Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 01 สิงหาคม 2012, 01:14
sahaete's Avatar
sahaete sahaete ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 122
sahaete is on a distinguished road
Send a message via ICQ to sahaete Send a message via AIM to sahaete Send a message via Yahoo to sahaete
Default โจทย์อนุกรม 2 ข้อ

ข้อ 1 จงหาค่าของ $\qquad \quad \sum\limits_{k= 1}^{2012} {\left( {\sin \dfrac{{2k\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{{2k\pi }}{{2013}}} \right)}$

ข้อ 2 ต้องบวกทั้งหมดกี่พจน์ จึงทำให้ $\qquad \dfrac{3}{{{1^2} \cdot {2^2}}} + \dfrac{5}{{{2^2} \cdot {3^2}}} + \dfrac{7}{{{3^2} \cdot {4^2}}} + ... = \dfrac{{624}}{{625}}$

01 สิงหาคม 2012 01:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ sahaete
เหตุผล: แก้ตรง sigma ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 01 สิงหาคม 2012, 01:50
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

1. ซิกมา i หรือ k ครับ
2. $\frac{2n+1}{n^2(n+1)^2}=\frac{1}{n^2}-\frac{1}{(n+1)^2}$
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends

01 สิงหาคม 2012 01:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ polsk133
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 01 สิงหาคม 2012, 01:59
sahaete's Avatar
sahaete sahaete ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 122
sahaete is on a distinguished road
Send a message via ICQ to sahaete Send a message via AIM to sahaete Send a message via Yahoo to sahaete
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
1. ซิกมา i หรือ k ครับ
2. $\frac{2n+1}{n^2(n+1)^2}=\frac{1}{n^2}-\frac{1}{(n+1)^2}$
ขอแก้เป็น k ครับ ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 01 สิงหาคม 2012, 02:19
cardinopolynomial's Avatar
cardinopolynomial cardinopolynomial ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มกราคม 2012
ข้อความ: 474
cardinopolynomial is on a distinguished road
Default

ข้อ 2. ตอบ 24 พจน์ครับ

จาก $\frac{3}{1^2*2^2}=\frac{3}{4}$

$\frac{3}{1^2*2^2}+\frac{5}{2^2*3^2}=\frac{8}{9}$

$\frac{3}{1^2*2^2}+\frac{5}{2^2*3^2}+\frac{7}{3^2*4^2}=\frac{15}{16}$

เราจะได้ว่าห่างกัน 5,7,9,11,.... ไปเรื่อยๆ

จาก 624=621+3

เเสดงว่า 5+7+9+...+x=621

$\frac{(x-3)(x+5)}{4}=621$

$x^2+2x-2499=0$

(x+51)(x-49)=0

x=49 เป็นผลต่างตัวสุดท้าย

จะได้ว่าผลต่าง 5,7,...,49 มีทั้งหมด 23 พจน์

เเต่เนื่องจากเเต่ต้องการจำนวนพจน์ที่บวกกันจึงมี 24 พจน์

ถ้าทำไม่เข้าใจก็ขออภัยด้วยน่ะครับ
__________________
"Végre nem butulok tovább" ("ในที่สุด ข้าพเจ้าก็ไม่เขลาลงอีกต่อไป")

01 สิงหาคม 2012 02:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ cardinopolynomial
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 01 สิงหาคม 2012, 08:39
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ sahaete View Post
ข้อ 2 ต้องบวกทั้งหมดกี่พจน์ จึงทำให้ $\qquad \dfrac{3}{{{1^2} \cdot {2^2}}} + \dfrac{5}{{{2^2} \cdot {3^2}}} + \dfrac{7}{{{3^2} \cdot {4^2}}} + ... = \dfrac{{624}}{{625}}$
$ \because \ \dfrac{3}{{{1^2} \cdot {2^2}}} = \dfrac{3}{1 \cdot 4} = \dfrac{1}{1} - \dfrac{1}{4}$

$ \because \ \dfrac{5}{{{2^2} \cdot {3^2}}} = \dfrac{5}{4 \cdot 9} = \dfrac{1}{4} - \dfrac{1}{9}$

$ \because \ \dfrac{7}{{{3^2} \cdot {4^2}}} = \dfrac{7}{9 \cdot 16} = \dfrac{1}{9} - \dfrac{1}{16}$
.
.
.
$ \because \ \dfrac{45}{{{24^2} \cdot {25^2}}} = \dfrac{45}{576 \cdot 625} = \dfrac{1}{576} - \dfrac{1}{625}$

จะได้ว่า
$\qquad \dfrac{3}{{{1^2} \cdot {2^2}}} + \dfrac{5}{{{2^2} \cdot {3^2}}} + \dfrac{7}{{{3^2} \cdot {4^2}}} + ...+ \dfrac{45}{{{24^2} \cdot {25^2}}}... = 1 - \dfrac{1}{625} = \dfrac{{624}}{{625}}$

ตอบ 24 พจน์
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 01 สิงหาคม 2012, 09:26
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ sahaete View Post
ข้อ 1 จงหาค่าของ $\qquad \quad \sum\limits_{k= 1}^{2012} {\left( {\sin \dfrac{{2k\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{{2k\pi }}{{2013}}} \right)}$
ให้ $\omega=\sin \dfrac{{2\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{2\pi }{2013}$

จะได้ว่า $(\omega^k)^{2013}=1$ ทุก $k=1,2,...,2013$

ดังนั้น $\omega,\omega^2,...,\omega^{2013}$ เป็นรากของพหุนาม $z^{2013}-1$

จากความสัมพันธ์ของรากและสัมประสิทธิ์พหุนามจะได้

$\omega+\omega^2+\cdots+\omega^{2013}=0$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

01 สิงหาคม 2012 17:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 01 สิงหาคม 2012, 13:27
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ข้อ 1 จงหาค่าของ $\qquad \quad \sum\limits_{k= 1}^{2012} {\left( {\sin \dfrac{{2k\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{{2k\pi }}{{2013}}} \right)}$


เวอร์ชั่นของผมน่าจะคล้ายๆของคุณNOOONUII ใช้ความรู้เรื่องของพิกัดเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน แต่ยาวและเยิ่นเย้อกว่าเยอะเลย

มาพิจารณา $\sin \frac{2\pi }{2013}+i\cos \frac{2\pi }{2013}$
$=\cos( \frac{\pi }{2} -\frac{2\pi }{2013})+i\sin(\frac{\pi }{2} - \frac{2\pi }{2013})$

ผมมองเป็นจำนวนเชิงซ้อนอีกสองจำนวนคือ
$i=\cos( \frac{\pi }{2})+i\sin(\frac{\pi }{2})$
กับ $1=\cos(2\pi)+i\sin(2\pi)$ ใช้เรื่องรากที่ 2013 จะได้ว่า
$1=\cos(\frac{2\pi+2m\pi }{2013})+i\sin(\frac{2\pi +2m\pi}{2013})$ เมื่อ $m\in \left\{\,0,1,2,...,2012\right\} $ เป็นคำตอบของสมการ $x^{2013}=1$
ให้ $m=0$ จะได้ว่า $1=\cos(\frac{2\pi}{2013})+i\sin(\frac{2\pi}{2013})$
จากเรื่องการหารของจำนวนเชิงซ้อนจะได้ว่า
$i=\cos( \frac{\pi }{2} -\frac{2\pi}{2013})+i\sin(\frac{\pi }{2} - \frac{2\pi}{2013})$

โจทย์ถาม $\qquad \quad \sum\limits_{k= 1}^{2012} {\left( {\sin \dfrac{{2k\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{{2k\pi }}{{2013}}} \right)}$
$=\qquad \quad \sum\limits_{k= 1}^{2012} {\cos (\frac{\pi }{2} -\frac{2\pi}{2013})k+ i\sin (\frac{\pi }{2} -\frac{2\pi}{2013})k}$

จากเรื่องการยกกำลังของจำนวนเชิงซ้อนจะได้ว่า เท่ากับ $i+i^2+i^3+...+i^{2011}+i^{2012}$
จาก $i+i^2+i^3+i^4=i+(-1)+(-i)+1=0$
ดังนั้นจะได้ว่า $i+i^2+i^3+...+i^{2011}+i^{2012}=0$

ไม่ได้ใช้เรื่องจำนวนเชิงซ้อนนานแล้ว ต้องไปขุดแบบเรียนคณิตศาสตร์ม.ปลายมาดู มึนๆเหมือนกัน
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

01 สิงหาคม 2012 13:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 01 สิงหาคม 2012, 14:40
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ให้ $\omega=\sin \dfrac{{2\pi }}{{2013}} + i\cos \dfrac{2\pi }{2013}$

จะได้ว่า $(\omega^k)^{2013}=1$ ทุก $k=1,2,...,1013$

ดังนั้น $\omega,\omega^2,...,\omega^{2013}$ เป็นรากของพหุนาม $z^{2013}-1$

จากความสัมพันธ์ของรากและสัมประสิทธิ์พหุนามจะได้

$\omega+\omega^2+\cdots+\omega^{2013}=0$

สวยงามมากครับ
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:33


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha