Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 03 พฤศจิกายน 2005, 16:01
ฝันบรรเจิด's Avatar
ฝันบรรเจิด ฝันบรรเจิด ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2005
ข้อความ: 32
ฝันบรรเจิด is on a distinguished road
Icon16 สูตรหาพื้นที่เมื่อรู้ทุกด้าน

ผมอยากทราบว่า เราจะสามารถหาสูตรเหล่านี้ได้ยังไงครับ

1) สูตรหาพื้นที่ 5 เหลี่ยมด้านไม่เท่า เมื่อ ทราบความยาว 5 ด้าน

2) สูตรหาพื้อนที่ 6 เหลี่ยมด้านไม่เท่า เมื่อ ทราบความยาว 6 ด้าน

.
.
.
n) สูตรหาพื้อนที่ n เหลี่ยมด้านไม่เท่า เมื่อ ทราบความยาว n ด้าน

ใครทราบช่วยบอกหน่อยนะครับ ..^^
__________________
ปลายกระบี่อยู่ที่ใจ หากใช้แค่เศษเสี้ยวไม้ไผ่ ท้านสิบแสนเพลงดาบ ก็ไร้เทียมทาน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 03 พฤศจิกายน 2005, 21:31
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb

ไม่มีสูตรที่ว่าครับ เพราะรู้แค่ความยาวด้านทั้งหมด ยังไม่เพียงพอที่จะกำหนดรูปร่างของรูปหลายเหลี่ยมนั้นได้ ไม่ต้องจินตนาการไปไกลถึงรูปห้าเหลี่ยม แม้กระทั่งทราบความยาวด้านทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยม ก็ยังไม่สามารถหาพื้นที่ได้เลย

หากน้องเคยต่อชั้นวางของที่เป็นโครงเหล็กหลายชิ้นมาประกอบกัน และไขน็อตหลวมๆ จะพบว่าหากเราออกแรงดัน ชั้นวางของจะโยกเยกไปมามีรูปร่างและพื้นที่ไม่คงที่ได้ ทั้งๆที่ความยาวของแต่ละด้านคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ดังนั้นก่อนจะคิดไปถึงการหาพื้นที่ ต้องแน่ใจก่อนว่ารูปหลายเหลี่ยมนั้น มีหนึ่งเดียวหรือ มีพื้นที่คงที่จริงๆ โดยอาจต้องกำหนดสมบัติอื่นเพิ่มเติมเช่น เป็นสี่เหลี่ยมแนบในวงกลม (วงกลมผ่านจุดมุมทั้งสี่ของสี่เหลี่ยมได้) ก็จะได้สูตรพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมแนบในวงกลมของ Brahmagupta คือ
\[\begin{array}{rcl} \text{พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมแนบในวงกลม} & = & \sqrt{(s-a)(s-b)(s-c)(s-d)} \\ \text{โดย}\ s & = & \frac{a+b+c+d}{2} \end{array}\]
สูตรพื้นที่รูปสามเหลี่ยมของ Heron ก็เป็นสูตรกรณีพิเศษของ สูตรพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมแนบในวงกลมของ Brahmagupta เพราะสามเหลี่ยมทุกรูปมีวงกลมล้อมรอบได้เสมอ โดยกำหนดให้ด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมมีความยาวเป็น \(0\) เช่นกำหนดให้ \(d = 0\) ก็จะได้สูตรพื้นที่รูปสามเหลี่ยมของ Heron คือ
\[\begin{array}{rcl} \text{พื้นที่รูปสามเหลี่ยม} & = & \sqrt{s(s-a)(s-b)(s-c)} \\ \text{โดย}\ s & = & \frac{a+b+c}{2} \end{array}\]
ปัญหาที่น่าสนใจลงไปศึกษาจึงเป็น
  • ทำไมเงื่อนไข "เป็นสี่เหลี่ยมแนบในวงกลม" จึงทำให้พื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นคงที่ได้ เมื่อทราบความยาวด้านทั้งสี่
  • ด้วยเงื่อนไขในลักษณะเดียวกันนี้ จะทำให้ รูปห้าเหลี่ยมแนบในวงกลม มีพื้นที่คงที่ เมื่อทราบความยาวด้านทั้งห้า เช่นเดียวกันหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้จริง จะมีสูตรพื้นที่รูปห้าเหลี่ยมดังกล่าวเป็นอะไร
  • อันนี้เป็นคำถามแถมครับ ทบทวนความทรงจำ ไม่รู้ว่าหลายคนจะยังจำได้ไหมว่า ทำไมรูปสามเหลี่ยมใดๆ ที่มีความยาวฐานเท่ากัน และมีความสูงเท่ากัน จึงมีพื้นที่เท่ากันทุกรูป คำถามนี้ถามถึงที่มาของสูตรพื้นที่รูปสามเหลี่ยมนั่นเอง
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

03 พฤศจิกายน 2005 21:39 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 04 พฤศจิกายน 2005, 21:32
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Thumbs up

อืม. มองว่า d = 0 จาก 4 ไป 3 นี่ไม่เคยมองมาก่อนเหมือนกัน !!! ว้าว ...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 04 พฤศจิกายน 2005, 23:30
jojo's Avatar
jojo jojo ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤษภาคม 2005
ข้อความ: 56
jojo is on a distinguished road
Post

เยี่ยมมากครับ ผมไม่เคยนึกข้อนี้มาก่อนเลย ขอบคุณมาก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 พฤศจิกายน 2005, 20:01
prasonk prasonk ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 พฤศจิกายน 2005
ข้อความ: 1
prasonk is on a distinguished road
Angry

ขอบคุณมากเลยผมมองข้ามเรื่องนี้มานาน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:34


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha