Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 14 พฤศจิกายน 2008, 22:52
Kira Yamato's Avatar
Kira Yamato Kira Yamato ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 กันยายน 2008
ข้อความ: 212
Kira Yamato is on a distinguished road
Default ลองดูครับ

1.กำหนดให้ $x=\frac{2+2\sqrt{3} }{2}$
แล้ว $x^{5}-2x^{4}-2x^{3}-x^{2}+2x+2 =?$
2.จงแสดงว่า มีจำนวนในรูปของ 20082008...2008 ที่ถูกหารด้วย2551ลงตัว(ยากครับ ใช้รังนกพิราบ )
3.กำหนดให้ $x=\frac{1+\sqrt{5}}{2}$
จงหาค่าของ $4x^{4}+3x^{3}-2x^{2}+x-1$
4.กำหนดให้ $21n^{3}+89n^{2}-77n+15=0 $จงทำดังต่อไปนี้
ก.จงเขียนเซตAเมื่อAเป็นคำตอบของสมการดังกล่าว
ข.จงแจกแจงสมาชิกของ P(A)
5.จงแสดงว่า $(5^{5k+1}+4^{5m+2}+3^{5n})หารด้วย11ลงตัวเมื่อk,m,n\in \mathbb{Z} บวก$
__________________
ชีวิตคือการต่อสู้
ปัญหาคือการเรียนรู้
ศัตรูคือครูของเรา

14 พฤศจิกายน 2008 22:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Kira Yamato
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 15 พฤศจิกายน 2008, 00:30
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Kira Yamato View Post
1.กำหนดให้ $x=\frac{2+2\sqrt{3} }{2}$
แล้ว $x^{5}-2x^{4}-2x^{3}-x^{2}+2x+2 =?$
2.จงแสดงว่า มีจำนวนในรูปของ 20082008...2008 ที่ถูกหารด้วย2551ลงตัว(ยากครับ ใช้รังนกพิราบ )
3.กำหนดให้ $x=\frac{1+\sqrt{5}}{2}$
จงหาค่าของ $4x^{4}+3x^{3}-2x^{2}+x-1$
4.กำหนดให้ $21n^{3}+89n^{2}-77n+15=0 $จงทำดังต่อไปนี้
ก.จงเขียนเซตAเมื่อAเป็นคำตอบของสมการดังกล่าว
ข.จงแจกแจงสมาชิกของ P(A)
5.จงแสดงว่า $(5^{5k+1}+4^{5m+2}+3^{5n})หารด้วย11ลงตัวเมื่อk,m,n\in \mathbb{Z} บวก$
ข้อ 1 ผมทำได้แต่มันค่อนข้างยืดยาว ตอนแรกจัดรูปให้ $x=1+\sqrt{3}$
ต่อมาเอา x ออกมาเรื่อยๆ
$x^{5}-2x^{4}-2x^{3}-x^{2}+2x+2$
$x(x^4-2x^3-2x^2-x+2)+2$
$x(x(x^3-2x^2-2x-1)+2)+2$
$x(x(x(x^2-2x-2)-1)+2)+2$
$x(x(x(x(x-2)-2)-1)+2)+2$
จากตรงนี้ค่อยแทนค่าออก
$x(x(x(x(1+\sqrt{3}-2)-2)-1)+2)+2$
$x(x(x((1+\sqrt{3})(\sqrt{3}-1)-2)-1)+2)+2$
$x(x(x((3-1)-2)-1)+2)+2$
$x(x(-1)+2)+2$
$x(-1-\sqrt{3}+2)+2$
$x(1-\sqrt{3})+2$
$(1+\sqrt{3})(1-\sqrt{3})+2$
$2-2$
$0$
ผมก็ได้มาแบบนี้ซึ่งแน่นอนว่ามีสิทธิ์ผิดพลาดค่อนช้างสูงใครมีวิธีดีๆก็มาแบ่งกันบ้างนะครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 15 พฤศจิกายน 2008, 01:39
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

ข้อ 1 และ 3 ทำได้ง่ายกว่านั้นครับ จะลองทำข้อ 1 ให้ดูละกัน (เคาะสนิมไปในตัว)

จาก $x=1+\sqrt3$ จะได้ $(x-1)^2-3=x^2-2x-2=0$ ดังนั้น $x^{5}-2x^{4}-2x^{3}-x^{2}+2x+2 =x^3(x^2-2x-2)-(x^2-2x-2)=0$

ส่วนข้อ 3 ก็ทำในทำนองเดียวกัน (ตั้งหารยาวก็ได้นะครับ)

ข้อ 2 เพราะ 2551 เป็นจำนวนเฉพาะ ดังนั้น $2551\not\vert 2008$ เลยเหลือแต่พิจารณาว่าจำนวนในรูป 1001001001... ควรจะยาวแค่ไหนถึงจะหารด้วย 2551 ลงตัวครับ

ข้อ 4 แยกทางซ้ายมือได้ $(3x-1)(7x-3)(x+5)$

ข้อ 5 ข้อสรุปด้านบนได้มาจาก $3^5,\ 4^5,\ 5^5\equiv 1 \pmod{11}$
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.

15 พฤศจิกายน 2008 11:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: พิมพ์เลขผิด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 15 พฤศจิกายน 2008, 08:06
warutT's Avatar
warutT warutT ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มิถุนายน 2008
ข้อความ: 233
warutT is on a distinguished road
Default

ข้อ 5 ครับ จะแสดงว่า $(5^{5k+1}+4^{5m+2}+3^{5n})$ หารด้วย $11$ ลงตัว เมื่อ$k,m,n$ เป็นจำนวนเต็มบวก

เนื่องจาก $5^5 \equiv 1 \pmod{11}$
$5^{5k} \equiv 1 \pmod{11}$
$5^{5k+1} \equiv 5 \pmod{11}$

ในทำนองเดียวกัน
$4^{5m} \equiv 1 \pmod{11}$
$4^{5m+2} \equiv 16 \pmod{11}$
และ $3^{5n} \equiv 1 \pmod{11}$
นั่นคือ $(5^{5k+1}+4^{5m+2}+3^{5n}) \equiv 22 \equiv 0 \pmod{11}$
แสดงว่า $(5^{5k+1}+4^{5m+2}+3^{5n})$ หารด้วย $11$ ลงตัว
__________________
หมั่นฝึกฝนตนเองเป็นประจำ
แม้ตรากตรำก็ต้องยอมสู้ฝึกฝน
แม้เหนื่อยยากเราก็ต้องเฝ้าอดทน
เพื่อเป็นผลงอกงามยามพบชัย

"ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"

Fit for Math!!!

15 พฤศจิกายน 2008 08:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warutT
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 15 พฤศจิกายน 2008, 22:41
Kira Yamato's Avatar
Kira Yamato Kira Yamato ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 กันยายน 2008
ข้อความ: 212
Kira Yamato is on a distinguished road
Default

ครับวิธีถูกทั้งหมดเลยครับ
ตอนแรกข้อ3ผมไม่รู้ทำไง
แทนค่าถึกแทบตายแน่ะ แต่ก็รู้ตอนที่มีคนสอนอ่ะครับ
เลยเอาโจทย์มาโพสต์ดูครับ
__________________
ชีวิตคือการต่อสู้
ปัญหาคือการเรียนรู้
ศัตรูคือครูของเรา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 18:16


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha