Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 พฤษภาคม 2007, 23:13
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default ปัญหาจำนวนเฉพาะ

ตามที่เรารู้ๆ กันว่า มีการค้นหารูปแบบของจำนวนเฉพาะมานาน
1.มีคนเคยบอกว่า ตอนนี้มีคนพิสูจน์ได้แล้วว่าจำนวนเฉพาะไม่อยู่ในรูปแบบ พหุนาม จริงไหมครับ พิสูจน์ได้นานยังครับ
2.และยังได้ยินมาว่า จำนวนเฉพาะไม่อยู่ในรูปแบบ expo ด้วย จริงไหมครับ พิสูจน์ได้นานยังครับ

3.นั่งสังเกต แล้วมีข้อคาดการณ์อันหนึ่งเกิดขึ้น ไม่รู้ว่ามีคนคิดยัง (ถ้ามีแล้วช่วยบอกด้วยนะครับ)
$p_1=2,p_2=3,...$ เป็นจำนวนเฉพาะตามลำดับ
แล้ว $p_{\bar i}+p_i$ เป็นจำนวนเฉพาะ เมื่อ $p_{\bar i}=p_1.p_2.p_3...p_{i-1}.p_{i+1}...p_n$ สำหรับทุกจำนวนนับ $n>1$
4.คาดว่า
$1+p_1.p_2.p_3...p_n$ เป็นจำนวนเฉพาะ สำหรับทุกจำนวนนับ $n>1$

ปล.มีลิงค์ไปยังบทความ ก็แนบมาให้ดูด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
__________________
คาราวะ

27 พฤษภาคม 2007 23:21 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ expol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 พฤษภาคม 2007, 09:18
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

วันที่ 15 ธ.ค.เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ลำดับที่ 7 ที่อยู่ในห้องแล็บแผนกวิชาการสื่อสารปรากฎจำนวนเฉพาะที่มีความยาว 9,152,052 ตำแหน่ง ซึ่งเลขนั้นก็คือ $2^{30,402,457}$ -1 นับเป็นเลขเฉพาะแมร์กแซน (Mersenne) $M_{30402457}$ ลำดับที่ 43 ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมา ซึ่งเข้าใกล้ความจริงที่จะได้รับรางวัลมูลค่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ จากมูลนิธิอิเล็กทรอนิกส์ฟรอนเทียร์ (Electronic Frontier Foundation) หากใครก็ตามสามารถค้นพบจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดที่มีความยาวถึง 10 ล้านตำแหน่งได้คนแรก
__________________
คาราวะ

28 พฤษภาคม 2007 09:19 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ expol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 28 พฤษภาคม 2007, 17:40
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ expol View Post
1.มีคนเคยบอกว่า ตอนนี้มีคนพิสูจน์ได้แล้วว่าจำนวนเฉพาะไม่อยู่ในรูปแบบ พหุนาม จริงไหมครับ พิสูจน์ได้นานยังครับ
นานแล้วครับ ลองอ่านรายละเอียดได้ที่ Prime formulas and polynomial functions

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ expol View Post
2.และยังได้ยินมาว่า จำนวนเฉพาะไม่อยู่ในรูปแบบ expo ด้วย จริงไหมครับ พิสูจน์ได้นานยังครับ
แบบ expo นี่เป็นแบบไหนครับ ใช่ $\left\lfloor A^{3^n}\right\rfloor $ หรือไม่ ถ้าใช่ก็อ่านรายละเอียดได้จากลิงก์้ด้านบน

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ expol View Post
3.นั่งสังเกต แล้วมีข้อคาดการณ์อันหนึ่งเกิดขึ้น ไม่รู้ว่ามีคนคิดยัง (ถ้ามีแล้วช่วยบอกด้วยนะครับ)
$p_1=2,p_2=3,...$ เป็นจำนวนเฉพาะตามลำดับ
แล้ว $p_{\bar i}+p_i$ เป็นจำนวนเฉพาะ เมื่อ $p_{\bar i}=p_1.p_2.p_3...p_{i-1}.p_{i+1}...p_n$ สำหรับทุกจำนวนนับ $n>1$
ไม่จริงครับ ตัวอย่างเช่น
$2 + 3 \times 5 \times 7 \times 11 = 1157 = 13 \times 89$
$3 + 2 \times 5 \times 7 \times 11 \times 13 = 10013 = 17 \times 19 \times 31$

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ expol View Post
4.คาดว่า $1+p_1.p_2.p_3...p_n$ เป็นจำนวนเฉพาะ สำหรับทุกจำนวนนับ $n>1$
ไม่จริงครับ ตัวอย่างเช่น
$1 + 2 \times 3 \times 5 \times 7 \times 11 \times 13 = 30031 = 59 \times 509$
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 28 พฤษภาคม 2007, 18:40
คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กันยายน 2006
ข้อความ: 441
คณิตศาสตร์ is an unknown quantity at this point
Default

2^ค่าของเลขจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุด - 1 = จำนวนเฉพาะมั๊ยมีวิธีตรวจสอบอย่างไร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 28 พฤษภาคม 2007, 22:08
Timestopper_STG's Avatar
Timestopper_STG Timestopper_STG ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2006
ข้อความ: 256
Timestopper_STG is on a distinguished road
Send a message via MSN to Timestopper_STG
Default

ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราไม่มีจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับเลยทำไม่ได้
__________________
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x-b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
BUT
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x+b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\frac{\pi ab}{a^{2}+b^{2}}+\frac{a^{2}-b^{2}}{a^{2}+b^{2}}\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 28 พฤษภาคม 2007, 23:37
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากครับ ถ้ามีอะไรใหม่ๆ เด๋วรบกวนถามอีกนะครับ
__________________
คาราวะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 29 พฤษภาคม 2007, 15:12
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

4.มีจำนวนเฉพาะ $p^*$ ที่เขียนในรูปแบบ $P^*=1+2p$ บางจำนวนเฉพาะ p หรือไม่
5.มี $p^*$ เป็นจำนวนอนันต์หรือไม่
6.มีจำนวนเฉพาะ $P^{**}$ ที่เขียนในรูปแบบ $P^{**}=1+2pq$ บางจำนวนเฉพาะ p,q หรือไม่
7.มี $p^{**}$ เป็นจำนวนอนันต์หรือไม่
__________________
คาราวะ

29 พฤษภาคม 2007 15:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ expol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 29 พฤษภาคม 2007, 16:33
kanakon's Avatar
kanakon kanakon ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 523
kanakon is on a distinguished road
Default

ข้อ 4,6 แสดงโดยเลือกจำนวนเฉพาะบางจำนวนที่สอดคล้อง
ข้อ 5,7 ประยุกต์วิธีของยูคลิดจะได้มีเป็นจำนวนอนันต์(ไม่แน่ใจ)
__________________
ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ

$$|I-U|\rightarrow \infty $$

29 พฤษภาคม 2007 19:10 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ kanakon
เหตุผล: ผิดข้อ 5,7
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 29 พฤษภาคม 2007, 18:21
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

ประยุกต์ยังไงครับ ช่วยขยายหน่อยครับผม
__________________
คาราวะ

29 พฤษภาคม 2007 18:22 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ expol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 29 พฤษภาคม 2007, 19:08
kanakon's Avatar
kanakon kanakon ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 523
kanakon is on a distinguished road
Default

ผมต้องขอโทษคุณ expol ที่ผมไม่สามารถพิสูจน์ได้

เนื่องจากความสะเพร่าในการอ่านโจทย์

หากทำได้จะรีบแก้ไขในทันที

รบกวนพี่ๆช่วยพิสูจน์ด้วยนะครับ

แก้ไข

คิดว่าได้นะครับ
ข้อ 6

สมมุติว่ามีจำนวนเฉพาะในรูป $2p+1$ เป็นจำนวนจำกัด ให้ $p_1,p_2,p_3,...p_n$ เป็นจำนวนเฉพาะที่เขียนในรูป $2p+1$ เรียงจากน้อยไปหามากและ $p_n$ มีค่ามากสุด

ให้ $S=2p_1,p_2,p_3,..p_n-1=2(p_1,p_2,p_3,...p_n-1)+1$

จะได้ $S>1,S>p_n$ ดังนั้น $S$ เป็นจำนวนประกอบ

จากทฤษฎีบทหาก $S$ เป็นจำนวนประกอบแล้วจะมีจำนวนเฉพาะ $p$ ซึ่ง $p|S$

จะมี ${p_i}\in \left\{p_1,p_2,p_3,...,p_n\,\right\} $ และ ${i}\in \left\{1,2,3,...,n\,\right\}$

ซึ่ง $p_i|S$ ดังนั้น $p_i|2p_1,p_2,p_3,...,p_n$ และ และ $p_i|1$ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

สรุปได้ว่า มีจำนวนเฉพาะในรูป $2p+1$ เป็นจำวนวนอนันต์

ปล. ข้อ 7 ทำคล้ายๆกันได้ครับ
__________________
ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ

$$|I-U|\rightarrow \infty $$

29 พฤษภาคม 2007 19:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ kanakon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 30 พฤษภาคม 2007, 10:16
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanakon View Post
ให้ $S=2p_1,p_2,p_3,..p_n-1=2(p_1,p_2,p_3,...p_n-1)+1$
เหมือนว่าเราจะสร้างจำนวน $S$ ขึ้นมา และพยายามพิสูจน์ว่า $S$ เป็นจำนวนเฉพาะตัวใหม่ แต่ $p = p_1 p_2 p_3 \cdots p_n - 1$ ไม่แน่ว่าจะเป็นจำนวนเฉพาะเสมอไป ดังนั้น $S$ ที่ได้จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูป $2p + 1$ ทำให้ไม่อาจสรุปถึงการมีอยู่เป็นจำนวนอนันต์ ของจำนวนเฉพาะในรูป $2p + 1$ ได้

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanakon View Post
จากทฤษฎีบทหาก $S$ เป็นจำนวนประกอบแล้วจะมีจำนวนเฉพาะ $p$ ซึ่ง $p|S$

จะมี ${p_i}\in \left\{p_1,p_2,p_3,...,p_n\,\right\} $ และ ${i}\in \left\{1,2,3,...,n\,\right\}$

ซึ่ง $p_i|S$ ดังนั้น $p_i|2p_1,p_2,p_3,...,p_n$ และ และ $p_i|1$ ซึ่งเป็นไปไม่ได้

สรุปได้ว่า มีจำนวนเฉพาะในรูป $2p+1$ เป็นจำวนวนอนันต์
จำนวนเฉพาะทุกตัว ไม่จำเป็นต้องเขียนได้ในรูปของ $2p + 1$ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะมีจำนวนเฉพาะ $p_x$ ซึ่ง
$p_x < S$ และ $p_x \not\in \left\{p_1 , p_2 , p_3 , \ldots , p_n\right\} $ และ $p_x \mid S$
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 30 พฤษภาคม 2007, 11:28
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

แล้วจะเป็นยังไงต่อ น้อ
น้องเค้าอาจ จะพิสูจน์เลียนแบบ การพิสูจน์ว่า"เซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดเป็นเซตอนันต์" มั้งครับ
พิสูจน์ สมมติว่าเซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดเป็นเซตจำกัด เขียนแทนเซตนี้ด้วย ${p_1,p_2,...,p_n}$
ให้ $m=1+p_1.p_2...p_n$
โดยทฤษฎีบทการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ จะได้ว่า
มีจำนวนเฉพาะ $p$ ซึ่งหาร $m$ ลงตัว
ถ้ามี $i\in {1,2,...,n}$ ซึ่ง $p=p_i$ จะได้ว่า $p\left|\,\right. p_1.p_2...p_n$
ดังนั้น $p\left|\,\right. m-p_1.p_2...p_n$ นั้นคือ $p\left|\,\right. 1$ ซึ่งขัดแย้งกับนิยามของจำนวนเฉพาะ
ดังนั้น $p\not\in {p_1,p_2,...,p_n}$ ซึ่งขัดแย้งกับข้อสมมติฐานของการพิสูจน์
ดังนั้น เซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดเป็นเซตอนันต์


ปล. ผมว่าน้องอาจจะสมมติผิดตั้งแต่แรกเลยมั้งครับ ที่บอกว่า
สมมุติว่ามีจำนวนเฉพาะในรูป 2p+1 เป็นจำนวนจำกัด
ให้ $p_1,p_2,p_3,...p_n$ เป็นจำนวนเฉพาะที่เขียนในรูป 2p+1 เรียงจากน้อยไปหามากและ $p_n$ มีค่ามากสุด

จากทฤษฎีบทหาก S เป็นจำนวนประกอบแล้วจะมีจำนวนเฉพาะ p ซึ่ง p∣S

จะมี $p_i∈{p_1,p_2,p_3,...,p_n}$ และ $i∈{1,2,3,...,n} $ *****อันนี้อ่าครับผิด****
เพราะ $p_i $ อาจจะไม่ได้อยู่ในเซตนี้ ตามที่พี่ TOP บอกอ่าครับ
เช่น $p = 7$ จะได้ $2p+1=15$ ซึ่งอาจจะเป็น p ตัวนั้ก้ได้ ที่หาร S น้องลงตัวนะครับ ...
__________________
คาราวะ

30 พฤษภาคม 2007 11:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ expol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 30 พฤษภาคม 2007, 21:12
kanakon's Avatar
kanakon kanakon ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 523
kanakon is on a distinguished road
Default

ผมต้องขอบคุณพี่ๆ มากเลยครับ

การพิสูจน์ผมดัดแปลงจาก

ทฤษฏีบทที่ 4.1.8 ในหนังสือทฤษฎีจำนวน ของ สอวน. หน้า 78 ครับ

เพราะจากการพิจารณา(ด้วยตัวเอง)มันรูปแบบคล้ายๆกัน
__________________
ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ

$$|I-U|\rightarrow \infty $$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 07 มิถุนายน 2007, 18:41
expol's Avatar
expol expol ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 มกราคม 2006
ข้อความ: 36
expol is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ expol View Post
4.มีจำนวนเฉพาะ $p^*$ ที่เขียนในรูปแบบ $P^*=1+2p$ บางจำนวนเฉพาะ p หรือไม่
5.มี $p^*$ เป็นจำนวนอนันต์หรือไม่
6.มีจำนวนเฉพาะ $P^{**}$ ที่เขียนในรูปแบบ $P^{**}=1+2pq$ บางจำนวนเฉพาะ p,q หรือไม่
7.มี $p^{**}$ เป็นจำนวนอนันต์หรือไม่
***ใครมีวิธีเจ๋งๆๆ ช่วยด้วยนะครับ*** รอวิธีที่ถูกครับผม.
__________________
คาราวะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 08 มิถุนายน 2007, 08:04
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

คุณ Warut หายไปซะแล้ว ไม่งั้นคงช่วยให้ความกระจ่างได้ครับ ผมเองก็ได้แต่นั่งดูเขาคุยกันครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 22:41


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha