Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 07 กันยายน 2010, 20:59
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default ช่วยพิสูจน์ทฤษฎีจำนวนหน่อยครับ

3 หาร n(n+1)(n+2) ลงตัว

ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 07 กันยายน 2010, 21:02
-Math-Sci- -Math-Sci- ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มกราคม 2010
ข้อความ: 724
-Math-Sci- is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek2554 View Post
3 หาร n(n+1)(n+2) ลงตัว

ขอบคุณครับ
จำนวนเต็ม 3 จำนวนเรียงกัน ย่อม หาร ด้วย 3 ลงตัว

proof . ให้ n = x-1 n+1 = x n+2 = x+1

$n+n+1+n+2 = x-1+x+x+1 = 3x$

3|3x
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 08 กันยายน 2010, 02:00
sahaete's Avatar
sahaete sahaete ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 122
sahaete is on a distinguished road
Send a message via ICQ to sahaete Send a message via AIM to sahaete Send a message via Yahoo to sahaete
Default

ขอใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์
ให้ \[P\left( n \right)\] แทน ข้อความ \[3|n\left( {n + 1} \right)\left( {n + 2} \right)\]
1. n=1 จะได้ \[3|1\left( 2 \right)\left( 3 \right)\] เป็นจริง สรุป
\[P\left( 1 \right)\] เป็นจริง
2. ให้ \[P\left( k \right)\] แทนข้อความ \[3|k\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\] เป็นจริง
ต้องพิสูจน์ \[P\left( {k + 1} \right)\] เป็นจริง
จาก
\[\begin{array}{l}
\left( {k + 1} \right)\left( {k + 1 + 1} \right)\left( {k + 1 + 2} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\left( {k + 3} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k + \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3
\end{array}\]

เนื่องจาก \[3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3\]
ดังนั้น \[3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k\]

สรุปว่า \[p\left( {k + 1} \right)\] เป็นจริง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 08 กันยายน 2010, 08:36
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ sahaete View Post
ขอใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์
ให้ \[P\left( n \right)\] แทน ข้อความ \[3|n\left( {n + 1} \right)\left( {n + 2} \right)\]
1. n=1 จะได้ \[3|1\left( 2 \right)\left( 3 \right)\] เป็นจริง สรุป
\[P\left( 1 \right)\] เป็นจริง
2. ให้ \[P\left( k \right)\] แทนข้อความ \[3|k\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\] เป็นจริง
ต้องพิสูจน์ \[P\left( {k + 1} \right)\] เป็นจริง
จาก
\[\begin{array}{l}
\left( {k + 1} \right)\left( {k + 1 + 1} \right)\left( {k + 1 + 2} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\left( {k + 3} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k + \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3
\end{array}\]

เนื่องจาก \[3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3\]
ดังนั้น \[3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k\]

สรุปว่า \[p\left( {k + 1} \right)\] เป็นจริง

อ่า ... ตรงสีแดงไม่เข้าใจครับ

รบกวนอีกครั้งครับ
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 08 กันยายน 2010, 13:45
Onasdi's Avatar
Onasdi Onasdi ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2005
ข้อความ: 760
Onasdi is on a distinguished road
Default

อาจจะเขียนผิดครับ ต้องเป็น

เนื่องจาก $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3$ และ $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k$ (สมมติฐานการอุปนัย)
จึงได้ $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\left( {k + 3} \right)$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 08 กันยายน 2010, 15:01
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ sahaete View Post
ขอใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์
ให้ \[P\left( n \right)\] แทน ข้อความ \[3|n\left( {n + 1} \right)\left( {n + 2} \right)\]
1. n=1 จะได้ \[3|1\left( 2 \right)\left( 3 \right)\] เป็นจริง สรุป
\[P\left( 1 \right)\] เป็นจริง
2. ให้ \[P\left( k \right)\] แทนข้อความ \[3|k\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\] เป็นจริง
ต้องพิสูจน์ \[P\left( {k + 1} \right)\] เป็นจริง
จาก
\[\begin{array}{l}
\left( {k + 1} \right)\left( {k + 1 + 1} \right)\left( {k + 1 + 2} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\left( {k + 3} \right)\\
= \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k + \left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3
\end{array}\]

เนื่องจาก $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)3$

และ $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)k$ (สมมติฐานการอุปนัย p(n) ข้างต้น)

จึงได้ $3|\left( {k + 1} \right)\left( {k + 2} \right)\left( {k + 3} \right)$


สรุปว่า \[3|n\left( {n + 1} \right)\left( {n + 2} \right)\] เป็นจริง

เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ


แล้วพิสูจน์แบบคุณ-Math-Sci- ใช้ได้ไหมครับ (ถ้าเขาบอกให้พิสูจน์เฉลยๆ)
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 08 กันยายน 2010, 15:32
Onasdi's Avatar
Onasdi Onasdi ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2005
ข้อความ: 760
Onasdi is on a distinguished road
Default

เหมือนว่าคุณ -Math-Sci- กำลังพิสูจน์ข้อความที่ว่า "ผลบวกของจำนวนเรียงกันสามจำนวนหารด้วย 3 ลงตัวเสมอ"

ส่วนถ้าเป็นผลคูณ เราอาจจะลองสังเกตดูว่า ในสามจำนวนที่เรียงกัน
ตัวนึงจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 0
อีกตัวนึงจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 1
ตัวที่เหลือจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 2
อย่างแน่นอนครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 08 กันยายน 2010, 16:37
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Onasdi View Post
เหมือนว่าคุณ -Math-Sci- กำลังพิสูจน์ข้อความที่ว่า "ผลบวกของจำนวนเรียงกันสามจำนวนหารด้วย 3 ลงตัวเสมอ"

ส่วนถ้าเป็นผลคูณ เราอาจจะลองสังเกตดูว่า ในสามจำนวนที่เรียงกัน
ตัวนึงจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 0
อีกตัวนึงจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 1
ตัวที่เหลือจะหารด้วย 3 เหลือเศษ 2
อย่างแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ

จำนวนเต็มสามจำนวนเรียงกัน ย่อมมีหนึ่งจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัวเสมอ
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 08 กันยายน 2010, 22:30
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ขอบคุณทุก ๆ คน มากครับ ที่ช่วยตอบให้
แต่ถ้าไม่ใช้ maths induction คิดว่าจะพอมีทางพิสูจน์ได้ไหม๊ครับ (ม.ปลาย ยังไม่ได้เรียน maths induction)

หมายเหตุ คุณ-Math-Sci- พิสูจน์ 3 หารผลบวกของจำนวนสามจำนวนที่เรียงติดกันลงตัวเสมอ ครับ แต่ก็ขอบคุณครับ ได้โจทย์เพิ่มอีก 1 ข้อ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 08 กันยายน 2010, 22:39
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

#9
จำนวนเต็มแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 3k,3k+1,3k+2

แล้วลองแยกกรณีดูครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 08 กันยายน 2010, 23:04
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากเลยครับ ผมไปแบ่งเป็น 2n กับ 2n+1 เลยไปไม่รอด
ได้ความรู้เพิ่มมากเลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 09 กันยายน 2010, 07:35
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ผมลองใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุปนัยดู เพิ่งคิดได้เช้านี้ตอนขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน
เราลองกระจาย$n(n+1)(n+2)=(n^2+n)(n+2)=n^3+3n^2+2n$....มีพจน์เดียวที่มี 3เป็นตัวประกอบ คือหารลงตัวคือ$3n^2$ เราก็เหลือแค่พิสูจน์ว่า$n^3+2n$หารด้วย3ลงตัว
จากที่เราเคยเรียนเรื่องการหาร เราจะเขียนว่า$a=bx+r$ว่าหมายถึง เราเขียนจำนวนเต็มใดๆซึ่งคือ$a$ในรูปของ$B$ ตามรูปแบบข้างต้นได้โดยที่$0 \leqslant r<b$ ดังนั้นเราเขียน$n$ในรูปของการหารด้วย3ได้ว่า$n=3a+r$โดยที่$a=0,1,2,...$ และ$0 \leqslant r<3$ ซึ่ง $r=0,1,2$ จากนั้นเอาไปแทนใน$n^3+2n$ จะได้ว่า
$n^3+2n=n(n^2+2)\rightarrow (3a+r)((3a+r)^2+2)=(3a+r)(9a^2+6ar+r^2+2)$
พจน์ที่3หารลงตัวแน่ๆคือ$9a^2+6ar$ จึงไปมองที่ผลคูณของ$(3a+r)(r^2+2)$
$(3a+r)(r^2+2)=3ar^2+6a+r^3+2r$ จะเห็นว่า$3ar^2+6a$หารด้วย3ลงตัว จึงเหลือแค่การดูว่า$r^3+2r$จะหารด้วย3ลงตัวหรือไม่ เรารู้อยู่แล้วว่า$r=0,1,2$ก็แทนค่าดู....ถ้ามองแบบข้ามช็อต เราเห็นเลยว่าใน$(3a+r)(r^2+2)$มีพจน์ที่ไม่มี3เป็นตัวประกอบนั้นเกิดจากการคูณระหว่าง$r$ กับ $r^2+2$
$r=0\rightarrow r^3+2r=0$
$r=1\rightarrow r^3+2r=1+2=3$
$r=2\rightarrow r^3+2r=8+4=12$....ซึ่งทั้งสามค่านั้น 3หารลงตัว
เราจึงสรุปได้ว่า3หาร$n(n+1)(n+2)$ลงตัว
จริงๆจะลองแทน$n=3a+r$ ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ใน$n(n+1)(n+2)$ แต่ผมขี้เกียจ กระจายแล้วพจน์มันรกๆ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

09 กันยายน 2010 09:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 09 กันยายน 2010, 15:16
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ
แต่ผมว่าแยกกรณีตามที่คุณ Lightlucifer แนะนำจะช่วยให้การอธิบายง่ายกว่า คือ
ถ้าพิจารณา n โดยการหารด้วย 3 จะแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 $n=3k$ เมื่อ k เป็นจำนวนเต็มใด ๆ จะได้
$n(n+1)(n+2)=3k(3k+1)(3k+2)\therefore 3\mid n(n+1)(n+2)$
กรณีที่ 2 $n=3k+1$ เมื่อ k เป็นจำนวนเต็มใด ๆ จะได้
$n(n+1)(n+2)=(3k+1)(3k+2)(3k+3)=3(3k+1)(3k+2)(k+1)\therefore 3\mid n(n+1)(n+2)$
กรณีที่ 3 $n=3k+2$ เมื่อ k เป็นจำนวนเต็มใด ๆ จะได้
$n(n+1)(n+2)=(3k+2)(3k+3)(3k+4)=3(3k+2)(k+1)(3k+4)\therefore 3\mid n(n+1)(n+2)$
ดังนั้น$3\mid n(n+1)(n+2)$สำหรับทุกจำนวนเต็มใดๆ

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความคิดเห็นนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 08:39


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha