Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #76  
Old 10 มกราคม 2007, 19:56
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
ปล. แสดงว่า ข้อ1 -3 แสดงแค่ว่า จำนวน Sierpinski มีอยู่เป็นอนันต์ เท่านั้น ใช่ไหมครับ
ใช่ครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
แล้วถ้าจะแสดง ว่า h ที่เป็นจำนวนประกอบ มีอยูเป็นอนันต์ ก็ใช้ อะไรต่อครับ
ถ้า $d$ เป็น common difference (ผลต่างร่วม) ของ A.P. และ $p$ เป็นจำนวนเฉพาะที่หาร $d$ ไม่ลงตัว ทุกๆ $p$ เทอมในลำดับนั้นจะต้องมีอยู่ตัวนึงที่หารด้วย $p$ ลงตัว นั่นคือในเซต $$\{a+nd, a+(n+1)d, a+(n+2)d, \dots, a+(n+p-1)d\}$$ จะต้องมีอยู่ตัวนึงที่หารด้วย $p$ ลงตัว ทั้งนี้เพราะเซตนี้เป็น complete residue system modulo $p$ ครับ ถ้าไม่เข้าใจยังไง ลองไปทบทวนเรื่องนี้ในตำราดูนะครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
ถ้าจะแสดงว่า h ที่เป็นจำนวนเฉพาะ มีอยู่เป็นอนันต์ เราจะใช้ Dirichlet's Theorem on primes in Arithmetic Progressions ใช่ไหมครับ
ใช่ครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
แล้วลำดับที่ได้เป็น จำวน Sierpinski ทั้งหมดแล้วเหรอครับ
ก็อย่างที่คุยกันไปแล้วไงว่าไม่ใช่ครับ เพราะมันจะมีจำนวนคู่ปนอยู่ด้วยตัวเว้นตัว ถ้าจะตัดปัญหาเรื่องนี้ก็อัดเงื่อนไข $h\equiv1\pmod2$ เพิ่มลงไปเสียเลยก็ได้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #77  
Old 10 มกราคม 2007, 21:01
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ขอบคุณครับ
พี่ครับผมเห็นโจทย์ที่พี่เคยตั้งไว้ในอีกกระทู้ พูดถึง convering set ผมต้องมีความรู้เรื่องนี้ไหมครับ
เช่น การแสดงว่า 78557.$2^n$+1 เป้นจำนวนประกอบ สำหรับทุกจำนวนนับ n
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #78  
Old 11 มกราคม 2007, 00:58
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ต้องครับ แต่ไม่ยากหรอก ก็ทำคล้ายๆกับที่คุณ nongtum ทำโจทย์ของผมนั่นล่ะ

อย่าง Sierpinski numbers ทุกตัวที่ได้จากการพิสูจน์ของเรานั้นก็จะมี covering set เป็น $$\{F_0, F_1, F_2, F_3, F_4, 641, F_5/641\}$$ ไงครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #79  
Old 29 มกราคม 2007, 20:13
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ดีครับพี่ โทดทีครับหายไปซะนาน ไปสอบที่จุฬา มาครับ โคตรยาก อายมาก5555++ แต่ก็ฟรุ๊ค ติดจนได้ มขติดตั้ง 4คนอ่า แต่เพื่อนอีก 2คนเอา คณนา โดนอาจารสัมภาษจะร้องไห้ แบ่งเป็น 2ห้อง ห้อง Analys กะ ห้องAlg เอาข้อสอบที่เราสอบไปมาถาม 5555 ผมทำไม่ได้เยอะมาก
มี Prin = 37/70 cal=17.5/30 alnalys=4.5/35 alg=4/35 linear=20/35 ครับ
.....เด๋วมีคำถามอีกเยอะเลยครับ เกี่ยวกับโปรเจค...ต้องเสนอวันที่ 3 อีกที เมื่อวันก่อนไม่ได้เสนอ อาจารบอกว่าพวกที่จะไปสอบต่อโท ไม่ต้องเสนอรอเป็นวันที่ 3ครับก็เลยรอดตัว แฮ่ๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #80  
Old 29 มกราคม 2007, 20:25
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

1.)การแสดงว่า 78557.$2^n+1$ เปHนจำนวนประกอบ สำหรับทุกจำนวนนับ n
convering set คืออะไรเหรอครับพี่ หรือจะเป็น {$F_0$,$F_1$,$F_3$,$F_4$,641,$F_5$/641} ครับ
2.)การแสดงว่า $2^n$-777149 เป็นจำนวนประกอบ
ทำไมคุณ nongtum รู้อ่าครับว่า convering set คือ {3,5,7,13,19,37,73} ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #81  
Old 29 มกราคม 2007, 20:53
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Icon15

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
1.)covering set คืออะไรเหรอครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Covering_set
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
2.)การแสดงว่า $2^n$-777149 เป็นจำนวนประกอบ ทำไมคุณ nongtum รู้อ่าครับว่า convering set คือ {3,5,7,13,19,37,73} ครับ
ตอนผมทำข้อนี้ ผมใช้ mathematica รันค่ามาหลายๆค่า แล้วสังเกตตัวประกอบครับ

ในกรณีของคุณ shinn ผมลองรันดูแล้วก็ไม่น่าจะยากครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #82  
Old 30 มกราคม 2007, 01:31
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ขอบคุณคุณ nongtum ที่ช่วยตอบครับ และขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งว่าที่นิสิต ป.โท จุฬาฯ ของน้อง shinn ด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #83  
Old 30 มกราคม 2007, 18:11
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

นอกจากบอกว่าใช้ mathematica รันค่ามาหลายๆค่า แล้วสังเกตตัวประกอบ มีวิธีอื่นไหมครับ
อย่างเช่น ผมอยากรู้ว่า convering set ของ78557.$2^n$+1 คืออะไร และจะมีวิธีหาอย่างไงครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #84  
Old 30 มกราคม 2007, 20:20
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

1. ค้นหาข้อมูลจาก Internet ถ้ามีคนใจดีเอา link มาป้อนให้ถึงที่ ก็ควรตามไปอ่าน ถ้ายังไม่เจอ ก็ตาม link ในเพจนั้นไปดูต่อครับ
2. ใช้คอมพ์แบบที่คุณ nongtum ใช้ ไม่จำเป็นต้องเป็น Mathematica ก็ได้ครับ
3. ถ้ายังไม่ได้ทำข้อ 1. และข้อ 2. ก็ขอให้ลองกลับไปทำดูก่อนนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #85  
Old 01 กุมภาพันธ์ 2007, 16:33
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ผมหาค่า a ได้แล้วอ่าครับ a = 10,340,920,497,641,728,921 ครับ

แต่หา covering set ไม่เป็นครับบบบ

เด๋วผมแปะ โปรเจอคให้พี่ช่วยดูนะครับ


ปล.ผมติดจุฬาฯ แล้วนะครับ แฮ่ๆๆๆ อายๆๆๆ ขอบคุณพี่ warut ด้วยนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #86  
Old 01 กุมภาพันธ์ 2007, 22:43
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ยินดีด้วยอีกครั้งครับ

ค่า $a$ ที่คุณ shinn กล่าวถึงคืออะไร ผมไม่เข้าใจครับ แต่เอาเหอะ... เห็นเวลามันงวดมากแล้ว ผมบอกให้เลยละกันว่า covering set ของ $78557\cdot2^n+1$ มีเขียนไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้วที่

http://en.wikipedia.org/wiki/Sierpinski_number
http://primes.utm.edu/glossary/page....erpinskiNumber

คุณ shinn ต้องพยายามหัดค้นข้อมูลหน่อยนะครับ ยุคนี้สบายที่สุดแล้วมี Internet ให้ใช้ และผมเดาว่าที่เค้าให้เราทำโปรเจค อย่างนึงก็เพื่อให้เราฝึกค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเองเป็นน่ะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #87  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2007, 12:29
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

1. covering set ของจำนวนนับ ทั่วๆไป มีไหมคับ
สมมติว่า เรามีจำนวนขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนเต็มใดๆ เช่น 100 เราจะหา covering set ได้ไหมครับ
ใช่เซตของจำนวนเฉพาะที่หาร 100 ลงตัวไหมครับ
2. นิยาม covering set สำหรับจำนวน Sierpinski คือ
ให้ $S$= {${p_1,p_2,p_3,...,p_s}$} เป็นเซตของจำนวนเฉพาะ และ$P$= ผลคูณของจำนวนเฉพาะในเซต $S$ .ให้ $e_i$ เป็นอันดับ 2 มอดุโล $p_i$ และ $e_s=lcm(e_1,e_2,...,e_s)$.
ถ้า มีจำนวนเฉพาะในเซต $S$ หาร $k.2^n+1$ ลงตัว สำหรับทุกจำนวนนับ $n$ และถ้าสำหรับทุกจำนวนเฉพาะ $p_i$ ของเซต $S$ จะมี$n_i$อย่างน้อยหนึ่ง ที่ไม่มีจำนวนเฉพาะในเซต $S$ หาร $k.2^n+1$ลงตัว ( 0n< $e_s$ ) แล้ว $S$ เรียกว่า covering set สำหรับจำนวน Sierpinski $k$.และ $e_s$ เรียกว่า order ของ $S$.
ถูกไหมครับพี่
และ $e_i$ เป็นอันดับ 2 มอดุโล $p_i$ มันคืออะไรครับผม ใช่หมายถึง $(e_i)^2$ 0 (mod$p_i$) หรือป่าวครับ
3.มีคนพิสูจน์ แบบนี้หรือยังครับ หมายถึงมีเปเปอร์ที่ใช้เทคนิคข้อ 1-3 หรือไม่ครับ มันเป็นเทคนิคที่อาจารย์ไม่เคยเห็นครับ หรือไม่ก็มีพิสูจน์จำนวนอะไรที่ใช้เทคนิคแบบนี้ไหมครับ
4.ถ้ามี เปเปอร์ ช่วยบอกชื่อเรื่องหน่อยนะครับ

04 กุมภาพันธ์ 2007 12:34 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ shinn
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #88  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2007, 14:57
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
1. covering set ของจำนวนนับ ทั่วๆไป มีไหมคับ
สมมติว่า เรามีจำนวนขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนเต็มใดๆ เช่น 100 เราจะหา covering set ได้ไหมครับ
ใช่เซตของจำนวนเฉพาะที่หาร 100 ลงตัวไหมครับ
ปกติเราใช้คำว่า "covering set" กับเซตอนันต์ครับ มีอยู่ finite ตัวมันก็ไม่ยากที่จะหา covering set อย่างเช่นถ้าจะ cover 100 ใช้ 2 ตัวเดียวก็เอาอยู่แล้วครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
2. นิยาม covering set สำหรับจำนวน Sierpinski คือ
ให้ $S$= {${p_1,p_2,p_3,...,p_s}$} เป็นเซตของจำนวนเฉพาะ และ$P$= ผลคูณของจำนวนเฉพาะในเซต $S$ .ให้ $e_i$ เป็นอันดับ 2 มอดุโล $p_i$ และ $e_s=lcm(e_1,e_2,...,e_s)$.
ถ้า มีจำนวนเฉพาะในเซต $S$ หาร $k.2^n+1$ ลงตัว สำหรับทุกจำนวนนับ $n$ และถ้าสำหรับทุกจำนวนเฉพาะ $p_i$ ของเซต $S$ จะมี$n_i$อย่างน้อยหนึ่ง ที่ไม่มีจำนวนเฉพาะในเซต $S$ หาร $k.2^n+1$ลงตัว ( 0n< $e_s$ ) แล้ว $S$ เรียกว่า covering set สำหรับจำนวน Sierpinski $k$.และ $e_s$ เรียกว่า order ของ $S$.
ถูกไหมครับพี่
และ $e_i$ เป็นอันดับ 2 มอดุโล $p_i$ มันคืออะไรครับผม ใช่หมายถึง $(e_i)^2$ 0 (mod$p_i$) หรือป่าวครับ
ไม่เคยเห็นนิยามแบบที่ว่ามา (และอ่านไม่เข้าใจด้วยครับ) แต่นิยามที่เขียนจากความเข้าใจของตัวผมเอง เป็นแบบง่ายๆดังนี้ครับ

เราจะเรียกเซต $S$ ว่าเป็น "covering set" ของเซต $\{k\cdot2^n+1\mid n\in\mathbb N\}$ (นั่นคือ จำนวนที่อยู่ในรูป $k\cdot2^n+1$) เมื่อ $k$ เป็นจำนวนเต็มบวกค่าหนึ่ง ก็ต่อเมื่อ $S=\{p_1,p_2,\dots,p_s\}$ เป็นเซตของจำนวนเฉพาะ และสำหรับทุกจำนวนเต็มบวก $n$ จะมี $p\in S$ ที่ $p$ เป็น proper divisor (ตัวประกอบแท้?) ของ $k\cdot2^n+1$

อ่านที่นี่ประกอบด้วยนะครับ

ส่วนประโยคที่ว่า "$e_i$ เป็นอันดับ 2 มอดุโล $p_i$" น่าจะหมายถึง "$e_i$ is the order of $2$ modulo $p_i$" ซึ่งก็คือ $e_i$ เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดที่ทำให้ $2^{e_i}\equiv1\pmod{p_i}$ น่ะครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
3.มีคนพิสูจน์ แบบนี้หรือยังครับ หมายถึงมีเปเปอร์ที่ใช้เทคนิคข้อ 1-3 หรือไม่ครับ มันเป็นเทคนิคที่อาจารย์ไม่เคยเห็นครับ หรือไม่ก็มีพิสูจน์จำนวนอะไรที่ใช้เทคนิคแบบนี้ไหมครับ
ก็ Sierpinski นี่แหละครับที่ใช้เป็นคนแรก การพิสูจน์ว่ามี Riesel numbers อยู่เป็นอนันต์ก็ใช้เทคนิคนี้ได้ครับ (จริงๆทำต่ออีกนิดเดียวก็ได้แล้ว)
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
4.ถ้ามี เปเปอร์ ช่วยบอกชื่อเรื่องหน่อยนะครับ
MR0117201 ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #89  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2007, 17:25
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

1.ถ้าให้จำนวน Sierpinski มาซักตัวหนึ่ง เช่น 78557 แล้วให้หา covering set จะหาได้ยังไงครับ โดยไม่ใช้ mathematica
2. ทำไมพี่รู้ว่า covering set ของจำนวน Sierpinski ที่หาได้ในข้อ 3 เป็นเซตของ {$F_0,F_1,F_2,F_3,F_4,641,F_5/641$}
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #90  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2007, 17:28
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

3. สรุปแล้ว ข้อ 1-3 มีคนพิสูจน์มาก่อนแล้วใช่ไหมครับ
และผมคิดเพิ่มแค่ จำนวนเฉพาะ Sierpinski มีเป็นจำนวนอนันต์ โดยใช้ Dirichlet's Theorem on primes in Arithmetic Progressions .ใช่ไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 23: Number Theory once more warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 17 28 ธันวาคม 2011 20:38
ช่วยคิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 0 08 กันยายน 2006 18:22
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 5: From Number Theory Marathon warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 9 17 มกราคม 2006 18:47
ปัญหา Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 4 16 พฤศจิกายน 2005 20:30
ขอลองตั้งคำถามบ้างครับ (Number theory) Nay ทฤษฎีจำนวน 3 15 พฤษภาคม 2005 13:40


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:51


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha