Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 04 มกราคม 2009, 14:13
Aphenisol Aphenisol ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 มกราคม 2009
ข้อความ: 26
Aphenisol is on a distinguished road
Default อนุกรมอนันต์ครับ

อยากรู้ว่าผลบวกของอนุกรม

$\sum_{n = 1}^{\infty}$ $\frac{6}{(n)(n+1)(2n+1)}$

หายังไง แล้วก็มีค่าเท่าไร

พอดีอยากรู้นะครับว่าหายังไง ลองหาเองดูแล้วก็ไม่ได้สักที

04 มกราคม 2009 14:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Aphenisol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 04 มกราคม 2009, 16:19
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Default

ดูพี่กอนทำสิครับ


ตอนแรกผมนึกว่าทำแบบทั่วไปได้ เพราะไม่ได้คิดจนเสร็จ

สงสัยถึงตรง เศษส่วนย่อยแล้วพยายามสังเกต และหา รูปปิดของผลบวก

ก็คงหาออกมาได้ยาก

04 มกราคม 2009 23:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gnopy
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 04 มกราคม 2009, 18:55
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

ผมค่อนข้างรีบ ๆ เขียน อาจจะมีผิดพลาดบ้าง แ่ต่โดยรวมน่าจะถูกต้อง
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 04 มกราคม 2009, 21:36
Aphenisol Aphenisol ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 มกราคม 2009
ข้อความ: 26
Aphenisol is on a distinguished road
Default

ไม่เคยคิดเลยว่าใช้วิธีนี้ได้ -*-

ขอบคุณมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 04 มกราคม 2009, 22:11
beginner01 beginner01 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 กันยายน 2008
ข้อความ: 177
beginner01 is on a distinguished road
Default

ลองคำนวณดูใน mathematica มันได้เป็น $6(3-2\ln{4})$ อ่ะครับ
เท่าที่ดูใน mathematica มันเริ่มผิดไปตรงบรรทัดที่สลับเอาตัวอินทิเกรตกับตัว summation อ่ะครับ
__________________
จะคิดเลขก็ติดขัด จะคิดรักก็ติดพัน

04 มกราคม 2009 22:18 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ beginner01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 04 มกราคม 2009, 23:01
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default

ไม่ทราบว่าคุณ beginner01 ใช้ฟังก์ชันอะไรในการหาครับ ทำไมผมได้แบบนี้อะ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 05 มกราคม 2009, 00:02
Aphenisol Aphenisol ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 มกราคม 2009
ข้อความ: 26
Aphenisol is on a distinguished road
Default

Sum[1/(Sum[k^2, {k, 1, n}]), {n, 1, Infinity}]

ผมใช้ตัวนี้หาออกมาก็ได้เหมือนกับคุณ beginner01 อะครับ

ผมลองไปเช็คคำตอบกับ Mathematica คำตอบที่ได้ก็ไม่ตรงจริงๆนะครับ

แต่ผมก็พอจะเห็นวิธีที่จะหาได้แล้ว คำตอบผิดไม่เป็นไรหรอกครับ

ก็ต้องขอบคุณอีกครั้งนะครับ

05 มกราคม 2009 00:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Aphenisol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 05 มกราคม 2009, 00:12
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ผมทำแบบนี้ครับ

$\dfrac{6}{n(n+1)(2n+1)}=\dfrac{24}{2n(2n+1)}-\dfrac{6}{n(n+1)}$

ดังนั้น $\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{6}{n(n+1)(2n+1)}=\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{24}{2n(2n+1)}-\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{6}{n(n+1)}}$

ต่อไปพิจารณาอนุกรมสองตัวนี้

$\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{1}{n(n+1)}}=1$

$\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{1}{2n(2n+1)}}=1-\ln{2}$

อนุกรมตัวแรกหาได้ไม่ยากโดยใช้เทคนิค telescoping sum ครับ

ส่วนตัวที่สองหาแบบนี้

$\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{1}{2n(2n+1)}}=\dfrac{1}{2\cdot 3}+\dfrac{1}{4\cdot 5}+\dfrac{1}{6\cdot 7}+\cdots$

$~~~~~~~~~~~~~~~~~~~=1-\Big(1-\dfrac{1}{2}+\dfrac{1}{3}-\dfrac{1}{4}+\dfrac{1}{5}-\dfrac{1}{6}+\cdots\Big)$

$~~~~~~~~~~~~~~~~~~~=1-\ln{2}$

ดังนั้น $\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{6}{n(n+1)(2n+1)}=24(1-\ln{2})-6(1)}$

$~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~= 18-24\ln{2}$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 05 มกราคม 2009, 10:32
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon18

ผมลองตรวจสอบคำตอบจากวิธีคิดของอนุกรมที่ nooonuii แสดงไว้ รู้แล้วว่าวิธีนี้จะใช้อย่างไรถึงจะได้ผลลัพธ์ถูกต้อง แต่สาเหตุที่ผิดนั้น ผมยังไม่รู้ครับ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 05 มกราคม 2009, 21:44
Aphenisol Aphenisol ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 มกราคม 2009
ข้อความ: 26
Aphenisol is on a distinguished road
Default

เป็นไปได้ไหมครับที่ว่ามันขึ้นอยู่กับการจัดรูปถึงจะได้คำตอบที่ถูกออกมา

จัดต่างกันนิดเดียว แต่ผลลัพธ์ไปคนละแบบเลย

แล้วถ้าเป็นแบบนั้นจริง เราจะรู้ได้ไงละครับว่ามันเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 05 มกราคม 2009, 23:11
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ผมคิดว่าวิธีของพี่ Gon อาจจะมีปัญหาตอนสลับที่ integral กับ summation ครับ

เพราะเราไม่สามารถทำอย่างนี้ได้เสมอไป มันขึ้นอยู่กับชนิดของการลู่เข้าของอนุกรมครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 06 มกราคม 2009, 01:19
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Anonymous314 View Post
ไม่ทราบว่าคุณ beginner01 ใช้ฟังก์ชันอะไรในการหาครับ ทำไมผมได้แบบนี้อะ
การคำนวณใน Mathematica ส่วนใหญ่ไม่ Simplify คำตอบให้ ยกเว้นรุ่นแอฟฟ่า รุ่นที่ผมใช้ 5.0a ไม่มีปัญหา คำตอบได้เหมือนคุณ beginner01 ผมว่ารุ่นที่คุณ Anonymous314 ใช้อาจเป็นรุ่น... เบต้า ที่ส่วนใหญ่ไม่ Simplify คำตอบให้ ถ้าต้องการดูคำตอบที่ลดรูป ใช้คำสั่ง Simplify หรือ FullSimplify ต่อท้าย ในรูปฟังก์ชัน (//) ถ้าต้องการดูการเขียนแบบดั้งเดิมให้ใช้คำสั่ง TraditionalForm ต่อท้ายในรูปฟังก์ชัน (//) ดังรูปต่อไปนี้



ในส่วนวิธีคิดของคุณ gon ส่วนตัวผมชอบ Style การคิดที่ดูแล้วน่าชื่มชมกับความพยายาม และหาวิธีการที่หลากหลาย และของคุณ noonuii ก็ดูแล้วน่านับถือที่พยายามคิดใน Scope ความรู้พื้นฐาน และในส่วนอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ของคุณ gon ผิดตรงนี้ครับ ดังรูป



เอาล่ะ!!! ไหน ๆ ก็มาแล้วขอเจาะเกร็ด (ความรู้) ใน Mathematica มาให้ก็แล้วกัน (ที่จริงอยากจะ Charge Battery ให้ตัวเองซักระยะ เพราะช่วงนี้เจอคลื่นมรสุมเยอะ...)

เจาะเกร็ด (ความรู้) เรื่อง Summation ใน Mathematica

การคำนวณใน Mathematica จะพยายามใช้สูตรสำเร็จที่มีรูปแบบ Generalization เรียบร้อยแล้ว ในแต่ละเรื่องในการคำนวณ ถ้าไม่พบจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญ คือ คำนวณว่าลู่เข้าหรือไม่ (โดยใช้สูตรสำเร็จที่มีรูปแบบ Generalization เรียบร้อยแล้ว ในแต่ละเรื่อง) , คำนวณในรูป Telescope ณ ที่นี้เป็น Summation , คำนวณแบบ Recursive , ทำการ Simplify โจทย์ใหม่ แล้ววนไปคิดสูตรสำเร็จอีกครั้ง ==> ถ้าตอบได้ก็จะได้คำตอบออกมา ถ้าตอบไม่ได้ก็จะให้คำตอบที่เป็นโจทย์ที่เราป้อนนั่นเอง (ซึ่งพบบ่อย ๆ ถ้าฟังก์ชันในการคำนวณซับซ้อน)

เอาล่ะเรามาคำนวณ $\sum_{n = 1}^{\infty} \frac{6}{n(n+1)(2n+1)} $ ในรูป Generalization ของ Mathematica กันดีกว่า
1. เครื่องจะทำการตรวจสอบสูตรสำเร็จ ถ้าไม่มีก็คำนวณตามลำดับความสำคัญ สุดท้ายมาที่ process Simplify โดยใช้คำสั่งการแยกเป็นเศษส่วนย่อย ที่คือ Apart[...] จะได้
$$\sum_{n = 1}^{\infty} \frac{6}{n(n+1)(2n+1)} = 6\sum_{n = 1}^{\infty} \left(\,\right. \frac{1}{n}+\frac{1}{n+1}-\frac{4}{2n+1} \left.\,\right) $$

2. ต่อไปเครื่องจะตรวจสอบว่าจะต้องใช้สูตรสำเร็จที่มีรูปแบบ Generalization อะไร สุดท้ายมาตกที่ PolyGamma Function ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ Natural Logarithm ของฟังก์ชัน Gamma ซึ่งเป็น Generalization ของฟังก์ชัน Factorial อีกที (ผมเคยได้อธิบายมาครั้งหนึ่งแล้วในหัวข้อก่อน ๆ) คลิกดูรายละเอียด Gamma Function มีสูตรเยอะแยะมากมาย และจะใช้สูตรไหนดี สุดท้ายก็หาเจอ (การหาจะใช้ความรู้เรื่อง MatchQ Pattern ใน Mathematica เข้าตรวจสอบ) คือ สูตรนี้



คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม

และแล้วก็เริ่มเปิดฉากการคำนวณเลย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจสัญลักษณ์ก่อน เจ้า $\gamma $ (gamma ตัวเล็ก) ก็คือค่าคงตัวที่เรียกว่า Euler Constant ที่มีค่าเป็น $\gamma = 0.57721566... $ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม และ $\psi (z) = {\psi}^{(0)}(z) $ เอาล่ะจาก Digamma_function ในรูปด้านบน เราจะได้
$$ \sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{x+k}=-\gamma -\psi (x+1)+\sum_{k = 1}^{\infty} \frac{1}{k} $$
เพราะฉะนั้น ในโจทย์ของเรา Take n->k โดยใช้คำสั่ง Replacement[...] ใน Mathematica
$\sum_{k = 1}^{\infty} \frac{6}{k(k+1)(2k+1)} $
$= 6\sum_{k = 1}^{\infty} \left(\,\right. \frac{1}{k}+\frac{1}{k+1}-\frac{4}{2k+1} \left.\,\right) $
$= 6\left(\,\right. \sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k}+\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k+1}-4\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{2k+1} \left.\,\right) $
$= 6\left(\,\right. \sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k}+\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k+1}-2\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k+(1/2)} \left.\,\right)$
$ = 6\left(\,\right. \sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k}+\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k+1}-2\left(\,\right. -\gamma -\psi (\frac{3}{2})+\sum_{k = 1}^{\infty}\frac{1}{k} \left.\,\right)\left.\,\right) (โดยการให้ x = \frac{1}{2} ) $
$=6\left(\,\right. \sum_{k = 1}^{\infty}\left(\,\right. \frac{1}{k+1}-\frac{1}{k}\left.\,\right) +2\gamma +2\psi (\frac{3}{2} )\left.\,\right) $
$=6\left(\,\right. -1+2\gamma +2\psi (\frac{3}{2})\left.\,\right) (โดยการใช้ Telescope Sum) $
$=6\left(\,\right. -1+2\gamma +2{\psi}^{(0)} (\frac{3}{2})\left.\,\right) $
ซึ่งก็ได้คำตอบตรงกับ Mathematica ที่ตอบออกมา ต่อไปก็ทำการ Simplify อีกครั้งโดยเข้าสูตรลดรูป ดังนี้



$\sum_{k = 1}^{\infty} \frac{6}{k(k+1)(2k+1)} $
$=6\left(\,\right. -1+2\gamma +2\psi (\frac{3}{2})\left.\,\right)$
$=6\left(\,\right. -1+2\gamma +2 \left(\,\right. -\gamma - 2ln(2) + \sum_{k = 1}^{1}\frac{2}{2k-1} \left.\,\right) \left.\,\right) (โดยการให้ n = 1)$
$=6\left(\,\right. -1+2\gamma +2 \left(\,\right. -\gamma - 2ln(2) + 2 \left.\,\right) \left.\,\right) $
$=6(3-4ln(2))$
$=6(3-2ln(4))$
$=18-12ln(4)$
ซึ่งก็เป็นคำตอบของ Mathematica เมื่อทำการ FullSimplify นั่นเอง...

เราจะพบว่า Mathematica จะใช้สูตรที่เป็น Generalization เสียเป็นส่วนใหญ่ เราจึง Chk คำตอบจากการ Solve มือค่อนข้างยาก เพราะเป็นลักษณะการ Solve ที่เป็นพื้นฐาน เนื่องจาก Mathematica ไม่สนใจวิธีการคิด การคำนวณ จะสนใจเฉพาะคำตอบเท่านั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

การจะทำให้ Mathematica คำนวณในลักษณะวิธีทำในลักษณะ Basic ที่พวกเราเรียนนั้น ก็เลยยากมากกว่าการนำสูตรมาแทนค่ากลับไปกลับมาเสียอีก บางคนไม่เข้าใจวิธีการคิดใน Mathematica จึงทำให้งานวิจัยลักษณะ Step by Step ดูด้อยคุณค่าไปเลย... สามารถดูวิธีการคำนวณแบบ Step by Step ในเรื่องอนุพันธ์ อินทิกรัล ฯลฯ ได้ที่ สารสนเทศในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เชิญคลิกเยี่ยมชม...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 06 มกราคม 2009, 12:14
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default

ผมใช้ Mathematica 7 ครับ
ขอบคุณ คุณชายน้อย มากนะครับ ทำให้ผมได้รู้อะไรหลาย ๆ อย่างมากขึ้นเลยครับ

06 มกราคม 2009 12:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Anonymous314
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 07 มกราคม 2009, 09:36
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็นได้ ผมอยากเห็นวิธีคิดของคุณชายน้อยว่าคิดแบบ Improper Integral คิดอย่างไรด้วยครับ

แนวคิดพวกนี้ผมเคยดูในหนังสือ Problem-solving Through Problems เกี่ยวกับ Abel's Limit theorem ส่วนวิธีคิดแบบที่ใส่ซิกมาสลับกับเครื่องหมายอินทิเกรตนี้ ถ้าจำไม่ผิด ผมจำมาจากวิธีคิดของคุณ warut นานมาแล้วครับ ซึ่งเมื่อผมลองเอาไปคิดขยายต่อและบันทึกลงในสมุดบันทึกของผม (ตอนนี้หาไม่เจอ) แล้วลองตรวจสอบโดยคอมพิวเตอร์ตอนนั้นไม่เจอที่ผิด คำถามนี้จึงทำให้ผมรู้ข้อบกพร่องเพิ่มขึ้น

อ้อ. เว็บ http://www.mathcalc.mju.ac.th/ ผมเข้าด้วย firefox ไม่ได้ครับ

Your Browser or Version or Screen Area was not correct.

ของอภัยโปรแกรมหรือรุ่นของโปรแกรมหรือขนาดของจอภาพของท่านไม่สอดคล้อง

Best Browser : Microsoft Internet Explorer

Best Screen Area : 800 X 600 Pixel or Higher

Best Version : 5.0 or Above

Best Opeating System : Windows 98 or Above

07 มกราคม 2009 09:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 07 มกราคม 2009, 12:17
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon View Post
ถ้าเป็นได้ ผมอยากเห็นวิธีคิดของคุณชายน้อยว่าคิดแบบ Improper Integral คิดอย่างไรด้วยครับ

แนวคิดพวกนี้ผมเคยดูในหนังสือ Problem-solving Through Problems เกี่ยวกับ Abel's Limit theorem ส่วนวิธีคิดแบบที่ใส่ซิกมาสลับกับเครื่องหมายอินทิเกรตนี้ ถ้าจำไม่ผิด ผมจำมาจากวิธีคิดของคุณ warut นานมาแล้วครับ ซึ่งเมื่อผมลองเอาไปคิดขยายต่อและบันทึกลงในสมุดบันทึกของผม (ตอนนี้หาไม่เจอ) แล้วลองตรวจสอบโดยคอมพิวเตอร์ตอนนั้นไม่เจอที่ผิด คำถามนี้จึงทำให้ผมรู้ข้อบกพร่องเพิ่มขึ้น

อ้อ. เว็บ http://www.mathcalc.mju.ac.th/ ผมเข้าด้วย firefox ไม่ได้ครับ

Your Browser or Version or Screen Area was not correct.

ของอภัยโปรแกรมหรือรุ่นของโปรแกรมหรือขนาดของจอภาพของท่านไม่สอดคล้อง

Best Browser : Microsoft Internet Explorer

Best Screen Area : 800 X 600 Pixel or Higher

Best Version : 5.0 or Above

Best Opeating System : Windows 98 or Above
ครับเข้าไม่ได้ครับ firefox แต่ IE เข้าได้ครับ
สงสัยยังไม่ Support firefox

เพราะคงต้องนั่งแก้นั่นแก้นี่มากมายครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:06


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha