Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 พฤศจิกายน 2005, 00:12
Destiny Destiny ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 มกราคม 2005
ข้อความ: 5
Destiny is on a distinguished road
Post อยากทราบเกี่ยวกับ factorial

เคยอ่านหนังสือเจอ ว่า factorial คือ n! โดยที่ n เป็น จำนวนเต็มบวก แต่เขาบอกว่าเป็น 0 และเป็นลบได้ แม้กระทั่งทศนิยม แต่อยู่ในระดับอุดมศึกษา ผมจะหาอ่านได้ที่ไหนหรอคับ ยังไม่เคยเจอเลย แปลกดีอยากรู้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 27 พฤศจิกายน 2005, 02:12
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Smile

Google
Mathworld
Wikipedia
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 17 ตุลาคม 2008, 22:20
ท"๐ทุย ท"๐ทุย ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 ตุลาคม 2008
ข้อความ: 1
ท"๐ทุย is on a distinguished road
Default

สวัสดีครับ
ผมสงสัยมากมายเลยครับ ว่าทำไม 0! จึงมีค่าเท่ากับ 1 ละครับ
ครูที่สอนเขาบอกว่าให้จำไป จะพิสูจน์ยังไงอะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 18 ตุลาคม 2008, 03:12
t.B.'s Avatar
t.B. t.B. ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2007
ข้อความ: 634
t.B. is on a distinguished road
Default

จากนิยามของ n!
$n!=n\times (n-1)\times (n-2)\times ....$
$n!=n\times (n-1)!$
แทน n=1
$1!=1\times (1-1)!$
$\therefore 1=0!$
__________________
I am _ _ _ _ locked
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 18 ตุลาคม 2008, 06:02
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ t.B. View Post
จากนิยามของ n!
$n!=n\times (n-1)\times (n-2)\times ....$
$n!=n\times (n-1)!$
แทน n=1
$1!=1\times (1-1)!$
$\therefore 1=0!$
------- ผิดครับผม ไม่มีเฉลย ไปดูเองครับ --------
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 18 ตุลาคม 2008, 12:58
[SIL]'s Avatar
[SIL] [SIL] ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,520
[SIL] is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คุณชายน้อย View Post
แต่ผมว่าถูกต้องแล้วนะครับ ในหนังสือผมก็เขียนพิสูจน์แบบนี้ ผิดตรงไหนก็โปรดชี้แนะด้วย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 18 ตุลาคม 2008, 14:47
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ [SIL] View Post
แต่ผมว่าถูกต้องแล้วนะครับ ในหนังสือผมก็เขียนพิสูจน์แบบนี้ ผิดตรงไหนก็โปรดชี้แนะด้วย
คำตอบไม่ผิดหรอกครับ แต่ผิดที่หลักการคิด (ค่อนข้างอธิบายยาก....... ผู้พิทักษ์ทั้งหลายช่วยเติมเต็ม หรือ comment ให้ด้วยครับ ...) ขบวนการ recursive relation , n! = nx(n-1)! ทำให้เกิดค่าของ 0! = 1 ก็จริง แต่ถ้ามองลึก ๆ ดี ๆ จะพบว่าเกิดจากการใช้นิยาม $n! = \prod_{k = 1}^{n} k$ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก จึงพบว่า n! = nx(n-1)! จะต้องสอดคล้องเมื่อ $n \geqslant 2$ เท่านั้น เพราะถ้า n = 1 แล้วจะไม่เกิดการนิยาม (n-1)! ในด้านขวามือของสมการ จึงต้องมีการเติมนิยาม 0! = 1 ลงไปในฟังก์ชัน factorial เพื่อให้เกิดขบวนการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า nullary product เราจึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ ให้เป็นนิยามเลย แต่เมื่อมีการ generate factorial จึงเกิดพบว่า 0! = 1 ตามที่คุณ SIL ใช้ขบวนการ recursive relative แต่ก็ได้เฉพาะ n = 0 เท่านั้น ขบวนการ recursive จึงตกไป เลยมีการ generate ใหม่โดยใช้ฟังก์ชันแกมม่าเพื่อเติมเต็มให้กับฟังก์ชัน factorial โดยขยายให้ n! นิยามได้ใน $\mathbb{R} $ ยกเว้นจำนวนเต็มลบ ....

18 ตุลาคม 2008 15:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ คุณชายน้อย
เหตุผล: ไม่มีอะไรเปลี่ยน n = 2 เป็น $n \geqslant 2$ ให้สมบูรณขึ้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 18 ตุลาคม 2008, 17:27
[SIL]'s Avatar
[SIL] [SIL] ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,520
[SIL] is on a distinguished road
Default

อื้ม ขอบคุณครับถ้าใช้วิธีที่ผมว่า โดยนิยาม $n! = n(n-1)! \rightarrow 0! = 0(-1)!$ แล้ว -1!จะมีค่าเท่าไหร่หว่า โลกคงแตกแน่ๆ มันมีช่องโหว่มากมายที่จะใช้วิธีที่ผมสนับสนุน ดังนั้น 0! = 1 เป็นนืยามที่ตั้งขึ้น ไม่ใช่มาจากการทนค่า แต่ผมยังมีข้อสงสัยอยู่ (ความรู้น้อย )
1. 1.5! ผมเคยเห็นในบอร์ดวิชาการเมื่อนานมาแล้ว มันมีค่าเท่าไหร่หรอครับ
2. -2! ผมเคยกดเครื่องคิดเลขดู มันบอกว่า = 1
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 ตุลาคม 2008, 23:41
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ [SIL] View Post
แต่ผมยังมีข้อสงสัยอยู่ (ความรู้น้อย )
1. 1.5! ผมเคยเห็นในบอร์ดวิชาการเมื่อนานมาแล้ว มันมีค่าเท่าไหร่หรอครับ
2. -2! ผมเคยกดเครื่องคิดเลขดู มันบอกว่า = 1
ตอบข้อ 2. จากความเดิม กรณีที่มีการคำนวณนอกเหนือจากการนิยามใน $n!=\prod_{k = 1}^{n}k $ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก คือ 0! เพือป้องกันการเกิดขบวนการ recursive ที่ error เราจะต้องนิยามในส่วนนี้โดยให้มีค่าเท่ากับ 1 เสมอ นั่นคือ ต้องนิยาม 0! = 1 ซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่าเป็น empty product หรือ nullary product ในทำนองเดียวกันกับเครื่องคิดเลข Process ที่ต้องมีการคำนวณ recursive เพื่อป้องกันการเกิด error จากการคำนวณ (-2)! ซึ่งไม่ได้นิยามค่า หรือ $(-2)! = \Gamma (-1) = หาค่าไม่ได้ $ จะใช้วิธีการ empty product หรือ nullary product เพื่อใม่ให้มีการ error โดยให้คำตอบเป็น 1 เสมอ ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้โดยไม่เสียความเป็นทั่วไป สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

ตอบข้อ 1.
===> คิดแบบสูตร จากสูตร $ (n+\frac{1}{2})! = \sqrt{\pi } \prod_{k = 0}^{n}\frac{2k+1}{2} $ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ จะได้ว่า $$ \frac{3}{2}! = (1+\frac{1}{2})! = \sqrt{\pi } \prod_{k = 0}^{1}\frac{2k+1}{2} = \sqrt{\pi } \cdot \frac{1}{2}\cdot \frac{3}{2} =\frac{3\sqrt{\pi } }{4} $$
ปล. สูตรคิดไม่ยากจากวิธีการคิดโดยใช้นิยามปกติ เราอาจคิดสูตร $ (n+\frac{1}{m})! $ เมื่อ m เป็นจำนวนเต็มใด ๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศุนย์ ไว้ใช้เองก็ได้.... ไม่ยาก
===> คิดแบบนิยามปกติ โดยอาศัยองค์ประกอบของนิยามต่อไปนี้
$$ \Gamma (n+1) = n! , \Gamma (n+1) = n\Gamma (n) , \Gamma (n)=\int_{0}^{\infty}\,{t}^{n-1}{e}^{-t}dt $$
เอาละลุยเลย ก่อนอื่นต้องคำนวณ $\Gamma (\frac{1}{2} )$ ก่อน ซึ่งจะได้ $$ \Gamma (\frac{1}{2} )=\int_{0}^{\infty}\,{t}^{-1/2}{e}^{-t}dt = \sqrt{\pi } $$ ซึ่งการคำนวณค่อนข้างยุ่งยากในระดับ Basic เอาเป็นว่าได้คำตอบคือ $\sqrt{\pi } $ ก็แล้วกัน ต่อไปก็คำนวณ $\frac{3}{2}! $ เลย จะได้ว่า
$$\frac{3}{2}! = \Gamma (\frac{3}{2} +1) = \frac{3}{2}\Gamma (\frac{3}{2} ) =\frac{3}{2}\Gamma (\frac{1}{2}+1 ) = \frac{3}{2}\cdot \frac{1}{2}\cdot \Gamma (\frac{1}{2} )= \frac{3}{2}\cdot \frac{1}{2}\cdot \sqrt{\pi }=\frac{3\sqrt{\pi } }{4} $$
จะเห็นว่าเป็นขบวนการ recursive ไปเรื่อยๆ จนถึง $\Gamma (\frac{1}{2} )$
ปล. ให้ Source ของคำตอบของ $\Gamma (\frac{1}{m} )$ เมื่อ m เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 2 ไว้ให้เผื่อใครจะคิดสูตร $ (n+\frac{1}{m})! $ ไว้ใช้เอง ................. จบบริบูรณ์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 15 มกราคม 2009, 20:53
holmes holmes ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 กุมภาพันธ์ 2007
ข้อความ: 45
holmes is on a distinguished road
Default

?????????????

งงมากมากมากมาก

16 มกราคม 2009 01:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: double post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 16 มกราคม 2009, 13:53
mathematiiez's Avatar
mathematiiez mathematiiez ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 พฤษภาคม 2008
ข้อความ: 657
mathematiiez is on a distinguished road
Send a message via MSN to mathematiiez
Default

เห็นด้วยค่ะ งงมาก งงมากกก
แต่ขอขอบคุณนะคะ เข้าใจในแฟคตอเรียล ขึ้นเยอะ ^^~
__________________
ยิ้มเท่านั้นที่ครองโลก
5555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 16 มกราคม 2009, 19:51
กรza_ba_yo's Avatar
กรza_ba_yo กรza_ba_yo ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 772
กรza_ba_yo is on a distinguished road
Default

ขอบคุณคับผม
เเม้จะยังงงอยู่
เเล้วถ้าเกิดเขาถามว่า300!
มีศูนย์กี่ตัวละคับ
__________________
คนเราหากล้มก็ต้องลุก
ผู้ใดล้มเเล้วไม่ลุกผู้นั้นยิ่งกว่าสุนัข
สุนัขมันล้มเเล้วมันยังลุกได้
เเล้วทำไมคนถึงจะลุกไม่ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 22 มกราคม 2009, 21:13
Aphenisol Aphenisol ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 มกราคม 2009
ข้อความ: 26
Aphenisol is on a distinguished road
Default

ใช้ Legendre Formula หาเอาครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 22 มกราคม 2009, 23:10
คusักคณิm's Avatar
คusักคณิm คusักคณิm ไม่อยู่ในระบบ
เทพยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มีนาคม 2008
ข้อความ: 4,888
คusักคณิm is on a distinguished road
Default

$300/5=60$
$60/5=12$
$12/5=2$

300!มี0อยู่......
$60+12+2=74$

ตอบ 74 ตัว
__________________
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 28 มกราคม 2009, 15:00
intania92 intania92 ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2009
ข้อความ: 3
intania92 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คusักคณิm View Post
$300/5=60$
$60/5=12$
$12/5=2$

300!มี0อยู่......
$60+12+2=74$

ตอบ 74 ตัว
งง ครับ ทำไมต้องเอามา หาร5 ด้วย...????????
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 09:02


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha