Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 02 เมษายน 2015, 07:00
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default ตรรกศาสตร์ p --> q อาจเป็นเหตุผลความจริงเดียวกับ p <--> q

โดยหลักเหตุผลของ p ---> q นั้นหากเรากำหนดว่าเป็นค่าเหตุผลความจริงที่ถูกต้อง หมายความว่า

1. ถ้าเหตุเป็น p อย่างถูกต้อง (T) ---> ผลที่ตามมาเป็น q ที่ถูกต้อง (T) จะมีค่าเหตุผลความจริงอันถูกต้อง (T)

2. ถ้าเหตุเป็น p อย่างถูกต้อง (T) ---> ผลที่ตามมาไม่ได้เป็น q อย่างถูกต้อง (F) ก็จะมีค่าเหตุผลความจริงที่ผิดจากที่อ้างอิงในข้อ 1 จึงเป็น (F)

3. (ข้อนี้ซึ่งเป็นปัญหานำมาสู่การตั้งกระทู้นี้)

ถ้าเหตุไม่ได้เป็น p อย่างถูกต้อง (F) ---> ผลที่ตามมากลายเป็น q อย่างถูกต้อง (T) จะมีค่าเหตุผลความจริงตามที่เราเรียนกันมาคือ (T) ??????

ซึ่งแท้จริงแล้วอาจผิดอย่างชัดเจนครับ !!! เพราะตามหลักความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ถ้ามีเหตุอย่างถูกต้อง ย่อมมีผลเนื่องจากเหตุที่ถูกต้องตามมา ถ้าไม่มีเหตุที่ถูกต้อง ก็ย่อมไม่มีผลที่ถูกต้องตามมา ค่าเหตุผลความจริงของข้อนี้จึงควรเป็น F

4. ถ้าเหตุไม่ได้เป็น p อย่างถูกต้อง (F) ---> ผลที่ตามมาไม่ได้เป็น q อย่างถูกต้อง (F) จะมีค่าเหตุผลความจริงที่ถูกต้องคือเป็น (T) และเหตุผลของข้อนี้ก็คือที่อธิบายในข้อ 3 นั่นเอง

นอกจากนี้ยังพลอยส่งผลไปถึงประพจน์ต่างๆที่สมมูลกับ p ---> q เพราะเราอ้างอิงจากในข้อ 3 ที่ว่า F ---> T = T ซึ่งได้ประพจน์ที่สมมูลเช่น ~p v q กับ ~q ---> ~p แต่ถ้าพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลให้ดี ประพจน์สมมูลที่เราเรียนกันมาอาจไม่มีเหตุผลความจริงเดียวกับ p ---> q ก็เป็นได้ครับ

ทั้งนี้เสนอว่าประพจน์ที่สมมูลและมีเหตุผลความจริงเดียวกับ p ---> q นั้นคือ ~p ---> ~q ครับ (ซึ่งก็เป็นหลักเหตุผลเดียวกับที่อ้างในข้อ 4)

และในส่วนของ p <---> q นั้นก็อาจเป็นเหตุผลเดียวกับ p ---> q ก็เป็นได้ครับ ขอให้พิจารณาให้ดี และเสนอว่าควรยุบเป็นเรื่องเดียวกัน

ทั้งนี้ถ้าอธิบาย p <---> q ได้ว่า ฉันเขียนตัว q ก็ต่อเมื่อ ฉันเขียนตัว p (หรือฉันเขียนตัว p ก็ต่อเมื่อ ฉันเขียนตัว q)

โดยถ้าอธิบายตามหลัก p ---> q จะได้ว่า ถ้า ฉันเขียนตัว p ---> ฉันก็จะเขียนตัว q ตามมา

จะเห็นได้ว่า เหตุผลความจริงของทั้งคู่นั้น ไม่แตกต่างกัน !!

ฉัตรชัย http://www.vcharkarn.com/vcafe/218225
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 02 เมษายน 2015, 09:46
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ไปตั้งวิชาใหม่เรียนกันเป็นเรื่องเป็นราวเลยครับ แล้วลองดูว่าผลลัพธ์ที่ได้มันจะมีประโยชน์มั้ย

การตั้งกฎเกณฑ์ใหม่ไม่ผิดครับ เหมือนกับการสร้างโลกใหม่ขึ้นมาอีกโลกหนึ่ง

แต่สร้างขึ้นมาแล้วมีประโยชน์มั้ยอันนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 02 เมษายน 2015, 22:33
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ดีครับ ที่แสดงความคิดเห็น

แต่อยากให้ไปทบทวนที่เรียนมาให้ดี ๆ

p ---> q ที่นำเสนอนั้น เธอเข้าใจ ไม่ถูกต้อง

http://en.wikipedia.org/wiki/Truth_table

ที่ถูกต้อง คือ

P, Q เป็น 2 events แต่ละ event มีโอกาสเป็นได้ 2 กรณี คือ T, F

เมื่อเอา 2 events มา

binary logical operators
ได้ออกมา 16 events :ซึ่งแต่ละ event มี Truth_table

ดังที่เสนอใน http://en.wikipedia.org/wiki/Truth_table ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 02 เมษายน 2015, 22:36
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ขอบคุณที่ช่วยอธิบายเหตุผลครับ

ผมไปเข้าใจว่าตรรกศาสตร์ของ p--->q นั้นควรเป็นการชี้เหตุชี้ผลเช่นนั้นเช่นนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นคนละเรื่องกับหลัก Implication ที่เป็น 1 ใน 16 ของข้อเท็จจริงในทางตรรกศาสตร์

ก็จะพยายามเรียนรู้เหตุผลต่างๆต่อไปครับ และยังคงเก็บหลักเหตุผลตามที่ตัวเองวิเคราะห์ไว้อยู่ เพราะมันอาจเป็นหลักเหตุผลในทางคณิตศาสตร์ได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องนำไปใช้ในสถานการณ์และเงื่อนไขที่เหมาะสมของมัน

ฉัตรชัย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 02 เมษายน 2015, 22:40
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ขอยกตัวอย่างประกอบง่ายๆ ค่ะ

กำหนดให้

ฝนตก เป็นจริง

สนามกลางแจ้งเปียก เป็นจริง

กรณีที่ 1

ฝนตก (T)

สนามกลางแจ้งเปียก (T)

ดังนั้นข้อความ ถ้าฝนตกแล้วสนามกลางแจ้งเปียก (T)

กรณีที่ 2

ฝนไม่ตก (F)

สนามกลางแจ้งเปียก (T)

ดังนั้นข้อความ ถ้าฝนไม่ตกแล้วสนามกลางแจ้งเปียก (T)

ถึงแม้ฝนจะไม่ตก แต่ก็เป็นไปได้ที่สนามกลางแจ้งเปียกจากสาเหตุอื่น เช่น น้ำท่วม หรือมีการนำน้ำมารดสนาม

กรณีที่ 3

ฝนตก (T)

สนามกลางแจ้งไม่เปียก (F)

ดังนั้นข้อความ ถ้าฝนตกแล้วสนามกลางแจ้งไม่เปียก (F)

เพราะฝนตกสนามกลางแจ้งต้องเปียก

กรณีที่ 4

ฝนไม่ตก (F)

สนามกลางแจ้งไม่เปียก (F)

ดังนั้นข้อความ ถ้าฝนไม่ตกแล้วสนามกลางแจ้งไม่เปียก (T)

เหตุการณ์ที่ฝนไม่ตกและสนามกลางแจ้งไม่เปียก เป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปได้

ครูไผ่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:25


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha