Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 14 กุมภาพันธ์ 2006, 18:21
-_-??'s Avatar
-_-?? -_-?? ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 5
-_-?? is on a distinguished road
Post ปัญหาเกี่ยวกับโอกาสครับ

ปัญหาที่ผมต้องการพิสูจน์ คือ "ถ้าเรามีสิ่งของอยู่ X สิ่ง ในจำนวนนี้มีของที่ต้องการ Y สิ่ง เลือกของมาทีละชิ้น โดยไม่ใส่คืน ค่าเฉลี่ยในการเลือกจนกระทั่งเจอของที่เราต้องการเป็นเท่าไหร่"

ผมอยากได้วิธีพิสูจน์ที่เข้าใจง่าย โดยไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูงน่ะครับ

ขอทีละขั้นนะครับ ผมเป็นคนเข้าใจอะไรยาก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 15 กุมภาพันธ์ 2006, 07:45
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมหาค่าเฉลี่ยที่ต้องการได้เท่ากับ $$\large y\sum_{n=1}^{x-y+1} \frac{ {x-y \choose n-1} }{ {x \choose n} }$$ ไม่แน่ใจนะครับว่าถูกต้อง และถึงถูกก็ไม่แน่ใจว่า simplify ต่อได้หรือเปล่า รอดูคำตอบจากคนอื่นๆด้วยละกันนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 15 กุมภาพันธ์ 2006, 18:17
-_-??'s Avatar
-_-?? -_-?? ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 5
-_-?? is on a distinguished road
Post

ช่วยอธิบายแนวคิดหน่อยได้ไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 15 กุมภาพันธ์ 2006, 23:31
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

ก็แบ่งลูกบอลเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ต้องการกับกลุ่มที่ไม่ต้องการ ดังนี้
$$\underbrace{Q\ Q\ \cdots\ Q}_{\text{$y\;$ตัว}}\ \ \underbrace{O\ O\ \cdots\ O}_{\text{$x-y\;$ตัว}}$$
(ให้ที่ต้องการเป็น Q ไม่ต้องการเป็น O นะครับ)
เลือกมาจนกระทั่งเจอลูกที่ต้องการ

สมมติว่าเลือก n ครั้ง คือครั้งที่ n หยิบได้ลูกที่ต้องการ และครั้งที่ 1 ถึง n-1 ก็จะหยิบได้ลูกที่ไม่ต้องการ
ซึ่งจะได้ n = 1 , 2 ,3 , ... x - y +1
(กรณีสุดท้าย คือหยิบได้ลูกที่ไม่ต้องการ ทุกลูกเลย แล้วค่อยหยิบได้ลูกที่ต้องการ)
ซึ่งจำนวนวิธีที่หยิบ n-1 ครั้ง ได้ลูกที่ไม่ต้องการหมดเลย คือ
$$\LARGE P_{x-y\ ,\ n-1}$$
และ ครั้งที่ n ได้ลูกที่ต้องการ ซึ่งมีทั้งหมด y ลูก จะได้วิธีในการหยิบคือ
$$\LARGE y(P_{x-y\ ,\ n-1})$$
โดยที่วิธีการหยิบทั้งหมด (ในกรณีหยิบ n ครั้ง) คือ
$$\LARGE P_{x\ ,\ n}$$

นั่นคือ โอกาส ในการหยิบ n ครั้งคือ
$$\LARGE \frac{ y(P_{x-y\ ,\ n-1})}{P_{x\ ,\ n}}$$

ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้นล่ะครับ ว่า n เป็นได้ตั้งแต่ 1 , 2 ,3 , ... x - y +1
นั่นคือเอาทุกกรณีมารวมกัน ได้
$$\Large \frac{ y(P_{x-y\ ,\ 0})}{P_{x\ ,\ 1}}+\frac{ y(P_{x-y\ ,\ 1})}{P_{x\ ,\ 2}}+ \cdots +\frac{ y(P_{x-y\ ,\ n-1})}{P_{x\ ,\ n}}$$
$$\Large =\ \sum_{n=1}^{x-y+1} \frac{ y(P_{x-y\ ,\ n-1})}{P_{x\ ,\ n}}$$
$$\Large =\ y\sum_{n=1}^{x-y+1} \frac{ P_{x-y\ ,\ n-1}}{P_{x\ ,\ n}}$$

ปล..ถึง พี่ warut ครับ ผมว่า ควรจะใช้ $\ P_{n,r}\ $ มากกว่า $\ C_{n,r}\ $ นะครับ เพราะหยิบมาทีละลูกๆ ม่ได้นำมาจัดหมู่ครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 16 กุมภาพันธ์ 2006, 02:32
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ที่เราต้องการหาคือค่าเฉลี่ยครับ ถ้าจับมาบวกกันเฉยๆอย่างที่น้อง R-Tummykung de Lamar ทำ มันจะเป็นผลรวมของโอกาสทั้งหมด ซึ่งก็คือ 1 นั่นเอง
$$\large y\sum_{n=1}^{x-y+1} \frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n}}=1$$
แต่ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งในการหยิบให้ได้ลูกที่ต้องการ จะต้องเป็น
$$\sum_{n=1}^{x-y+1}nP(n)$$
เมื่อ $P(n)$ คือโอกาสที่จะต้องหยิบ $n$ ครั้งถึงจะได้ลูกที่ต้องการ และเราจะพบว่า
$$\large \sum_{n=1}^{x-y+1}nP(n) = y\sum_{n=1}^{x-y+1} n\frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n}}= y\sum_{n=1}^{x-y+1} \frac{ {x-y \choose n-1} }{ {x \choose n} }$$
ครับ ยังไงก็ตาม combinatorial argument ของน้อง R-Tummykung de Lamar แจ่มมากครับ ที่ผมทำยุ่งยากกว่านี้เยอะ เสร็จแล้วค่อยใช้ algebra มา simplify อีกทีจึงได้เป็นสูตรอย่างที่เห็น โดยที่ผมไม่เข้าใจความหมายจริงๆในเชิง combinatorics ของมันหรอกครับ

แต่ที่น่าสนใจที่สุดน่าจะเป็นอันนี้ครับ คือผมเพิ่งใช้คอมพ์หาค่าเฉลี่ยตามสูตรที่ได้ ทำให้สังเกตเห็นว่า
$$\large y\sum_{n=1}^{x-y+1} n\frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n}} = \frac{x+1}{y+1}$$
แต่ยังไม่ได้ลองพิสูจน์ครับ ใครที่ว่างหรือมีความรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางด้าน combinatorics ช่วยดูให้หน่อยนะครับ

ป.ล. ผมควรจะสังเกตเห็นได้เร็วกว่านี้มาก ถ้าผมให้คอมพ์คิดเป็นแบบ exact ไม่ใช่ numerical มาตั้งแต่ต้น

16 กุมภาพันธ์ 2006 08:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 16 กุมภาพันธ์ 2006, 08:01
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Lightbulb

เย่ คิดออกแล้ว

จาก
$$\large y \frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n}} = \frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n-1}} - \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n}} $$
ดังนั้น
$$\large y\sum_{n=1}^{x-y+1} n\frac{P_{x-y, n-1}}{P_{x, n}} = \sum_{n=0}^{x-y} \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n}} $$
และจาก
$$\large \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n}} = \frac{1}{y+1} \left( \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n-1}} - \frac{P_{x-y, n+1}}{P_{x, n}} \right) $$
เราจึงได้ว่า
$$\large \sum_{n=0}^{x-y} \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n}} = \frac{x+1}{y+1} $$
ตามต้องการครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 21 กุมภาพันธ์ 2006, 14:09
-_-??'s Avatar
-_-?? -_-?? ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 5
-_-?? is on a distinguished road
Post

รบกวนคุณ warut หรือผู้มีความรู้ ช่วยอธิบายช่วง 2 บรรทัดสุดท้ายให้หน่อยครับ
คือ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 21 กุมภาพันธ์ 2006, 21:29
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

$$\large \sum_{n=0}^{x-y} \frac{P_{x-y,n}}{P_{x,n}} = \frac{P_{x-y,0}}{P_{x,0}} + \left( \sum_{n=1}^{x-y-1} \frac{P_{x-y,n}}{P_{x,n}} \right)+ \frac{P_{x-y,x-y}}{P_{x,x-y}} $$
$$\large = 1+ \frac{1}{y+1} \left( \sum_{n=1}^{x-y-1} \frac{P_{x-y,n}}{P_{x,n-1}} - \frac{P_{x-y,n+1}}{P_{x,n}} \right) +\frac{(x-y)!y!}{x!} $$
$$\large =1+ \frac{1}{y+1} \left( \frac{P_{x-y,1}}{P_{x,0}} - \frac{P_{x-y,x-y}}{P_{x,x-y-1}} \right) +\frac{(x-y)!y!}{x!} $$
$$\large = 1+ \frac{1}{y+1} \left( (x-y)- \frac{(x-y)!(y+1)!}{x!} \right) +\frac{(x-y)!y!}{x!} $$
$$\large = 1+ \frac{x-y}{y+1} = \frac{x+1}{y+1} $$

21 กุมภาพันธ์ 2006 22:11 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2006, 15:42
-_-??'s Avatar
-_-?? -_-?? ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 5
-_-?? is on a distinguished road
Post

ที่ผมสงสัย คือที่มาของสมการ
$$\large \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n}} = \frac{1}{y+1} \left( \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n-1}} - \frac{P_{x-y, n+1}}{P_{x, n}} \right) $$
นี้น่ะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2006, 18:49
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

$$\large \frac{1}{y+1} \left( \frac{P_{x-y, n}}{P_{x, n-1}} - \frac{P_{x-y, n+1}}{P_{x, n}} \right) $$
$$\large = \frac{1}{y+1} \left( \frac{(x-y)!(x-n+1)!}{(x-y-n)!x!} - \frac{(x-y)!(x-n)!}{(x-y-n-1)!x!} \right)$$
$$\large = \frac{(x-y)!(x-n)!}{(y+1)(x-y-n-1)!x!} \left( \frac{(x-n+1)}{(x-y-n)} - 1 \right)$$
$$\large = \frac{(x-y)!(x-n)!}{(y+1)(x-y-n-1)!x!} \left( \frac{y+1}{x-y-n} \right)$$
$$\large = \frac{(x-y)!(x-n)!}{(x-y-n)!x!} = \frac{P_{x-y,n}}{P_{x,n}}$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 23 กุมภาพันธ์ 2006, 18:07
-_-??'s Avatar
-_-?? -_-?? ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 5
-_-?? is on a distinguished road
Thumbs up

ขอบคุณสำหรับคำตอบและคำอธิบายครับ

ขออนุญาตนำบทพิสูจน์ของคุณวรุตม์ไปใช้อ้างอิงได้หรือเปล่าครับ

23 กุมภาพันธ์ 2006 18:10 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -_-??
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 23 กุมภาพันธ์ 2006, 18:44
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ได้เลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 14:45


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha