ดูหนึ่งข้อความ
  #24  
Old 11 กันยายน 2013, 20:23
t.B.'s Avatar
t.B. t.B. ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2007
ข้อความ: 634
t.B. is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ TOP View Post
สรุปคือคุณ t.B. บอกว่าการเขียน $\forall x \in A \left[ x \in B \right]$ และ $\exists x \in A \left[ x \in B \right]$ นั้น สามารถตีความได้ 2 แบบที่ไม่ขัดแย้งกันเลยคือ
  • แบบที่ 1
    \[\begin{array}{rcl}
    \forall x \in A \left[ x \in B \right] & \equiv & \forall x \left[ x \in A \rightarrow x \in B \right] \\
    \exists x \in A \left[ x \in B \right] & \equiv & \exists x \left[ x \in A \wedge x \in B \right]
    \end{array}\]
  • แบบที่ 2
    \[\begin{array}{rcl}
    \forall x \in A \left[ x \in B \right] & \equiv & \forall x \left[ x \in A \wedge x \in B \right] \\
    \exists x \in A \left[ x \in B \right] & \equiv & \exists x \left[ x \in A \rightarrow x \in B \right]
    \end{array}\]
โดยไม่ขัดแย้งในที่นี้หมายความว่า การตีความนั้นต้องทำให้ได้สมบัติ 2 ข้อนี้เป็นจริง
\[\begin{array}{rcl}
\sim \left( \forall x \in A \left[ x \in B \right] \right) & \equiv & \exists x \in A \left[ x \not\in B \right] \\
และ \sim \left( \exists x \in A \left[ x \in B \right] \right) & \equiv & \forall x \in A \left[ x \not\in B \right]
\end{array}\]
ส่วนจะตีความออกมาถูกใจเราหรือเปล่านั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เข้าใจว่าโดยทั่วไปแล้วเราเลือกที่จะตีความแบบที่ 1 เพราะเราจะนำมาใช้เกี่ยวกับพวกทฤษฎีบทต่างๆ ที่มักเขียนเป็น $\forall x \left[ P(x) \rightarrow Q(x) \right]$ หรือ $\exists x \left[ P(x) \wedge Q(x) \right]$

ตัวอย่างของการเขียนประพจน์แบบที่ 2 แล้วเกิดปัญหา ก็คือประพจน์อันหนึ่งที่เพิ่งจะถกกันไปไม่นาน $\exists x \left[ (x^2 < 4) \rightarrow (x < -2) \right]$
อ่านผ่านๆเหมือนประพจน์นี้จะเป็นเท็จใช่ไหมครับ "มี $x$ อยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งถ้า $x^2 < 4$ แล้วจะได้ว่า $x < -2$"
เรามองหา $x$ ทุกตัวซึ่งทำให้ $x^2 < 4$ จริงแล้วทำให้ $x < -2$ ด้วยไม่พบเลยสักค่าเดียว ก็ควรจะสรุปว่าประพจน์นี้เป็นเท็จใช่ไหม
แต่เนื่องจาก $\left[ P(x) \rightarrow Q(x) \right]$ ถ้าเริ่มจากเท็จ ($F$) แล้วสรุปว่าจริง ($T$) ได้ทันที
ดังนั้นยกตัวอย่าง $x = 3$ ก็พิสูจน์ได้แล้วว่าประพจน์นี้เป็นจริง
มองแล้วขัดกับสามัญสำนึก แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลลัพธ์ตามสามัญสำนึก ต้องเขียนประพจน์นี้เป็น $\exists x \left[ (x^2 < 4) \wedge (x < -2) \right]$

ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่า พึงหลีกเลี่ยงการเขียนแบบนี้ เพราะ การเขียนเพียงแค่ $\forall x \left[ P(x) \right]$ หรือ $\exists x \left[ P(x) \right]$ นั้นเข้าใจตรงกัน
แต่ทำไมเพียงแค่เพิ่มเงื่อนไขเข้าไปนิดหน่อยเป็น $\forall x \in A \left[ P(x) \right]$ หรือ $\exists x \in A \left[ P(x) \right]$ กลับทำให้ข้างใน $\left[ \cdots \right]$ กลายเป็นคนละรูปแบบไปเลย ไม่ว่าจะเลือกรูปแบบไหนก็ตาม
ผมคิดว่าเขียนแบบอื่นก็ได้อีกครับ(ในกรณีที่เชื่อว่ามีการแปลงได้) แต่ logic อาจจะซับซ้อนกว่าสองอันบน กรณี for all แปลงเป็น และ for some เป็นถ้าแล้ว มันดูง่ายสุดผมเลยยกตัวอย่างเพิ่มมาเฉยๆ

จริงๆแล้วผมต้องการบอกว่า ผมไม่คิดว่าจะมีการแปลงส่วนของ for all,for some กลายมาเป็น logic ใดๆในประโยคที่ตามมาทั้งสิ้นครับ คือมันมีความหมายของมันเองอยู่แล้ว หมายถึง พิจารณาทุกตัวในเซตที่...(สำหรับ forall) และ พิจารณาบางตัวในเซตที่...(สำหรับ for some) ส่วนทฤษฏีทั้งหลายที่ เขียน for all, for some นำหน้า แล้วจะตามด้วย logic อะไรก็แล้วแต่ (ไม่ว่า for all จะใช้และหรือถ้าแล้วก็ต่อเมื่อหรืออื่นๆ และ for some ก็ด้วย) นั่นก็คือ การเขียนเพราะคนเขียนต้องการสื่อออกมาแบบนั้น ไม่ได้เขียนมาจากการแปลงโดยเอา Universe เข้าไปร่วมแจมใน logic อีกที
__________________
I am _ _ _ _ locked

11 กันยายน 2013 20:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ t.B.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้