Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 08 มกราคม 2013, 16:31
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default โจทย์จำนวนเชิงซ้อน

1. สำหรับจำนวนเชิงซ้อน $z=a+bi$ และ $w=c+di$ ใดๆ
นิยาม $z\ast w = ac-bdi$
กำหนดให้ $z=\sqrt{2}-2i$ ถ้า $w$ เ็ป็นตัวผกผันของ $z$ ภายใต้โอเปอเรชัน $\ast$
แล้ว ${|\overline{w}|^2}+|z|^2$ มีค่าเ่ท่าใด

08 มกราคม 2013 17:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ truetaems
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 08 มกราคม 2013, 18:28
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default

ข้อนี้ผมทำไม่ได้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 08 มกราคม 2013, 19:21
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default

โจทย์ข้อนี้ที่ผมทำไม่ได้ ตรงโจทย์ที่บอกว่า "w เ็ป็นตัวผกผันของ z ภายใต้โอเปอเรชัน *" อันนี้หมายถึงอะไรครับ
ตอนแรกผมจะให้ w = 1/z แต่กลับไปทวนโจทย์ก็ยังงงอยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 08 มกราคม 2013, 20:49
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Lightbulb

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ truetaems View Post
1. สำหรับจำนวนเชิงซ้อน $z=a+bi$ และ $w=c+di$ ใดๆ
นิยาม $z\ast w = ac-bdi$
กำหนดให้ $z=\sqrt{2}-2i$ ถ้า $w$ เ็ป็นตัวผกผันของ $z$ ภายใต้โอเปอเรชัน $\ast$
แล้ว ${|\overline{w}|^2}+|z|^2$ มีค่าเ่ท่าใด
ถ้า a และ b เป็นตัวผกผัน(อินเวอร์ส) ซึ่งกันและกัน หมายความว่า a * b = I = b * a (เป็นนิยาม)

เมื่อ I เป็นเอกลักษณ์ของโอเปเรชันนั้น ๆ ครับ

(ต้องกลับไปทบทวนนิยาม เรื่องเอกลักษณ์ กับอินเวอร์ส ในเรื่องจำนวนจริงก่อนครับ)

http://www.mathcenter.net/review/rev...iew02p01.shtml
(ดูตัวอย่างด้านล่าง หน้าที่ 1 กับ หน้าที่ 2)

นั่นคือในที่นี้ก่อนที่จะหาอินเวอร์สของจำนวนใด ๆ จะต้องหาเอกลักษณ์ภายใต้โอเปอเรชัน ออกมาเสียก่อนครับ

จากนั้นเมื่อได้เอกลักษณ์ของระบบ จึงจะหาอินเวอร์สหรือตัวผกผันของจำนวนใด ๆ ในระบบนั้นได้

ที่คุณแฟร์ทำออกมานั้น ยังไม่ใช่ครับ เพราะยังไม่ได้หาเอกลักษณ์ของระบบภายใต้โอเปอเรชัน * ออกมาก่อน

หมายเหตุ โจทย์ข้อนี้เป็นข้อสอบ Ent' กข. ปี พ.ศ.2533 ครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 08 มกราคม 2013, 22:07
lnพwsะบุ๑sสุ๑xล่o's Avatar
lnพwsะบุ๑sสุ๑xล่o lnพwsะบุ๑sสุ๑xล่o ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 ตุลาคม 2012
ข้อความ: 782
lnพwsะบุ๑sสุ๑xล่o is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ truetaems View Post
1. สำหรับจำนวนเชิงซ้อน $z=a+bi$ และ $w=c+di$ ใดๆ
นิยาม $z\ast w = ac-bdi$
กำหนดให้ $z=\sqrt{2}-2i$ ถ้า $w$ เ็ป็นตัวผกผันของ $z$ ภายใต้โอเปอเรชัน $\ast$
แล้ว ${|\overline{w}|^2}+|z|^2$ มีค่าเ่ท่าใด
$ w=c+di $

ให้ e=x+yi เป็นเอกลักษณ์ของโอเปอเรชัน $\ast$

$z \ast e= \sqrt{2}x+2yi=\sqrt{2}-2i$

ดังนั้น x=1 y=-1 จะได้ e=1-i

$w$ เป็นตัวผกผันของ $z$ ภายใต้โอเปอเรชัน $\ast$ แล้ว

$z \ast w=e=\sqrt{2}c+2di=1-i$

ได้ $c=\frac{1}{\sqrt{2}} $ $ d=-\frac{1}{2} $

$w=\frac{1}{\sqrt{2}} -\frac{1}{2} i$

$\left|\,w\right| =\left|\,\bar w\right| =\sqrt{ (\frac{1}{\sqrt{2}} )^2+(\frac{1}{2} )^2}$

$\left|\,\bar w\right|^2=\frac{3}{4} $

$\left|\, z\right|^2=6$

$\left|\,\bar w\right|^2+\left|\,z\right|^2=6.75$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 08 มกราคม 2013, 22:28
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default

ทำได้แล้วครับ ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 11 มกราคม 2013, 21:30
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default โจทย์จำนวนเชิงซ้อน

โจทย์ข้อนี้ถูกนำไปเป็นข้อสอบกลางภาคที่โรงเรียนด้วยครับ
ให้ $\alpha$ เป็นรากที่สามของ $9+4\sqrt{5}$ และ $\beta$ เป็นรากที่สามของ $9-4\sqrt{5}$ ถ้า $\alpha +\beta$ และ $\alpha\beta$ เป็นจำนวนจริงแล้ว จงหาค่า$\alpha +\beta$ และ $\alpha\beta$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 11 มกราคม 2013, 21:55
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

ข้อนี้คิดเป็นโจทย์จำนวนจริงจะง่ายกว่านะ
พิจารณา
$\alpha^3\beta^3=1$

แต่ $\alpha\beta\in\mathbb{R}$ จะได้ $\alpha\beta=1$

พิจารณา
$\alpha^3+\beta^3=18$
$(\alpha+\beta)((\alpha+\beta)^2-3\alpha\beta)=18$
$(\alpha+\beta)^3-3(\alpha+\beta)-18=0$

แต่ $\alpha+\beta\in\mathbb{R}$ จะได้ $\alpha+\beta=3$
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 12 มกราคม 2013, 22:26
truetaems truetaems ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 121
truetaems is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:14


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha