Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 28 ตุลาคม 2004, 22:23
meteor meteor ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2003
ข้อความ: 18
meteor is on a distinguished road
Post การหาสูตร ผลบวก อนุกรม

อยากทราบครับว่า เรามีวิธี อย่างไรบ้าง ในการ หาสูตร ของ
1n + 2n +3n +.....+nn ครับ แล้ว จะมีวิธี หา ค่า n ณ ใด บ้าง ที่ทํา ให้ ผลบวกทั้งหมด นี้ เป็น จํานวนเฉพาะ และ วิธี ในการ ครับ ( และ อยากถามครับว่า จากที่ผม อ่านบอร์ดมา ครับ และ พบวิธีต่างๆ ซึ่ง ผมไม่รู้จักครับ อยากถามครับว่า เป็น เนื้อหา ของ มหาวิทยาลัย ปีไหนครับ และ สามารถ หา อ่านได้โดยทั่วไป ได้ไหมครับ เช่น linear recurrence equation ) สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ พี่ ๆ ทุกคน ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
__________________
ขอบคุณ พี่ ๆ ทุก คน ครับที่ช่วยคลายความสงสัยของผม ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 ตุลาคม 2004, 22:42
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

พิจารณากรณีที่ n เป็นจำนวนเต็ม
1n+2n+3n+...+nn
=n(1+2+...+n)
=n(n)(n+1)/2
=n2(n+1)/2
จะเห็นว่า 1n+2n+3n+...+nn = n²(n+1)/2
ลองแทนค่า n ไปเรื่อยๆดูว่าเป็นจำนวนเฉพาะรึเปล่า?ก็น่าจะได้ทำได้คับ

ส่วน linear recurrence equation
หาอ่านได้ทั่วไปใน Discrete Mathematics คับ
หรือพวก Advance Engineering mathematics ทั่วไปก็มีคับ หัวข้อ
Difference Equation มีสอนวิธีแก้อย่างเดียว
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 29 ตุลาคม 2004, 18:48
meteor meteor ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2003
ข้อความ: 18
meteor is on a distinguished road
Post

ต้องขอโทษ ด้วยนะครับ คือ โจทย์ ผิดนะครับ ต้องเปลี่ยนเป็น
1^n + 2^n + 3^n+.....+n^n ครับ ผม
__________________
ขอบคุณ พี่ ๆ ทุก คน ครับที่ช่วยคลายความสงสัยของผม ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 29 ตุลาคม 2004, 22:56
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Thumbs up

โจทย์ดีน่าสนใจมากครับ แต่ผมทำไม่ได้หรอก ว่าแต่เอาโจทย์มาจากไหนครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 30 ตุลาคม 2004, 01:19
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ลองอ่านในเสริมประสบการณ์เรื่อง จำนวนเบอร์นูลลี ดูสิคับ อาจจะได้คำตอบที่พอใจ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 30 ตุลาคม 2004, 02:31
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Icon23

ยังคิดไม่ออกเลย

30 ตุลาคม 2004 03:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 30 ตุลาคม 2004, 18:45
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

รูปปิดง่าย ๆ ของสูตรที่น้องต้องการมันไม่มีครับ. แต่มันจะสามารถตอบในรูปของของ จำนวนเบอร์นูลลี คูณกับ n ยกกำลังต่าง ๆ ได้ ซึ่งหลักการหนึ่งในหาจำนวนเบอร์นูลลีนั้น สามารถใช้เทคนิคง่าย ๆ ในรูปของผลต่าง คือ ถ้า Sn = 1m + 2m + ... + nm
แล้ว Sn + 1 = 1m + 2m + ... + nm + (n + 1)m

ดังนั้น Sn + 1 - Sn = (n + 1)m ... (1)

จากนั้นก็ตั้งข้อสังเกตว่า สูตรของ Snm จะได้พหุนามที่มีกำลังสูงสุดเป็น m + 1 จึงสมมติให้รูปทั่วเป็น พหุนามกำลัง m + 1 แล้วเมื่อกระจาย สมการ (1) โดยใช้ ทบ.ทวินาม แล้วเทียบสัมประสิทธิ์ของ nk ใด ๆ ก็จะได้ค่าของสัมประสิทธิ์ของ พหุนามที่เราสมมติ ซึ่งเราเรียกว่าจำนวนเบอร์นูลลีนั่นเอง ถ้าสนใจรายละเอียดก็อย่างที่น้อง m@gpie ว่าไว้ คือ ดูในเสริมชุดที่ 36

ส่วนเรื่องที่ได้เป็นจำนวนเฉพาะ ยิ่งไปไกลสุดขอบฟ้าเลยครับ. เพราะจำนวนเฉพาะยังคงเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นรูปแบบมันทั้งหมด แค่มีรูปแบบของ ฟังก์ชัน p(n) ซึ่งแทน จำนวน ของจำนวนเฉพาะที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ n แค่นี้ก็ยังไม่เคลียร์กันมากเลยครับ. มันโยงไปถึง Riemann Hypothesis โน่นเลย

ถ้าให้จำนวนเต็มบวกตัว big ๆ มาแล้วถามว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือเปล่า แค่นี้ก็ยากระดับโลกแล้วครับ. ถ้าสนใจก็อ่านในเสริมชุดที่ 22 มั้ง

จะมีตัวอย่างง่าย ๆ ที่ได้สวย ๆ ถ้าจำไม่ผิด ก็เป็น Euler ที่เป็นยกตัวอย่างที่เยี่ยมมาก ๆ ขึ้นมา คือ n2 + n + 41 คือ ถ้าแทน n ด้วย 0, 1, 2, ... , 39 ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะเป็นจำนวนเฉพาะทั้งหมด แต่ถ้าแทน n = 40 จะได้ 412 ซึ่งเป็นจำนวนประกอบในที่สุด

30 ตุลาคม 2004 19:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 14 พฤศจิกายน 2004, 11:38
<TOO4515059>
 
ข้อความ: n/a
Angry

ลองกลับไปหาในห้องสมุดดูสิคะ หนังสือเรืองจำนวนเบอร์นูลลีน่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 19:15


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha