ดูหนึ่งข้อความ
  #13  
Old 07 มิถุนายน 2014, 02:06
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ในตัวข้อสอบ ผมก็ไม่ได้หมายถึง $a<b<c$ ครับ

ที่ผมพูดหมายถึง ความชัดเจนหรือความรัดกุมของผู้ออกข้อสอบ PAT1 มี.ค. 55 อยู่ตรงที่ สุ่มหาสับเซตของ A ที่มีสมาชิก 3 ตัว ครับ

ทำให้เกิดความชัดเจนว่า การหา n(S) จำนวน 3 จำนวนที่เลือกมาต้องต่างกัน และไม่คิดลำดับ เพราะลำดับในเซตไม่มีความหมาย

และตอนหา n(E) ผู้ออกข้อสอบ ยังบังคับว่า $a<b<c$ เป็นการย้ำว่าการหา n(E) จะต้องไม่คิดลำดับนะ เพื่อให้สอดคล้องกับการทดลองสุ่มที่ว่าไว้

แทนที่จะใช้คำพูดว่า สามารถนำมาเรียงกันเป็นลำดับเลขคณิตได้

ไม่รู้ว่าผมใช้คำพูดนี้ผิดหรือไม่ครับ "สามารถนำมาเรียงกันเป็นลำดับเลขคณิตได้"

เพราะผมมีโจทย์อยู่ข้อหนึ่งที่ใช้สอนนักเรียน คล้าย ๆ กัน ครับ

ในการทอดลูกเต๋า 3 ลูก 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่แต้มของลูกเต๋าทั้ง 3 ลูก สามารถนำมาเรียงกันเป็นลำดับเลขคณิตได้

ข้อนี้ตอนหา n(E) เหตุการณ์ที่แต้มขึ้น (1,2,3), (1,3,2), (2,1,3), (2,3,1,), (3,1,2), (3,2,1) ผมถือว่าใช้ได้ทุกเหตุการณ์
..............................................................................................................................

ส่วน A={1,2,3,4,5,6} สุ่มเลือกตัวเลขที่แตกต่างกัน 3 ตัว จงหาความน่าจะเป็นที่จำนวนทั้ง 3 สามารถนำมาเรียงกันเป็นลำดับเลขคณิตได้

แบบนี้ เหตุการณ์ (1,2,3), (1,3,2), (2,1,3), (2,3,1,), (3,1,2), (3,2,1) ผมถือว่าเป็นวิธีเดียวกัน เพราะตอนหา n(S) เราใช้ $C_{6,3}$
...............................................................................................................................

ส่วน A={1,2,3,4,5,6} สุ่มเลือกตัวเลขที่แตกต่างกัน 3 ตัว แล้วนำไปเรียงกัน จงหาความน่าจะเป็นที่จำนวนทั้ง 3 สามารถนำมาเรียงกันเป็นลำดับเลขคณิตได้

แบบนี้ เหตุการณ์ (1,2,3), (1,3,2), (2,1,3), (2,3,1,), (3,1,2), (3,2,1) ผมถือว่าใช้ได้แค่ (1,2,3) กับ (3,2,1) เพราะตอนหา n(S) เราใช้ $C_{6,3}\times 3!$

07 มิถุนายน 2014 10:29 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ lek2554
เหตุผล: เพิ่มข้อความ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้