Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 18 กุมภาพันธ์ 2011, 00:10
monomer monomer ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2009
ข้อความ: 50
monomer is on a distinguished road
Default ฟิสิกส์ IJSO

1. ตัวต้านทาน 1000 โอห์ม ตัวหนึ่งต่ออนุกรมกับตัวต้านทาน R ซึ่งไม่ทราบค่าตัวหนึ่ง ต่อชุดต้านทานนี้คร่อมแหล่งอิเอ็มเอฟอุดมคติ 120V เมื่อเอาโวล์ตมิเตอร์ซึ่งมีความต้านทาน 1000 โอห์มไปวัดความต่างศักย์คร่อมตัวต้านทาน R พบว่าโวลต์มิเตอร์อ่านค่า 40V ตัวต้านทาน R มีค่าเท่าใด

2. ใช้เครื่องทำความร้อนกำลัง 90 W ให้ความร้อนแก่การบูรมวล 0.2 kg ซึ่งอยู่ในแคลอริมิเตอร์อุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอไปจนถึง 176 C และคงที่อยู่ที่อุณหภูมินี้นาน 110 s ก่อนที่จะเพิ่มต่อไปที่อุณหภูมิ 190 C เครื่องทำความร้อนก็ถูกปิด อุณหภูมิของระบบลดลงแต่คงที่อยู่ที่อุณหภูมิ 176 C นานเป็นสิบสองเท่าของช่วงเวลาแรกที่อุณหภูมิคงที่ จงหา
ก. ความร้อนที่สูญเสียไปจากแคลอริมิเตอร์ในระหว่างช่วงเวลาแรกที่อุณหภูมิคงที่
ข. ความร้อนแฟงจำเพาะของการกลายเป็นไอของการบูร


ใครทราบวิธีคิดช่วยแนะนำด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 19 กุมภาพันธ์ 2011, 00:23
Puriwatt's Avatar
Puriwatt Puriwatt ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กันยายน 2006
ข้อความ: 1,435
Puriwatt is on a distinguished road
Default

1. ความต่างศักย์คร่อมตัวต้านทาน R = ความต่างศักย์คร่อมโวลต์มิเตอร์ = 40V
--> ความต่างศักย์คร่อมตัวต้านทาน 1000 โอห์ม = 120-40 = 80 V
--> ความต้านทานรวมของตัวต้านทาน R และโวลต์มิเตอร์ = 1000$\times \frac{40 V}{80 V}$ = 500 โอห์ม
จากสมการ $\frac{1}{500} = \frac{1}{1000}+\frac{1}{R}$ --> จะได้ค่า R = 1000 โอห์ม

19 กุมภาพันธ์ 2011 00:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Puriwatt
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 19 กุมภาพันธ์ 2011, 01:02
Puriwatt's Avatar
Puriwatt Puriwatt ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กันยายน 2006
ข้อความ: 1,435
Puriwatt is on a distinguished road
Default

2. แคลอริมิเตอร์มีอัตราสูญเสียความร้อนที่อุณหภูมิ $176^oC$ = $h_c$ Watts
และหลักที่ว่า "ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ = ความร้อนแฝงของการควบแน่น = $H_L$"
พิจารณาตอนที่อุณหภูมิของระบบคงที่ทั้งสองช่วง ได้ดังนี้ $H_L = (90-h_c)\cdot t_1 = h_c\cdot t_2$
-->แทนค่าเวลาลงในสมการได้ $H_L = (90-h_c)\cdot 110 = h_c\cdot (12\times 110)$
-- แก้สมการได้ $h_c = \frac{90}{13}$ ~ 7 Watts (ปัดเศษ)

ก. ความร้อนที่สูญเสียไปจากแคลอริมิเตอร์ในระหว่างช่วงเวลาแรกที่อุณหภูมิคงที่
= $h_c\times 110s = 7 \times 110s = 770 $ จูล

ข. ความร้อนแฟงจำเพาะของการกลายเป็นไอของการบูร
= $h_c\times 12(110s) = 7\times 12(110s) = 9240 $ จูล
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ผลสอบ ijso Cachy-Schwarz ข่าวคราวแวดวง ม.ต้น 0 14 กุมภาพันธ์ 2011 18:22
ทำไม IJSO ยังไม่ประกาศซักทีครับ GoRdoN_BanksJunior ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น 8 01 กุมภาพันธ์ 2010 21:58
IJSO ครั้งที่ 7 คณิตศาสตร์ Maths-man ข่าวคราวแวดวง ม.ต้น 13 28 มกราคม 2010 19:28
ช่วยหน่อยเด้อออออ!!!IJSO ฟิสิกซ์ neverdie_keen ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น 8 27 มกราคม 2010 17:32
วันนี้ใครไปสอบ ijso มาบ้างอ่ะ เป็นไงกันบ้าง MEAN^^ ฟรีสไตล์ 4 19 มกราคม 2010 18:31


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 07:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha