ดูหนึ่งข้อความ
  #9  
Old 19 กรกฎาคม 2011, 19:34
Puriwatt's Avatar
Puriwatt Puriwatt ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กันยายน 2006
ข้อความ: 1,435
Puriwatt is on a distinguished road
Default

เสริม ลองพิจารณาความต้านทานขนาด 100 โอห์ม 1 วัตต์ และ 220 โอห์ม 2 วัตต์ ดูจะพบจุดที่น่าสนใจคือ

1. เมื่อเราทราบค่า R และ P เราจะสามารถหาพิกัดกระแสและความต่างศักย์สูงสุดได้จากสูตรนี้ครับ
สูตร $P=I^2R= \frac{V^2}{R}$ -->$I_{max} = \sqrt{\frac{P}{R}} $ และ $V_{max} =\sqrt{P\cdot R}$

2. ความต้านทานขนาด 100 โอห์ม 1 วัตต์ จะมีค่าพิกัดกระแสและความต่างศักย์สูงสุดดังนี้
$I_{1,max} = \sqrt{\frac{P_1}{R_1}} = \sqrt{\frac{1}{100}} = 0.1 $ A.
$V_{1,max} =\sqrt{P_1\cdot R_1} = \sqrt{1\cdot 100} = 10$ V. ***

3. ความต้านทานขนาด 220 โอห์ม 2 วัตต์ จะมีค่าพิกัดกระแสและความต่างศักย์สูงสุดดังนี้
$I_{2,max} = \sqrt{\frac{P_2}{R_2}} = \sqrt{\frac{2}{220}} = 0.095 $ A.***
$V_{2,max} =\sqrt{P_2\cdot R_2} = \sqrt{2\cdot 220} = 20.98$ V.

4. เมื่อนำความต้านทานทั้งสองมาต่อกันแบบอนุกรม(กระแสที่ไหลผ่านจะมีค่าเท่ากัน) เราจะพบว่า
ความต้านตัวที่2 จะไม่สามารถรับกระแสได้เกิน 0.095 A. (ต้องจำกัดกระแสไม่ให้เกินค่านี้)
เราสามารถควบคุมได้ 2 วิธี คือ ติดตั้งอุปกรณ์จำกัดกระแสที่ค่าดังกล่าว หรือควบคุมความต่างศักย์
ไม่ให้เกิน 0.095(100+220) = 30.4 V.
--> จะทนกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด = 30.4(0.095) = 2.89 วัตต์

5. เมื่อนำความต้านทานทั้งสองมาต่อกันแบบขนาน(ความต่างศักย์จะมีค่าเท่ากัน) เราจะพบว่า
ความต้านตัวที่1 จะไม่สามารถรับความต่างศักย์ได้เกิน 10 V. (ต้องจำกัดไม่ให้เกินค่านี้)
เราสามารถควบคุมได้ 2 วิธี คือ ควบคุมความต่างศักย์ไม่ให้เกิน 10 V. หรือติดตั้งอุปกรณ์เพื่อจำกัด
กระแสโดยต่ออนุกรมกับตัวความต้านทานแต่ละตัว (ทั้ง 2 ตัว)
--> จะทนกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด = $\frac{V^2}{R_1}+\frac{V^2}{R_2} = \frac{10^2}{100}+\frac{10^2}{220} = 1 +\frac{5}{11} \approx 1.45$ วัตต์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้