Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 11 กรกฎาคม 2004, 07:18
tana's Avatar
tana tana ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 145
tana is on a distinguished road
Post combinatorics

combinatorics นี่หมายความว่าอะไรเหรอครับ ( ขอแบบชัดเจนหน่อยน่ะครับ ) แล้วหัวข้อในตัวมันมีเรื่องอะไรบ้างอ่ะครับ ( แบบครอบคลุมเลยนะครับ ) แล้วมันเป็นวิชาหนึ่งเลย หรือ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชาอะไรรึเปล่าครับ
__________________
" จุดสูงสุด คือ เบื้องล่างที่ผ่านมา จุดสูงค่า คือ สิ่งใดหนอชีวี "
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 11 กรกฎาคม 2004, 11:43
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon21

พี่ก็ไม่รู้หรอกครับ. ว่าจริง ๆ หมายความว่าอย่างไร เคยเขียนไว้ในหน้าแรกของ http://www.mathcenter.net/sermpra/se...pra08p01.shtml ลองอ่านดู
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 11 กรกฎาคม 2004, 16:31
tana's Avatar
tana tana ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 145
tana is on a distinguished road
Post

ถ้าเป็นตามที่พี่เขียนไว้ อย่างนี้ combinatorics กับ discrete mathematics ก็เป็นวิชาเดียวกันสิครับ เหมือนอย่างในหนังสือภิณทนคณิตศาสตร์ ของ อ.สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล
__________________
" จุดสูงสุด คือ เบื้องล่างที่ผ่านมา จุดสูงค่า คือ สิ่งใดหนอชีวี "
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 11 กรกฎาคม 2004, 17:28
<DividedByZero>
 
ข้อความ: n/a
Post

combinatorics ไม่ใช่ mathematics ครับ
เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

combinatorics จะเกี่ยวกับการนับครับ ซึ่งมักจะเป็น discrete math
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแค่จำนวนเต็มนะครับ
ลองสังเกตดูได้ว่าเราไม่พบว่าความน่าจะเป็นที่มีค่าเป็นอตรรกยะเลย
อะไรประมาณนั้นอะครับ
(แต่ถ้าเป็นบางทฤษฎีก็เกี่ยวข้องนัครับ แบบว่าบอกไม่ถูก เพราะ math ก็ไม่ได้แยกกันอย่างชัดเจน ยังคงต้องพึ่งพากันอยู่ครับ)

ลองดูราบละเอียดที่นี่ได้ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Combinatorics http://mathworld.wolfram.com/Combinatorics.html

แนะนำเวป wikipedia.com หรือ mathworld.wolfram.com
ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เบื้องต้นครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 11 กรกฎาคม 2004, 18:28
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

โอว..... เพิ่งเข้าใจที่พี่ gon เขียนหลังจากได้เรียน Difference Equation
555 แต่มีเรื่องที่จะถามคือ
1.ทำไมต้องสมมติ xn
แล้วเวลาเราแก้สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัว
2.ทำไมต้องสมมติ y=emx ด้วยล่ะครับ
เห็นอาจารย์บอกว่ามันคือ ไอเกนฟังก์ชัน ขอเชิญผู้รู้ ช่วยขยายความหน่อยคับ
3.เรามีวิธีแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นที่มีสัมประสิทธิ์เป็นตัวแปร โดยไม่ใช้ series solution รึเปล่าคับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

11 กรกฎาคม 2004 18:36 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ M@gpie
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 12 กรกฎาคม 2004, 03:12
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Post

1) ทำไมต้องสมมติ xn ?
วิธีแก้ความสัมพันธ์เวียนบังเกิดจริงๆ คงต้องเริ่มศึกษาจากฟังก์ชันก่อกำเนิด (Generating Function) ซึ่งพี่ก็ไม่ได้ศึกษามากนัก แต่จะยกตัวอย่างสั้นๆ กรณีนำมาใช้แก้ความสัมพันธ์ที่เป็นลำดับฟิโบนักชีให้ดูอีกครั้ง (เคยกล่าวถึงวิธีนี้แล้ว ในบทความเรื่อง อนุกรมอนันต์)

เราจะสมมติว่ามีฟังก์ชัน F(x) = a0 + a1x + a2x2 +a3x3 + a4x4 + ... ภายใต้เงื่อนไขหนึ่ง
โดยที่ a0, a1, a2, a3, a4, ... , an, ... ตรงกับลำดับที่ทำให้ ความสัมพันธ์เวียนบังเกิดเป็นจริง
เนื่องจากลำดับฟิโบนักชี มีความสัมพันธ์เวียนบังเกิดคือ an = an-1 + an-2 โดย a0 = 1, a1 = 1
และหากสัมประสิทธิ์ของ F(x) เป็นลำดับที่ทำให้ ความสัมพันธ์เวียนบังเกิดนี้เป็นจริง จะได้ว่า
F(x) = x*F(x) + x2*F(x) + 1
ลองสังเกตดูนะครับว่า การคูณ F(x) ด้วย xn ทำให้สัมประสิทธิ์ของ x กำลังใดๆเลื่อนลำดับขึ้นไป n ลำดับ ด้วยเหตุนี้ที่ค่า x กำลังเดียวกัน สัมประสิทธิ์ของ xn*F(x) จึงเทียบเท่ากับสัมประสิทธิ์ ย้อนหลังไป n ค่าของ F(x)
นอกจากนี้เราต้องบวกค่า 1 เพื่อให้สัมประสิทธิ์ของ x0 ถูกต้อง
ดังนั้นจะได้ F(x) = 1
1 - x - x2
= 1
(1 - Ax) (1 - Bx)
= 1
5



A
1 - Ax
- B
1 - Bx




โดย A = 1 + 5
2
, B = 1 - 5
2

และเนื่องจาก 1
1 - cx
= 1 + cx + c2x2 + c3x3 + ... โดย |cx| < 1

เราจึงเขียน F(x) แบบแจกแจงสัมประสิทธิ์ได้อย่างง่ายๆคือ
F(x) =
S
n = 0
1
5


An+1 - Bn+1

xn


และค่าสัมประสิทธิ์ของ xn ใดๆ ก็คือลำดับฟิโบนักชีตัวที่ n นั่นเอง

ลองนำวิธีนี้ไปใช้กับ ความสัมพันธ์เวียนบังเกิดเอกพันธุ์เชิงเส้น ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงที่ จะพบว่า สุดท้ายแล้ว F(x) จะเขียนได้ในรูปเศษส่วนย่อยเสมอ จึงได้ผลเฉลย an อยู่ในรูปผลรวมเชิงเส้นของ rn ต่างๆเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การหาค่า r ทั้งหมดโดยง่าย คือให้เราแทนค่า an = rn แล้วแก้สมการหา r ทั้งหมดออกมา ตามวิธีที่ได้เรียนมา แล้วนำทั้งหมดมา สังเคราะห์เป็นผลเฉลยที่สมบูรณ์อีกครั้ง

2) หากเราสังเกตผลเฉลยของสมการอนุพันธ์เชิงเส้นดีกรี 1 คือ
y' + ay = 0 จะพบว่า ผลเฉลยคือ y = c1e-ax
ดังนั้นเราอาจตั้งข้อคาดเดาไว้ว่า ที่ดีกรีสูงกว่านี้จะมีผลเฉลยในรูปนี้เช่นกัน จึงสมมติว่าผลเฉลยย่อยคือ y = emx ไปก่อน หลังจากหาค่า m ทั้งหมดได้แล้วค่อยมาดูกันอีกที ว่ารูปแบบทั้งหมดเป็นอะไรได้บ้าง รูปแบบจะเพิ่มขึ้นเมื่อพบค่า m ซ้ำกัน รูปแบบที่เพิ่มขึ้นหาได้ด้วยวิธี "หาผลเฉลยถัดไป จากผลเฉลยเดิมที่รู้" สุดท้ายได้หลักการง่ายๆมาคือ คูณด้วย x ซ้ำเข้าไป ตามที่ได้เรียนมา ส่วนสาเหตุที่เรียกผลเฉลยย่อยทุกตัวว่าเป็น ไอเกนฟังก์ชัน ก็เพราะมันเป็นอิสระต่อกันแบบเชิงเส้นทั้งหมด และทั้งหมดรวมกันแบบเชิงเส้น จะเป็นผลเฉลยที่สมบูรณ์ทั้งหมด

3) วิธีแก้ที่ใช้ได้ทั่วไปคงไม่มีครับ คิดว่าใช้อนุกรมอนันต์ครอบคลุมทั้งหมดแล้ว (แต่มันก็ไม่น่าใช้เอาซะเลย )
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

12 กรกฎาคม 2004 03:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 12 กรกฎาคม 2004, 10:50
<nooonuii>
 
ข้อความ: n/a
Post

combinatorics เป็นวิชาว่าด้วยการนับ การจัดเรียง และ การแบ่งกลุ่ม บนเซตจำกัด จัดอยู่ในวิชาจำพวก Discrete mathematics ครับ วิชาที่เกี่ยวโยงกันกับ Combinatorics ก็มีพวก Graph theory, Number theory บางส่วน หรือ ทฤษฎีความน่าจะเป็นบางส่วน ซึ่งบางครั้งเขาก็รวมเอาพวกนี้เข้าไปอยู่ใน Combinatorics ด้วย ผมชอบเรียก "คณิตศาสตร์จับฉ่าย" เพราะว่ามันไปโยงใยอยู่ในวิชาอื่นเยอะ ถ้าเป็นอะไรที่เกี่ยวกับการนับแบบจำกัดเราก็นึกถึงวิชานี้ก่อนเลย

ทำไมเวลาแก้สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นจึงต้องสมมติเป็น e^mx? อันนี้อยู่ใน Linear Algebra น่ะครับ คร่าวๆคือ เซตของฟังก์ชันที่มีอนุพันธ์จะมีคุณสมบัติทางพีชคณิตที่เรียกว่า Vector space ครับ ซึ่งเราจะมีแนวคิดเกี่ยวกับ eigenvalue eigenvector(eigenfunction) ส่วนการดำเนินการที่เรียกว่า การหาอนุพันธ์ นั้นจะมีคุณสมบัติทั่วไปที่เรียกว่า การแปลงเชิงเส้น (Linear Transformation) แต่ในเรื่องนี้เราจะเรียกว่า Differential operator ครับ ลองไปหาอ่านดูครับผมจำไม่ได้เสียแล้ว

การแก้ความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้นก็ทำนองเดียวกันครับ จริงๆแล้วความสัมพันธ์เวียนเกิดกับสมการเชิงอนุพันธ์คือสิ่งเดียวกันครับ(เชื่อหรือไม่?) โดยความสัมพันธ์เวียนเกิดจะกล่าวถึงฟังก์ชันบนเซตของจำนวนนับ(discrete) ในขณะที่สมการเชิงอนุพันธ์จะกล่าวถึงฟังก์ชันบนเซตของจำนวนจริง(continuous)

ส่วนการแก้สมการเชิงอนุพันธ์แบบไม่เชิงเส้นนั้นเราเอาคุณสมบัติที่ว่า ฟังก์ชันที่มีอนุพันธ์ทุกอันดับ(infinitely differentiable function) จะเขียนแทนด้วยอนุกรมเทย์เลอร์ได้เสมอมาใช้น่ะครับ ซึ่งเป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น สมการแบบนี้จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอนในการหาคำตอบ (เหมือนกับการแก้สมการพีชคณิตแบบไม่เชิงเส้นนั่นแหละครับ) แต่ยังมีวิธีการอื่นๆให้หาคำตอบได้อีกนะครับ เช่น การแปลงลาปลาซ(Laplace transform) การแปลงฟูเรียร์(Fourier transform) Distribution และ numerical method เป็นต้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 13 กรกฎาคม 2004, 12:50
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

มีคนช่วยตอบให้แล้วครับ. Nooonuiii นี่เขาเรียนมาทางเลขโดยตรงเหมือนกัน ส่วนพี่ไม่ค่อยจะรู้จริงเท่าไร เพราะไม่ได้เรียนมาโดยตรงด้วย เส้นเชื่อมของวิชาต่าง ๆ มองไม่ค่อยจะเห็น อย่าง Cal นี่ตอนนี้แทบจะเป็นศูนย์ครับ. หายเกือบหมด ไม่ได้ใช้ สมัยเรียนอาจารย์ท่านก็ไม่ได้เน้นพิสูจน์ด้วย อันไหนที่พอตอบได้ก็จะพยายามตอบให้ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
combinatorics juju คอมบินาทอริก 1 23 เมษายน 2007 20:27
ปัญหา Combinatorics M@gpie คอมบินาทอริก 3 30 มีนาคม 2007 10:12
combinatorics Rovers คอมบินาทอริก 5 08 มีนาคม 2006 18:36
Combinatorics and Linear Programming ToT คอมบินาทอริก 5 13 กุมภาพันธ์ 2004 20:13


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 00:30


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha