Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 10 ตุลาคม 2009, 00:32
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Thumbs up มีคำถามเกี่ยวกับการจัดเรียงบนวงกลมมาถามครับ เหมือนจะง่าย แต่เข้ามาดูก่อนก็แล้วกัน

เหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจิรงหมูหินครับ

A , A , A , B , B , C , C , C
A , A , B , B , C , C , D , D
A , A , B , B , C , C , D , D , D

ใครพอจะรู้วิธีการแก้ปัญหานี้บ้าง ถ้าเป็นการสับเปลี่ยนตามแนวเส้นตรงก็พอจะถูไถ แก้ได้อย่างสบาย ๆ แต่พอมาเจอปัญหานี้ก็ยากเหมือนกันครับ แต่ถ้ามีสักตัวอักษรชนิดเดียวที่มี 1 ตัวอักษร ก็จะจับมาเป็นจุดหมุนได้ ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ พอมาเจอแบบนี้แก้ไม่ออกเลยครับ

ใครรู้โปรดชี้แนะด้วยครับ

10 ตุลาคม 2009 22:49 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ เอกสิทธิ์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 18 ตุลาคม 2009, 13:46
Mathmatic's Avatar
Mathmatic Mathmatic ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 2
Mathmatic is on a distinguished road
Default

ช่วยบอกโจทย์อีกครั้งได้ไหมครับ ไม่เข้าใจโจทย์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 18 ตุลาคม 2009, 15:16
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default

A , A , A , B , B , C , C , C
จัดเรียงอักษรดังกล่าวเป็นวงกลมครับ
แต่ถ้ามีสักตัวอักษรชนิดเดียวที่มี 1 ตัวอักษร ก็จะจับมาเป็นจุดหมุนได้ ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ พอมาเจอแบบนี้แก้ไม่ออกเลยครับ เพราะไม่รู้ว่าจะใช้อักษรตัวไหนเป็นจุดยึดดี
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 20 ตุลาคม 2009, 18:52
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องคิดว่าจะต้องตรึงตัวหมุนก่อนเรียงสับเปลี่ยนครับ กล่าวคือ คิดจำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรภายในวงกลมก่อน (คิดว่าของมันต่างกันก่อน) ก่อนที่จะหารออกด้วยวิธีเรียงสับเปลี่ยนภายในของตัวอักษรที่เหมือนกันแต่ละตัวครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 20 ตุลาคม 2009, 20:46
~king duk kong~'s Avatar
~king duk kong~ ~king duk kong~ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 666
~king duk kong~ is on a distinguished road
Default

ของคุณ nongtum นี่หมายความว่าอย่างนี้รึเปล่าครับ
มี 8 ตัว จัดได้ 7!
มีตัวซ้ำ 3,2,3 ตัว
ได้ $\frac{8!}{3!2!3!}$

พอดียังงงๆอยู่อ่ะครับ
__________________
My stAtUs
ทำไมยิ่งเรียน แล้วยิ่งโง่หว่าา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 20 ตุลาคม 2009, 21:35
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

#5
ผมหมายถึง $\frac{(8-1)!}{3!2!3!}=70$ ครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 20 ตุลาคม 2009, 21:59
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Thumbs up

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nongtum View Post
#5
ผมหมายถึง $\frac{(8-1)!}{3!2!3!}=70$ ครับ
ขอบคุณมากครับ แต่มีทางเป็นไปได้ไหมครับที่มันจะหารไม่ลงตัว

ผมสงสัยอีกว่าผมดูจาก http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=3293

พบว่าจะใช้ได้เมื่อ ห.ร.ม. เป็น 1 เท่านั้น แล้วถ้า ห.ร.ม. ไม่ใช่ 1 จะทำอย่างไรดีครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 20 ตุลาคม 2009, 22:35
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

#7
ลองอ่านความคิดเห็นของคุณ gonแล้วหรือยังครับ
ส่วนว่าทำไม ห.ร.ม. ต้องเป็น 1 ลองแจงกรณีที่มีของเหมือนกันสองคู่ แล้วจัดเรียงเป็นวงกลมดูครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 21 ตุลาคม 2009, 22:40
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

จำนวนวิธีเรียงของ $n$ ชิ้น โดยมี $k$ ชนิด ชนิดที่ $i$ มีของ $a_i$ ชิ้น เมื่อ $i=1,2,\cdots k$ (ของชนิดเดียวกัน ถือว่าเหมือนกัน) เป็นวงกลม เท่ากับ
$$\frac{1}{n}\sum_{d|h}\phi(d)\frac{(n/d)!}{\prod_{i = 1}^{k}(a_i/d)!}$$
เมื่อ $h=(a_1,a_2,\cdots,a_k)$ และ $\phi(d)$ คือ Totient function (หรืออีกในนามว่า phi function)

เช่น มี A 3 ตัว B 2 ตัว C 3 ตัว จะมีวิธีเรียงเป็นวงกลมทั้งหมด $$\frac{1}{8}\sum_{d|1}\phi(d)\frac{(8/d)!}{\prod_{i = 1}^{3}(a_i/d)!} =\frac{1}{8}\left(\frac{8!}{3!2!3!}\right)=\frac{(8-1)!}{3!2!3!}$$

Proof: Pólya enumeration theorem
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 04 มีนาคม 2012, 10:00
แม่ให้บุญมา แม่ให้บุญมา ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กันยายน 2010
ข้อความ: 236
แม่ให้บุญมา is on a distinguished road
Default

ตกลงคิดง่ายๆตามที่คุณ nongtum แนะนำได้ทุกกรณีโดยไม่ต้องใช้สูตรนี้ได้ไหมครับ แม้ หรม จะไม่เท่ากับ 1
__________________
ใช้เวลาว่างศึกษาคณิตเพื่อติวลูก นักเรียนศึกษานารี และทวีธาภิเศก
http://www.facebook.com/bpataralertsiri
คณิตมัธยมปลาย http://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/

04 มีนาคม 2012 10:04 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ แม่ให้บุญมา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 04 มีนาคม 2012, 19:19
แม่ให้บุญมา แม่ให้บุญมา ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กันยายน 2010
ข้อความ: 236
แม่ให้บุญมา is on a distinguished road
Default

อ้อเข้าใจแล้วครับ กรณี หรม ของ ขนาดกลุ่ม ไม่เท่ากับ 1 ต้องใช้ สูตรที่อ้างอิงมานี้แทนที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นอีกนิดเดียว

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Little Penguin View Post
จำนวนวิธีเรียงของ $n$ ชิ้น โดยมี $k$ ชนิด ชนิดที่ $i$ มีของ $a_i$ ชิ้น เมื่อ $i=1,2,\cdots k$ (ของชนิดเดียวกัน ถือว่าเหมือนกัน) เป็นวงกลม เท่ากับ
$$\frac{1}{n}\sum_{d|h}\phi(d)\frac{(n/d)!}{\prod_{i = 1}^{k}(a_i/d)!}$$
เมื่อ $h=(a_1,a_2,\cdots,a_k)$ และ $\phi(d)$ คือ Totient function (หรืออีกในนามว่า phi function)

เช่น มี A 3 ตัว B 2 ตัว C 3 ตัว จะมีวิธีเรียงเป็นวงกลมทั้งหมด $$\frac{1}{8}\sum_{d|1}\phi(d)\frac{(8/d)!}{\prod_{i = 1}^{3}(a_i/d)!} =\frac{1}{8}\left(\frac{8!}{3!2!3!}\right)=\frac{(8-1)!}{3!2!3!}$$

Proof: Pólya enumeration theorem
__________________
ใช้เวลาว่างศึกษาคณิตเพื่อติวลูก นักเรียนศึกษานารี และทวีธาภิเศก
http://www.facebook.com/bpataralertsiri
คณิตมัธยมปลาย http://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:25


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha