{1000}$ หารด้วย $13$ เหลือเศษ $3$



ต่อไปเราจะหาเหตุผลที่สำคัญซึ่งจะช่วยในการหาเศษเหลือที่ได้จากการหารได้ง่ายขึ้น

ก่อนอื่นขอให้ดูจากตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

$14$ หารด้วย $3$ เหลือเศษ $2$
$11$ หารด้วย $3$ เหลือเศษ $2$

$(14)(11) = 154$ หารด้วย $3$ เหลือเศษ $1$

เศษที่เหลือจากการหารด้วย $3$ จากสองสมการข้างต้นคูณกัน

$(2)(2) = 4$ หารด้วย $3$ อีกครั้ง จะเหลือเศษ $1$

สรุปด้วยการเขียนในรูปแบบสัญลักษณ์

$14 \equiv 2 \pmod {3} $
$11 \equiv 2 \pmod {3} $

$ (14)(11) =(2)(2) \pmod {3} \equiv 4 \pmod {3} \equiv 1 \pmod {3}$

ในกรณีทั่วไปเราสรุปเป็นทฤษฎีบทได้ดังนี้

ทฤษฎีบท 1

$a,b,c,d $ เป็นจำนวนเต็ม, $m$ เป็นจำนวนเต็มบวก

ถ้า $a \equiv b \pmod {m }$ และ $c \equiv d \pmod {m }$ แล้ว


$ac \equiv bd \pmod {m }$
$a - c \equiv ( b - d ) \pmod {m }$
$a + c \equiv ( b + d) \pmod {m }$


ข้อพิสูจน์

$a \equiv b \pmod {m }, \ \ c \equiv d \pmod {m }$

$a = mk + b, \ \ c = ml + d$

$ a - c = mk + b - ml - d$

$ = m(k - 1) + ( b - d )$


เพราะฉะนั้น $m$ หาร $a - c$ เหลือเศษ $ b -d$

นั้นคือ $a- c \equiv (b - d ) \pmod {m }$

ในทำนองเดียวกัน $a + c \equiv ( b + d ) \pmod {m }$


เพราะว่า $ac = ( mk + b) (ml + d )$

$= m^2 kl + mkd + mbl + bd$

$= m ( mkl + kd + bl ) + bd$

เพราะฉะนั้น $m$ หาร $ac$ เหลือเศษ $bd$

นั้นคือ $ac \equiv bd \pmod {m }$

หมายเหตุ ผลจากทฤษฎีบทจะได้ว่า

ถ้า $a \equiv b \pmod {m } $ แล้ว $ \ a^n \equiv b^n \pmod {m }$ ทุกค่า $n$ ที่เป็นจำนวนเต็ม

ผลจากทฤษฎีบท 1 นี้จะช่วยให้การหาเศษเหลือง่ายขึ้น


เป็นอย่างไรบ้างครับ มึนไหม

ถ้ายังมึนก็ย้อนกลับไปอ่านใหม่อีกรอบ, อีกรอบ, อีกรอบ

ถ้าหายมึนแล้ว เรามาดูว่า จะใช้ mod ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้