Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 29 มิถุนายน 2006, 19:36
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post 2 คำถาม ครับ

ใครมีไอเดียดีๆ สำหรับ 2 ข้อด้านล่างนี้ ก็ช่วยตอบให้หน่อยนะครับ (หรือจะ hint อย่างเดียวก็ได้ครับ)

1. หาตัวอย่าง $ a_n ,b_n $ ที่มีคุณสมบัติทั้ง 3ข้อด้านล่าง

(i) $ a_n , b_n > 0 $ และเป็น decreasing sequences
(ii) $ \sum a_n , \sum b_n $ เป็น divergent series
(iii) $ \sum min\{a_n,b_n\} $ เป็น convergent series

2. พิสูจน์ว่ามีจำนวนนับ $ n $ ที่ทำให้ $ 0 < \sin n < 10^{-10} $ โดยไม่ใช้แคลคูลัส หรือ taylor series

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบ / ความเห็นครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 29 มิถุนายน 2006, 21:27
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

ข้อสองผมคิดว่าน่าจะใช้คุณสมบัติของฟังก์ชันไซน์ที่มุมขนาดเล็กมากๆได้ เพราะถ้ามี $n$ ที่ว่าจริงจะต้องมีจำนวนเต็ม $k$ ที่ทำให้ $0<n-2k\pi<10^{-10}$ หรือมีจำนวนเต็ม $k'$ ที่ทำให้ $0<(2k'+1)\pi-n<10^{-10}$ (อาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยครับ)
ข้อแรกตอนแรกผมก็นึกถึง $(a_n)=(b_n)=1/n$ แต่มันไม่ผ่านเงื่อนไขข้อสาม เลยไม่รู้เหมือนกันครับว่าจะเอาไงต่อดี
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 30 มิถุนายน 2006, 16:50
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ขอออกความเห็นดังนี้ครับ

ข้อ 1. ไม่อยากเชื่อว่ามี sequences เช่นนั้นอยู่จริงเลย แต่ผมพยายามพิสูจน์ก็ไม่สำเร็จครับ

ข้อ 2. อาศัยความเป็นอตรรกยะของ $\pi$ และเทคนิคแบบเดียวกับที่ใช้ทำโจทย์ข้อ 16. ใน Number Theory มาราธอน ของคุณ nooonuii น่าจะทำได้นะครับ

ให้ $k$ เป็นจำนวนเต็มบวกที่ทำให้ $$0< \lceil 2k\pi \rceil - 2k\pi < 10^{-10} $$ เราจะได้ $n= \lceil 2k\pi \rceil $ ที่ทำให้ $$ 2k\pi <n< 2k\pi + 10^{-10} $$ และ $$ 0< \sin n < \sin 10^{-10} < 10^{-10} $$ ตามต้องการครับ

05 เมษายน 2007 15:25 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
เหตุผล: Tag Post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 30 มิถุนายน 2006, 19:44
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Smile

ขอบคุณมากๆสำหรับทั้ง 2 ความเห็นครับ

สำหรับข้อ 1 ดูเหมือนจะง่ายแต่ผมก็ติดมาเป็นอาทิตย์แล้วครับ โดยข้อนี้ ผมได้มาจาก exercise ใน textbook วิชา Analysis ระดับ ป.ตรี ครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 02 กรกฎาคม 2006, 04:21
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมทราบวิธีทำข้อ 1. แล้วครับ แต่ต้องถามคุณ passer-by ก่อนว่า ที่ว่าเป็น decreasing sequences นี่คือเป็น strictly decreasing ใช่ไหมครับ หรือเป็นแค่ monotonic decreasing ก็ใช้ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 02 กรกฎาคม 2006, 14:44
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

strictly decreasing sequence ครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 02 กรกฎาคม 2006, 17:42
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
1. หาตัวอย่าง $ a_n ,b_n $ ที่มีคุณสมบัติทั้ง 3ข้อด้านล่าง

(i) $ a_n , b_n > 0 $ และเป็น decreasing sequences
(ii) $ \sum a_n , \sum b_n $ เป็น divergent series
(iii) $ \sum min\{a_n,b_n\} $ เป็น convergent series
ตัวอย่างลำดับต่อไปนี้ ผมสร้างขึ้นโดยได้แนวคิดพื้นฐานมาจากคนอื่นอีกทีนะครับ ลำดับนี้ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปง่ายๆได้ ดังนั้นผมจะเขียนพจน์แรกๆให้ดูก่อนหวังว่าคุณ passer-by คงจะเข้าใจได้ไม่ยากครับ $$ \matrix {a_n & 1 & \frac12 & \frac13 & \frac14 & \frac{1}{5^2} & \frac{1}{6^2} & \cdots & \frac{1}{33^2} & \frac{1}{33^2+1} & \frac{1}{33^2+2} & \cdots & \frac{1}{33^2+1873} & \frac{1}{1907^2} & \cdots \\ b_n & 1 & \frac{1}{2^2} & \frac{1}{3^2} & \frac{1}{4^2} & \frac{1}{17} & \frac{1}{18} & \cdots & \frac{1}{45} & \frac{1}{34^2} & \frac{1}{35^2} & \cdots & \frac{1}{1906^2} & \frac{1}{1906^2+1} & \cdots \\ c_n & 1 & \frac{1}{2^2} & \frac{1}{3^2} & \frac{1}{4^2} & \frac{1}{5^2} & \frac{1}{6^2} & \cdots & \frac{1}{33^2} & \frac{1}{34^2} & \frac{1}{35^2} & \cdots & \frac{1}{1906^2} & \frac{1}{1907^2} & \cdots }$$ ให้สังเกตว่า $$\frac12 + \frac13 + \frac14 > 1$$ $$ \frac{1}{17} + \frac{1}{18} + \cdots + \frac{1}{45} > 1$$ $$ \frac{1}{33^2+1} + \frac{1}{33^2+2} + \cdots + \frac{1}{33^2+1873} >1$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 02 กรกฎาคม 2006, 22:38
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Thumbs up

ขอบคุณ คุณ warut มากๆครับ

ตอนแรกก็คิดถึง $ c_n $ ตัวเดียวกับคุณ warut เป๊ะเลยครับ แต่นึก $ a_n ,b_n $ ไม่ออก

ส่วนตัวที่มาคั่น นี่ก็ต้องเช็คจากโปรแกรมเอาใช่ไหมครับ ว่า ควรจะบวกถึง $ \frac{1}{4^2+29} $ หรือ $ \frac{1}{33^2+1873} $ ซึ่งเป็นเทอมแรกที่ทำให้ผลบวกเกิน 1

สรุปว่า แนวทางการสร้างก็คือ พยายามทำให้ partial sum ของ $ a_n , b_n $ unbounded นั่นเอง
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 04 กรกฎาคม 2006, 14:25
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
ส่วนตัวที่มาคั่น นี่ก็ต้องเช็คจากโปรแกรมเอาใช่ไหมครับ ว่า ควรจะบวกถึง $ \frac{1}{4^2+29} $ หรือ $ \frac{1}{33^2+1873} $ ซึ่งเป็นเทอมแรกที่ทำให้ผลบวกเกิน 1
ใช่ครับ ถ้าจะไม่ใช้คอมพ์ ก็อาจใช้ความจริงที่ว่า สำหรับทุกจำนวนนับ $k$ $$ \frac{1}{k+1} + \frac{1}{k+2} + \cdots + \frac{1}{k+k} \ge \frac12 $$ แทนได้ครับ

04 กรกฎาคม 2006 14:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:09


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha