ดูหนึ่งข้อความ
  #3  
Old 12 พฤศจิกายน 2019, 08:45
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ขอบคุณที่สนใจครับ

ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2560 เรื่อง “250 ปีเสียกรุงศรีอยุธยา – สถาปนากรุงธนบุรี”
จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในวงเสวนาย่อย
หัวข้อ ‘อวสานพระเจ้าตาก : The End of King Taksin’
โดยผู้ร่วมเสวนา 4 ท่านคือ ปรามินทร์ เครือทอง, สุเจน กรรพฤทธิ์, ภิกษุณีธัมมนันทา และปฐมพงษ์ สุขเล็ก

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก นำเสนอ

ปฐมพงศ์ได้แบ่งงานเขียนที่นำเสนอเรื่องราวของพระเจ้าตากออกเป็นสองช่วงเวลา คือ
ก่อน และ หลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างเรื่องเล่าทั้งสองชุด
อย่างมีนัยยะสำคัญ

ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารที่เขียนขึ้นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ
ได้แก่ พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม,
พระราชพงศาวดารฉบับหมอบรัดเลย์ และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
เอกสารทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ ล้วนมีเนื้อหาที่สอดคล้องกัน
หลังจากสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ในเวลาต่อมาพระองค์เกิดสติวิปลาส
จนกระทั่งถูกรัชกาลที่ 1 สั่งประหารชีวิตในที่สุด


จุดที่น่าสนใจก็คือ การนำเสนอวีรกรรมของพระเจ้าตากในการกู้ชาติที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร
ไม่ได้มีลักษณะของการยกย่องเชิดชูแบบ ‘วีรกษัตริย์’ อย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันแต่อย่างใด
เป็นเพียงการจดบันทึกเหตุการณ์แบบทั่วๆ ไปเท่านั้น
“ก่อนหน้านั้น พระเจ้าตากสินถูกมองในฐานะขุนศึกธรรมดา มากกว่าในฐานะกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่”


ที่สำคัญคือยังไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่เสนอว่าการประหารชีวิตพระเจ้าตากนั้น ‘เป็นการจัดฉาก’ ขึ้นมา


เรื่องเล่าที่เสนอว่าการประหารชีวิตพระเจ้าตากนั้นเป็นการจัดฉากขึ้นมา
เริ่มปรากฏขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475

โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการสร้างความสามัคคีและสำนึกรักชาติในหมู่ประชาชน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้