Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:07
<ม.4>
 
ข้อความ: n/a
Post โจทย์ข้อสอบ

* อนุกรมอนันต์ 0.3 + 0.033 + 0.00333 + 0.0003333 + ... มีค่า ?

** นักบาสคนหนึ่งมีโอกาสที่จะยิงลูกโทษเข้าเป็ย 1/2 ถามว่าเขาจะต้องยิงลูกโทษอย่างน้อยกีครั้ง
จึงจะทำให้ความน่าจะเป็นที่เขาจะยิงเข้า 1 ครั้งหรือมากกว่า มีค่าต่ำสุดเท่ากับ 0.99

*** เราออกไปนอกบ้าน แล้วถามคน 3 คนอย่างสุ่ม ค่าความน่าจะเป็นที่จะพบ 2 คนเกิดวันศุกร์
ส่วนอีกคนเกิดวันอังคาร เท่ากัน ...

คือว่ายังไม่ได้เรียนเรื่องพวกนี้ แต่ทำข้อสอบไปแล้ว เลยอยากรู้ว่าจะดำน้ำถูกรึป่าว
ให้พี่ ๆ ช่วยหน่อยนะคะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:07
<ม.4>
 
ข้อความ: n/a
Post

ตัวเลือกของข้อแรก คือ
1. 1/3 2. 10/27 3. 100/297 4. 1000/2997
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:07
<mathcenter>
 
ข้อความ: n/a
Post

รอเดี๋ยวนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:08
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

ข้อแรก)
อนุกรมอนันต์ 0.3 + 0.033 + 0.00333 + 0.0003333 + ...
เริ่มจากสังเกตเทอมทั่วไปก่อนคือ 0.3 , 0.033 , 0.00333 , 0.0003333 , ... จะพบว่าแต่ละเทอมสามารถเขียนได้ในรูป ผลบวกของอนุกรมย่อยอีกทีหนึ่ง โดยลำดับเทอมที่ n สามารถเขียนได้ในรูปของ (3*0.1^n) + (3*0.1^n)(0.1) + (3*0.1^n)(0.1^2) + ... + (3*0.1^n)(0.1^n) ซึ่งก็คืออนุกรมของลำดับเรขาคณิตนั่นเอง โดยทีลำดับแรกคือ 3*0.1^n และมีตัวคูณร่วมเป็น 0.1
ใช้สูตรหาผลบวกเรขาคณิตจะได้ว่า ลำดับที่ n ของอนุกรมอนันต์ข้างบนคือ
(3*0.1^n)(1-0.1^n)/(1-0.1) = (10/3)((0.1^n) - (0.1^2n))

เมื่อสามารถลำดับทั่วไปได้แล้ว ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการหาอนุกรมอนันต์
S(n) = sum((10/3)((0.1^n) - (0.1^2n))) = (10/3)*(sum(0.1^n) - sum(0.1^2n))
sum(0.1^n) เป็นอนุกรมอนันต์ของลำดับเรขาคณิตมีค่าเป็น 0.1/(1-0.1) = 1/9
sum(0.1^2n) เป็นอนุกรมอนันต์ของลำดับเรขาคณิตมีค่าเป็น 0.01/(1-0.01) = 1/99
จึงได้ว่าอนุกรมอนันต์ดังกล่าวมีผลลัพธ์เป็น (10/3)*((1/9) - (1/99)) = (10/3)*(10/99) = 100/297

ข้อสอง)
ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะยิงลูกเข้าอย่างน้อย 1 ครั้ง = 1 - ความน่าจะเป็นที่นักบาสยิงลูกโทษไม่เข้าเลยสักลูก
โจทย์กำหนดให้ ความน่าจะเป็นที่นักบาสจะยิงลูกเข้าอย่างน้อย 1 ครั้งมีค่าอย่างน้อยเป็น 0.99 แสดงว่า ความน่าจะเป็นที่นักบาสยิงลูกโทษไม่เข้าเลยสักลูก มีค่าอย่างมากเป็น 1 - 0.99 = 0.01
เนื่องจากความน่าจะเป็น ที่นักบาสยิงลูกโทษไม่เข้าเลยสักลูก เมื่อยิงลูกโทษได้ n ครั้งคือ 1/(2^n) จึงได้ว่า 1/(2^n) <= 0.01
แก้อสมการออกมาจะได้ว่า n >= 7 นั่นคือ นักบาสต้องยิงลูกโทษอย่างน้อย 7 ครั้งขึ้นไป

ข้อสาม)
เราออกไปนอกบ้าน แล้วถามคน 3 คนอย่างสุ่ม ค่าความน่าจะเป็นที่จะพบ 2 คนเกิดวันศุกร์
ส่วนอีกคนเกิดวันอังคาร เท่ากัน ... เท่ากันอะไรครับ อ่านแล้วไม่เข้าใจ ขออภัย ช่วงนี้พี่งานเยอะ กำลังมึนๆอยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:08
<ม.4>
 
ข้อความ: n/a
Post

พิมพ์ผิดอ่ะ จริง ๆ แล้วมันคือ "เท่ากับ"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:08
<กร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ข้อ1. น่าจะเป็น 1/3 มากกว่านะ top
คิดง่าย ๆ ว่ามันคือ
x = 0.333333.. (1)
เอา 10 คูณ (1)
ได้ 10x = 3.33333.. (2)
เอา (2)-(1) ได้
9x=3 -> x=1/3
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:09
<กร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ข้อ 2. ถูกแล้วครับ.
ข้อ 3. ตอบ 30/343
N(E)=จำนวนวิธีทั้งหมดที่จะทำได้
สมมติว่า คือ ก. ข. และ ค.
ถามว่า นาย ก.เกิดวันอะไรทำได้ 7 วิธี ทำนองเดียวกับ ข. และ ค. ก็จะได้คนละ 7 วิธี
ดังนั้น N(E) = 7 x 7 x 7 = 343 วิธี
N(S) = จำนวนวิธีที่จะได้ว่า 2 คนเกิดวันศุกร์ .... ตามโจทย์
กรณีที่ 1.
ถ้านาย ก. ไม่ได้เกิดวันศุกร์หรืออังคาร ทำได้ 5 วิธี
นาย ข. หรือ ค. เกิดวันอังคารส่วนอีกคนเกิดวันศุกร์ทำได้ 2 วิธี
ดังนั้นจะมีวิธีทำได้ 5 x 2 = 10 วิธี
ทำนองเดียวกัน อีก 2 กรณี ก็จะได้ 10 วิธี เช่นกัน
รวม 3 กรณีมีได้ทั้งหมด 10 + 10 + 10 = 30 วิธี
ดังนั้น P(E)=N(E)/N(S) = 30/343
note. มันก็คือ จำนวนวิธีทั้งหมดของ 3 คู่อันดับ (วัน1, วัน2, วัน3) นั่นเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:09
<ม.4>
 
ข้อความ: n/a
Post

แต่ตัวเลือกของข้อ 3 มีแต่

1. 2/365
2. 3/343
3. 3/365
4. 6/343

มีแต่ใกล้เคียงอ่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:10
<กร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ถ้าดูตามตัวเลือกแสดงว่าโจทย์ไม่สนใจว่าใครจะเจอใครก่อน
ใครหลังไม่สำคัญ ที่พี่คิดไปคือสนว่าใครก่อนหลังสำคัญคือเป็นเรียงสับเปลี่ยน
ทีแรกพี่ก็คิดว่าเอ๊ะเขาจะไม่สนใจว่าจะเจอใครก่อนหลัง
แต่พอนั่งคิดดี ๆ แล้ว การที่เราได้ N(E)=7x7x7 =343 นั้น
คือเราสนใจว่าจะเจอใครก่อนหลัง คือมีลำดับ.
ถ้าจะเอาตามตัวเลือกยังงั้น N(S) ก็คงคิดว่า
เลือก 2 คน จาก 3 คนว่าเกิดวันศุกร์กับวันเสาร์ทำได้ 3C2 = 3 วิธี.
ดังนั้น P(E)=3/343
แต่ยังไงตามความคิดพี่ก็ยังคงยืนยันว่า 30/343 ถูกต้องที่สุด
พี่ว่าคนตั้งโจทย์ต้องตั้งตอนเบลอ ๆ แหง ๆ
เพราะเรื่องนี้ต้องรอบคอบมาก ถ้าคิดไม่ถ้วนถี่ไม่ควรตั้งโจทย์ทำนองนี้
อย่างเฉลย Ent ที่มีหลาย ๆ สำนักพิมพ์เฉลยผิด
ข้อเรื่องความน่าจะเป็นของ Ent ปี 2542 หรือไงนี่
้อ้อป็นข้อสอบของที่ไหนครับ.
อ้อ . ! ถ้ามีข้อโต้แย้งอะไรว่ามาได้ครับ. ยินดีรับฟัง
เพราะพี่อาจยังคิดไม่รอบคอบถึงที่สุดพอก็ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:10
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

ข้อหนึ่งนะคิดถูกแล้ว
เพราะ 0.3+0.033+0.00333+0.0003333 = 0.3366633 ไม่เห็นว่ามันจะเท่ากับ 0.33333 ตรงไหนเลย

ข้อสาม นี่เพิ่งอ่านโจทย์เข้าใจ ตอนแรกนึกว่าโจทย์จะบอกมาว่าเท่ากับอะไรสักอย่าง เลยรอน้องมาเติม ... ให้ครบสักที
เนื่องจาก จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้คือ 7*7*7 = 343 วิธี
จำนวนวิธีที่ มีสองคนเกิดวันศุกร์และอีกคนเกิดวันอังคาร จะเหมือนกับจำนวนวิธีการเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษร 3 ตัวนี้ "ศศอ" พบว่ามี 3 วิธี
ดังนั้นความน่าจะเป็น คือ 3/343
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 30 มีนาคม 2001, 20:10
<กร>
 
ข้อความ: n/a
Post

อืม ข้อ1. มึนเอง
อ้าว ข้อ 2.ก็อ่านโจทย์ผิด คิดว่าเป็นเกิด วันศุกร์กับวันอังคารอย่างละคน
อย่างงั้นก็ 3/343 ถูกแล้วครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 05:16


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha