Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 06 พฤษภาคม 2013, 21:54
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default มีใครได้ใช้วิชาคณิตศาสตร์แบบเป็นรูปธรรมเพื่อ...

มีใครได้ใช้วิชาคณิตศาสตร์แบบเป็นรูปธรรมเพื่อความสำเร็จของงานบ้างครับ แน่นอนจะเอาแบบคณิตศาตร์เพียว ๆ มันคงไม่ได้ เพราะจะว่าไปแล้วศาสตร์นี้ออกจะเป็นแนวปรัชญาเชิงตรรกะ มันจะต้องใช้ประยุกต์เอา

ถ้าที่เห็น ๆ ผมใช้เลยนะครับ แบบเป็นเรื่องเป็นราวเลย การทำธุรกิจ ต้องวางแผนคำนวณราคาขายที่เหมาะสม วางแผนว่าจะซื้อของเข้าร้านอย่างไร ซื้อร้านไหนถูกกว่ากัน บางครั้งมันมีรายการของแถม ของแถมบางอย่างเอามาไม่ได้ใช้หรือขายไม่ออก ค่าของมันก็คือ 0

การเป็น VI การลงทุน มันก็ใช้คณิตศาสตร์บวกกับความสามารถในการคาดการณ์อนาคต

ตอนนี้นึกไม่ออก

เออมีการทำหนังสือ

ใครมีอะไร ๆ ดี แบบใช้ได้จริงในเชิงรูปธรรมโปรดบอกด้วยครับ เผื่อจะได้แนวความคิดดี ๆ ไปทำหนังสือครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 07 พฤษภาคม 2013, 12:53
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ถูกใจหัวข้อนี้ครับ เลยขอร่วมด้วยช่วยกัน เพราะสอดคล้องกับคำถามทีว่า "เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม"
ผมไม่ได้เป็นครูโดยอาชีพ และคณิตศาสตร์ก็ไม่ใช่สาขาที่เรียน แต่ได้มีโอกาสไปข้องเกี่ยวบ่อย ๆ

๑ ผู้จัดการขายบอกพนักงานว่า ไปลดให้ลูกค้า ลด ๑๐ ซื้อสดลดอีก ๑๐ ได้ปริมาณลดให้อีก ๑๐
พนักงานพบลูกค้าตรงข้อกำหนด จัดการลดเลย ๓๐ เป็นเรื่องเลย

๒ พ่อแม่ขอให้พูดกับลูกเรื่องอย่าซื้อรถเลย เพราะถึงบริษัทก็จอดทั้งวัน ไม่คุ้มค่า
ผมได้แสดงให้ดูว่า วันหนึ่ง ๆ รถที่จะซื้อคิดเป็นค่าใช้จ่ายตก วันละ ๕๐๐ บาท เรียกรถไปกลับคุ้มกว่า ทั้งลดปัญหาความเสี่ยงที่ต้องขับเองได้

เขียนแนวนี้ตรงกับที่ต้องการไหมครับ ถ้าใช้ได้จะมาร่วมแสดงความเห็นอีกครับ
ไม่ต้องเกรงใจนะครับ ต้องการแบบไหนเสนอมาได้ครับ

ขอบคุณที่ให้โอกาสครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 07 พฤษภาคม 2013, 13:20
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

วันก่อนไปกินก๋วยเตี๋ยวสั่งเส้นหมี่แห้งใส่ทุกอย่าง

ผมนั่งปรุงอยู่นานมากกว่าจะได้รสชาดที่ชอบ

เพราะเส้นหมี่มันเล็กเลยพันกันนัวเนีย

ใส่อะไรลงไปก็จะอยู่แค่รอบนอกไม่ซึมเข้าไปข้างใน ข้างในมันก็เลยจืดๆครับ

มานั่งถามตัวเองว่าลวกเส้นหมี่ยังไงไม่ให้พันกันจะได้ปรุงง่ายๆหน่อย

ก็นึกถึงวิชาทอพอโลยีที่เคยเรียนมันมีวิชา Knot Theory ซึ่งน่าจะตอบปัญหานี้ได้

ตอนนี้คิดไว้คร่าวๆว่าจะให้นักศึกษาทำเป็น Senior Project

ตั้งชื่อหัวข้อว่า ลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวยังไงไม่ให้พันกัน

ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นแค่ความคิดริเริ่มอาจจะทำได้หรือไม่ได้ก็ได้

แต่จะชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าเรียนวิชาอะไรก็ตามอย่าถามว่าเรียนไปเพื่ออะไร

แต่ควรถามตัวเองใหม่ว่า เรียนแล้วมีลู่ทางเอาความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ?
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 09 พฤษภาคม 2013, 18:07
Pasharapon Pasharapon ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 เมษายน 2012
ข้อความ: 6
Pasharapon is on a distinguished road
Default

ปัจจุบันผมยังเรียนอยู่ครับ ขึ้นปีสอง ภาควิชาคณิตศาสตร์ฯ ประสบการณ์อาจใกล้เคียงกับความต้องการของคำถาม
เทอมที่แล้วจะไปออกค่ายกัน ทางกลุ่มให้ผมรับผิดชอบเรื่องเกมส์ทั้งหมด ผมก็เลยทำออกมาในรูปแบบที่ชอบนั่นคือคาสิโน

กติกาง่ายๆ คือ มีไพ่ $7$ ใบ ให้เป็น $A,A,A,B,B,B,Z$ คว่ำไพ่ทั้งหมด แล้วสลับกันหยิบที่ละใบโดยเจ้ามือหยิบก่อน
ใครได้ไพ่ที่เหมือนกันก่อนจะชนะ แต่ถ้าได้ไพ่ $Z$ ถือว่าแพ้ทันที จ่ายค่าเข้าเล่นเกมส์ละ $1$ เหรียญ เล่นได้เรื่อยๆจนกว่าจะแพ้ หรือล้มบอสได้
ถ้าชนะ $2$ ตาติด ได้คืน $2$ เหรียญ และ ถ้า $3$ ตาติด จะได้คืน $4$ เหรียญ และได้เจอบอส ถ้าล้มบอสได้ จะได้รางวัลใหญ่ไป

จากการคำนวณพบว่า ความน่าจะเป็นในการชนะแต่ละตาของเจ้ามือคือ $\frac{4}{7}$ นั่นคือ
ถ้าเล่นไปร้อยเกมส์ เจ้ามือจะแพ้ประมาณ 43 เกมส์ ประเภทของผู้ที่มาพนันจะแบ่งเป็น

ชนะสามตารวด คือ $\left\lceil\ 100\times(\frac{3}{7})^3 \right\rceil=8 $ เกมส์
ชนะสองตารวดแพ้ตาสาม คือ $\left\lceil\ 100\times(\frac{3}{7})^2 \right\rceil -8=11$ เกมส์
ชนะตาแรกแพ้ตาสอง $\left\lceil\ 100\times(\frac{3}{7})^2 \right\rceil -8-11=24$ เกมส์
แพ้ตั้งแต่ตาแรก $57$ เกมส์

เพราะฉะนั้นใน $100$ เกมส์ เราจะได้รับเงิน $100$ เหรียญ และจ่ายเงิน $8\cdot 4 + 11\cdot 2 = 54$ เหรียญ
ดังนั้น ในแต่ละตา กลุ่มเราจะมีเงินเข้ากระเป๋าเฉลี่ย $0.46$ เหรียญ (จบภาคทฤษฎี)

พอถึงวันจริงๆผมก็หวั่นๆว่ามันจะออกมาอย่างที่คิดรึปล่าว เพราะผมไม่เคยเรียนอะไรพวกนี้เลย
ผมรู้แค่การคำนวณความน่าจะเป็นเท่านั้น แต่ก็กัดฟันบอกกลุ่มไปว่า "ชัวร์น่า มันต้องกำไรแน่นอน"

พอจบกิจกรรมกลุ่มเรามีเหรียญทั้งหมดเกือบๆ $200$ เหรียญ จากต้นทุน $60$ เหรียญ ครับ
ผมรู้สึกดีใจมากๆ ปนๆกับความรู้สึกคล้ายๆกับการรอดตาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 09 พฤษภาคม 2013, 21:25
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default พูดเสียอยากเรียนเลยครับ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ แฟร์ View Post
ลองไปดูวิชาที่เรียนในมหาวิทยาลัย ที่พวกเรียนคณิตศาสตร์ประยุกต์ เรียนกัน

วท.คณ. 116 คณิตศาสตร์เพื่อชีวิต
MAYH 116 Mathematics for Life
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
การให้เหตุผลทางตรรกสัญลักษณ์ การวัดต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การคิดดอกเบี้ยใน
ลักษณะต่าง ๆ ฟังก์ชันเส้นตรงและการหาจุดคุ้มทุน การใช้เครื่องคำนวณความน่าจะเป็น การคิด
และการตัดสินใจ

MATH 117 Mathematics for Business
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ฟังก์ชันพีชคณิต เอ็กโปเนนเชียล ลอการิทึม และกราฟสมการเส้นตรง เมตริกซ์และ
ดีเทอร์มิแนนท์ การคิดดอกเบี้ยส่วนลด และการกำหนดราคาขายปลีก การลงทุน การชำระหนี้
และการผ่อนชำระ การวิเคราะห์ความคุ้มทุน การพยากรณ์ การตัดสินใจใช้ข้อมูลสารสนเทศ
การหาค่าสูงสุดและต่ำสุดของฟังก์ชัน

วท.คณ. 362 กำหนดการเชิงเส้น
MATH 362 Linear Programming
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับกำหนดการเชิงเส้น ปัญหากำหนดการเชิงเส้น และการหา
ผลเฉลยโดยวิธีซิมเพลกซ์ ปัญหาคู่กัน สภาพเสื่อมคลาย กำหนดการเชิงจำนวนเต็ม และการ
ประยุกต์ ได้แก่ปัญหาการขนส่งและปัญหาการมอบหมายงาน

วท.คณ. 363 ทฤษฎีรหัส
MATH 363 Coding Theory
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : MATH 231
รหัสกลุ่ม รหัสพหุนาม รหัสฮามมิง สนามอันตะและรหัส BCH รหัสเชิงเส้น รหัสวัฏจักร
การแยกตัวประกอบพหุนาม

วท.คณ. 364 ทฤษฎีเกม 3(3-0-6)
MATH 364 Game Theory
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
เกมเมทริกซ์ รูปแบบขยาย รูปต้นไม้เกม กลยุทธ์ผสม กลยุทธ์เด่นชัด เกมเมทริกซ์คู่
รูปแบบปรกติ สมดุลนาช เกมซ้ำ

วท.คณ. 464 การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เบื้องต้น
MATH 464 Introduction to Mathematical Modeling
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ขั้นตอนและเทคนิคในการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ โดย
กล่าวถึงการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดนัยทั่วไป การตรวจสอบนัยทั่วไป การสรุปเป็นตัวแบบ
การแปลความหมายของคำตอบ

วท.คณ. 465 การสร้างตัวแบบและการจำลองสถานการณ์
MATH 465 Modeling and Simulation
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
การสร้างและการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่อเนื่องและไม่
ต่อเนื่อง การสร้างต้นแบบและต้นแบบของปัญหา การหาคำตอบของปัญหา การจำลอง
สถานการณ์ การวิเคราะห์ผลลัพธ์

วท.คณ. 178 คณิตศาสตร์สำหรับการประกันภัย
MATH 178 Mathematics for Insurance
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
หลักเกณฑ์และทฤษฎีความน่าจะเป็นของการประกันภัย ความหมายและลักษณะของการ
ประกันชีวิต และการประกันภัยอื่นๆ ความน่าจะเป็นของการมีชีวิตและการตาย การคิดดอกเบี้ย
ตารางมรณะ ค่ารายปี การคำนวณค่าเบี้ยประกันแบบต่างๆ เงินสำรองประกันชีวิต

วท.คณ. 271 คณิตศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
MATH 271 Mathematics in Physical Science
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น
การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายการย้อมติดสีหิน ระบบขับฮอร์โมนในร่างกาย
มนุษย์ ระบบการหมักสาร เป็นต้น

วท.คณ. 372 ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ
MATH 372 Quantitative Method
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ความหมายและประโยชน์การนำวิธีเชิงปริมาณมาใช้ในการบริหาร การตัดสินใจภายใต้
สถานการณ์ แขนงการตัดสินใจและการตัดสินใจด้านข่าวสารจากการทดสอบสินค้าคงคลัง การ
โปรแกรมเชิงเส้นโดยวิธีซิมเพล็กซ์และปัญหาคู่ควบ ปัญหาการขนส่ง ทฤษฎีคิว และการจำลอง
สถานการณ์

วท.คณ. 373 ทฤษฎีดอกเบี้ย
MATH 373 Theory of Interests
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ดอกเบี้ยคงต้น ดอกเบี้ยทบต้น ส่วนลดและดอกเบี้ย ค่ารายปี ค่ารายงวด ส่วนประกอบค่า
รายปี ตารางเงินผ่อนและกองทุนสะสม อัตราดอกเบี้ยที่เป็นจริงอัตราส่วนลดที่เป็นจริง อัตรา
ดอกเบี้ยจากการลงทุน หุ้น พันธบัตร หลักทรัพย์ การชำระหนี้แบบต่างๆ การใช้คณิตศาสตร์และ
สถิติในการวิเคราะห์ด้านการเงิน

วท.คณ. 472 ทฤษฎีสินค้าคงคลัง
MATH 472 Inventory Theory
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
แบบจำลองสินค้าคงคลัง การโปรแกรมเชิงเส้น ต้นทุนคอนเวกซ์และคอนเคฟ อัลกอลิทึม
การวางแผน การวิเคราะห์แบบฮอริซ แบบจำลองสินค้าคงคลังโดยใช้ความน่าจะเป็น แบบจำลอง
สถิติ แบบจำลองปริมาณการสั่ง แบบจำลองทบทวนต่อเนื่องอย่างสโตแคสติค

วท.คณ. 473 คณิตศาสตร์การเงิน
MATH 473 Mathematics for Finance
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
หลักพื้นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาทางการเงิน การคำนวณดอกเบี้ย ดอกเบี้ยทบต้น และ
การวิเคราะห์ส่วนประกอบของค่ารายปีหุ้นและพันธบัตร การชำระหนี้ในแบบต่าง ๆ การใช้
คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อเป็นเครื่องมือตัดสินใจในการวิเคราะห์ด้านการเงิน

วท.คณ. 474 คณิตศาสตร์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์
MATH 474 Mathematics for Logistics
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี
ความหมายการจัดการโลจิสติกส์ ฟังก์ชันพีชคณิต และกราฟ การจัดลำดับและการจัดหมู่
ความน่าจะเป็น การหาจุดคุ้มทุน สินค้าคงคลัง กำหนดการเชิงเส้นโดยวิธีซิมเพล็กซ์ การขนส่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการโลจิสติกส์ และทฤษฎีการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ

พวกที่เรียนสาขา สถิติประยุกต์ ก็นำคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหา แบบเป็นรูปธรรม
มีให้เลือกเรียน หลายวิชา
ST 308 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
ST 309 เทคนิคการสำรวจตัวอย่าง
ST 310 การวิเคราะห์การถดถอย
ST 311 เทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติ
ST 312 การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ
ST 313 การจัดการคุณภาพ
ST 315 การออกแบบการทดลอง
ST 316 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ST 317 การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ
ST 314 การจำลองสถานการณ์ทางสถิติ
ST 318 การสำรวจความคิดเห็น
ST 321 การจัดการแถวคอย
ST 322 การพยากรณ์การขาย
ST 323 การวิเคราะห์ข่ายงาน
ST 324 สินค้าคงคลัง
ST 325 สถิติโลจิสติกส์และการจัดการ
ST 326 สถิติภาครัฐ
พวกนี้มันคือคณะอะไรครับ เพื่อจะไปลงเรียนมสธ. มันมีเปิดสอนหรือเปล่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 10 พฤษภาคม 2013, 06:11
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากครับ ผมรู้แล้วว่าจะไปเรียนแะไรดี
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 09:09


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha