Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 03 ตุลาคม 2016, 10:35
Boomsupa Boomsupa ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 03 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 4
Boomsupa is on a distinguished road
Default ช่วยทำหน่อย ด่วนมาก

ช่วยแสดงวิธีทำหน่อยค่ะ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 03 ตุลาคม 2016, 11:42
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

เอิ่มเขาก็แสดงวิธีทำไว้ให้แล้วนี่ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 03 ตุลาคม 2016, 12:33
Boomsupa Boomsupa ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 03 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 4
Boomsupa is on a distinguished road
Default

อยากได้แบบละเอียดอ่าค่ะ พอดีต้องพรีเซ้นอ่าา พยายามทำมา1อาทิตย์แล้ว มันไม่ได้อ่ะ (cry)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 03 ตุลาคม 2016, 20:24
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Boomsupa View Post
อยากได้แบบละเอียดอ่าค่ะ พอดีต้องพรีเซ้นอ่าา พยายามทำมา1อาทิตย์แล้ว มันไม่ได้อ่ะ (cry)
ติดตรงไหนเหรอ ?

นิยาม $u_{xxt}$ ของ Fornberg-Whitham ให้ดูหน่อยสิครับ

ใช่อันนี้มั้ย $\frac{\partial^3u}{\partial x \partial x \partial t}$ ....นี่ลืมหมดแล้วนะเนี่ย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 03 ตุลาคม 2016, 22:53
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

วงการคณิตศาสตร์เต็มไปด้วย กิริยาทับถม ดูถูก ความเห็นชนชาติอื่น ว่าด้อยกว่า ด้วยรูปร่าง ลักษณะ
ถ้ารูปร่างเหมือนฝรั่งยุโรป จะได้รับการยกย่อย แนวชื่นชม

คนสายอินเดีย ทำสำเร็จ ก็ต้องไปทำที่อินเดีย อเมริกาก็ไม่รู้ว่าทำอยู่ รู้อีกทีก็งานออกมาแล้ว

เหมือนโซเวียด กับ สหรัฐอเมริกาแข่งขันกัน ในสมัยก่อน ที่เปิดเผยคือแข่งทำเครื่องบินรบกัน ทำเป็นหนังภาพยนต์ฉายทั่วโลกเลย

ที่เป็นความลับ ก็ทะยอยเปิดเผยออกมา เรื่อยๆ ยากเต็มที

ผมออกจากวงการคณิตศาสตร์ มานานแล้ว ออกมาทำการเกษตร ประมง กะว่าจะให้เป็นอาชีพเลย
ออกสายช่างวิศวกรรมมากกว่า สายบริสุทธ์ที่เคยสนใจ

คนด่ากันมาก ด้วยคำเจ็บปวด เห็นแล้วเศร้า ในหลวงก็ทรงเคยแนะว่า อย่ากัดกัน นานมาแล้ว

เจ้าของวิชาจริงๆ ก็คงประมาณ Follow Man ที่ตามมาก็ประมาณ ... คุยเสร็จแล้วกหายหน้ากันไปเป็นสิบๆ ปี รวมกันไม่ได้

แปลกจัง

เออ ลองใช้ Wolfram เวปของเค้า ถ้าเจอผู้ดูแลที่เสนอเนือหา จะเจอเป็นเปเปอร์ลงเวป อินเตอร์เน็ตเลย ที่พวกคุณถกกันมันเนื้อหาเก่า แต่อ้างอาจารย์ท่านใหม่ อาจจเพราะเพราะต้นสายวิชาอาจจเป็นหลายร้อยปี ของเวลาโลก คนใหม่ต้องขึ้นมา ทำนองนั้น ต้องด่าคนเก่า แม้เคยชื่นชมในยุคของท่านน่ะนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 03 ตุลาคม 2016, 23:30
Boomsupa Boomsupa ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 03 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 4
Boomsupa is on a distinguished road
Default ใช่ค่ะ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
ติดตรงไหนเหรอ ?

นิยาม $u_{xxt}$ ของ Fornberg-Whitham ให้ดูหน่อยสิครับ

ใช่อันนี้มั้ย $\frac{\partial^3u}{\partial x \partial x \partial t}$ ....นี่ลืมหมดแล้วนะเนี่ย

ใช่ค่ะๆ ติดตรงหาค่าU_1, U_2, U_3 ไม่รู้จะแสดงวิธีทำออกมาอย่างไงค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 04 ตุลาคม 2016, 06:19
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อันนี้ผมดูเอาจาก paper นะ

จากที่อ่านๆมา concept ของมันคือมันออกแบบวิธีประมาณสมการคำตอบของ PDE

ซึ่งสมการนี้เป็นสมการที่รันเอาจากโมเดลของคลื่น คือมีฟอร์ม PDE ของมันอยู่แล้ว

แต่ด้วยความที่ว่ามันเป็น PDE มันใช่ว่าจะมี eplicit form solution ง่ายๆ

paper ก็เลยออกแบบวิธีประมาณสมการคำตอบออกมาง่ายๆ (นอกเหนือจาก peakon solution ที่ well known)

ซึ่งก็คือวิธีการที่เรียกว่า RDTM (เป็น Numerical Solution ที่มี Accuracy)

=================================================

กลับมาที่คำถามคือหา $U_{k}$ แต่ละตัวยังไง ใช้สมการที่ 3 เลยครับ ดูอนุพันธ์อันดับที่ $k$

ในที่นี้ มันให้ initial condition สำหรับสมการมาแล้ว คือสมการที่ 19 ใน paper

ส่วน $U_{k}$ ใน paper มันเขียนข้ามไปแล้ว take limit หา convergent solution เลย

อันนี้ผมว่าน่าจะใช้คอมพิวเตอร์คำนวณ ไม่รู้ว่าคำนวณมือหลุดหรือเปล่า ยังไม่ได้ลอง

สรุปว่าตั้งต้นจากสมการที่ 19 แล้ว diff เอาครับ จากนั้นเขียน $U_{k}$ ในรูปสมการที่ 3

ลองดูว่าได้ $U_{k}$ 3 ค่าแรกเหมือนใน paper มั้ย อันนี้ผมยังไม่ชัวร์ว่าต้องใช้สมการ 18 ด้วยหรือเปล่า

เพราะ $U_{k}$ มันนิยามไว้ชัดเจนในหน้า 2 แล้ว ในกรณีที่ต้องใช้สมการ 18 ด้วย น่าจะหนักอยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 04 ตุลาคม 2016, 06:52
Boomsupa Boomsupa ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 03 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 4
Boomsupa is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
อันนี้ผมดูเอาจาก paper นะ

จากที่อ่านๆมา concept ของมันคือมันออกแบบวิธีประมาณสมการคำตอบของ PDE

ซึ่งสมการนี้เป็นสมการที่รันเอาจากโมเดลของคลื่น คือมีฟอร์ม PDE ของมันอยู่แล้ว

แต่ด้วยความที่ว่ามันเป็น PDE มันใช่ว่าจะมี eplicit form solution ง่ายๆ

paper ก็เลยออกแบบวิธีประมาณสมการคำตอบออกมาง่ายๆ (นอกเหนือจาก peakon solution ที่ well known)

ซึ่งก็คือวิธีการที่เรียกว่า RDTM (เป็น Numerical Solution ที่มี Accuracy)

=================================================

กลับมาที่คำถามคือหา $U_{k}$ แต่ละตัวยังไง ใช้สมการที่ 3 เลยครับ ดูอนุพันธ์อันดับที่ $k$

ในที่นี้ มันให้ initial condition สำหรับสมการมาแล้ว คือสมการที่ 19 ใน paper

ส่วน $U_{k}$ ใน paper มันเขียนข้ามไปแล้ว take limit หา convergent solution เลย

อันนี้ผมว่าน่าจะใช้คอมพิวเตอร์คำนวณ ไม่รู้ว่าคำนวณมือหลุดหรือเปล่า ยังไม่ได้ลอง

สรุปว่าตั้งต้นจากสมการที่ 19 แล้ว diff เอาครับ จากนั้นเขียน $U_{k}$ ในรูปสมการที่ 3

ลองดูว่าได้ $U_{k}$ 3 ค่าแรกเหมือนใน paper มั้ย อันนี้ผมยังไม่ชัวร์ว่าต้องใช้สมการ 18 ด้วยหรือเปล่า

เพราะ $U_{k}$ มันนิยามไว้ชัดเจนในหน้า 2 แล้ว ในกรณีที่ต้องใช้สมการ 18 ด้วย น่าจะหนักอยู่
ใช้ค่ะ เพราะตัวอย่างที่1มันใช้ หนักที่สุดเลยค่ะ ต้องส่งวันศุกร์นี้แล้ว ขอนุญาตติดต่อกลับได้ไหมคะ หรือแอดไลน์ id: sppbmii หนูได้ไหมคะ pleaseee
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 04 ตุลาคม 2016, 20:37
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

โทษทีครับ สมการที่ 3 มันทำ partial เทียบ $t$ ไม่ได้เทียบ $x$ ผมดูไม่ละเอียดเอง

สรุปว่าใช้สมการที่ 18 generate $U_{k}$ แต่ละตัวออกมาโดยมี initial condition เป็นสมการที่ 19

แทน $k=0$ ลงไปก่อนสังเกตตัว summation พจน์ท้ายข้างหลังมันควรจะบีบค่า $k,r,s$ ได้

เขียนแยกตัว summation ให้ระวัง แยกตัว $s=0$ ถึง $s=r$ ก่อน บีบให้มาชน $k=0$

ข้างขวาทั้งหมด มัน "ควรจะ" เขียนออกมาในรูป $U_{0}$ ได้หมด เหลือแต่ตัว partial

ถ้าตรง double summation มันมองยากก็ลองลดความยุ่งยาก

โดยการมองเป็น $\sum_{r=0}^{k} \sum_{s=0}^{r}a_{k-r}a_{r-s}a_{s}$ แล้ว set $k=0$ เขียนแจก index ออกมา

ข้างขวามันควรจะเขียนในรูป $U_{0}$ ได้หมด

ทีนี้มามองข้างซ้ายมันจะติด $U_{1}$ (ที่ต้องการหา) กับ $U_{1}$ ที่มี partial อันดับ 2

สมการนี้เลยเป็น partial ที่ลดความยุ่งยากลงมา ตัว partial ที่ติดอยู่มันทำเทียบ $x$ ตัวเดียวแล้ว

เพราะดูเอาจาก $U_{0}$ มันเป็นฟังก์ชันขึ้นกับ $x$ อย่างเดียว ตรงนี้จะเขียนเป็น d แทนที่จะเป็น curl น่าจะไม่ผิด

สมการ $U_{1}$ นี้น่าจะใช้วิธีแก้แบบที่ทำกับ ODE ปกติได้ (คือมองให้เป็น ODE) ไม่รู้หลุดรึป่าว

หรือถ้ายังไม่ได้อีก ลองใช้วิธีประมาณอนุพันธ์อันดับ 2 ส่วนที่เป็นปัญหาทางข้างซ้ายของสมการ

ลองใช้พวก taylor + finite diffrence ดูครับ (อาจจะไม่แน่ว่าต้องใช้ทั้งคู่)

https://en.wikipedia.org/wiki/Finite_difference

https://en.wikipedia.org/wiki/Finite_difference_method

ตรงนี้ผมย้ำนะว่าไม่ได้ทดเอง ผมสังเกตเอาจากอนุกรมของ $U_{1},U_{2}$ ที่ paper เขียนข้ามไป

ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์ช่วย solve หรือหาอนุพันธ์ได้ ผมว่าเบาแรงเยอะนะครับ

ปล.ถ้าผมทดออกได้หมดทั้ง paper เดี๋ยวมาลองอธิบายเพิ่มให้ พักนี้ผมไม่มีเวลาเลย ที่เขียนไว้แค่คร่าวๆนะ

เอ้อ พวก hyperbolic function มัน represent ในเทอม $e$ ได้ลองมองไปที่ taylor ดู

สังเกตเอาจาก $U_{1},U_{2}$ มันเป็นอนุกรมอนันต์ แต่ใช้ finite หรือเปล่าอันนี้ไม่ชัวร์...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 07 ตุลาคม 2016, 00:30
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

แทน $k=0$ จะได้

$U_{1}(x)-\frac{\partial ^2 U_{1}(x)}{\partial x^2}=- \frac{\partial U_{0}}{\partial x}-U_{0}^2(x) \frac{\partial U_{0}(x)}{\partial x}+U_{0}(x) \frac{\partial^3 U_{0}}{\partial x^3}+3U_{0}(x)\frac{\partial^2 U_{0}}{\partial x^2}$

แทน $U_{0}$ ที่โจทย์กำหนดเป็น initial condition ลงไปข้างซ้าย

$U_{1}(x)-\frac{\partial ^2 U_{1}(x)}{\partial x^2}= g(x)$ โดยที่ $g$ represent ค่าในรูป eplicit ได้

ทีนี้มาดูอนุพันธ์แต่ละอันดับ ให้ $h_{0}=k(2c^2)$ โดย $k=\frac{3}{4}(\sqrt{15}-5)$ $c$ ตามโจทย์

(คำนวณอนุพันธ์ใช้เอกลักษ์ $1-\tanh^2 x= sech^2 x$ เป็นตัวเชื่อม)

$\frac{\partial U_{0}(x)}{\partial x}=-h_{0}\tanh x +h_{0} \tanh ^3 x$

$\frac{\partial ^2 U_{0}(x)}{\partial x^2}=-h_{0}+4h_{0}\tanh^2 x -3h_{0} \tanh ^4 x$

$\frac{\partial ^2 U_{1}(x)}{\partial x^2}=8h_{0} -20h_{0}\tanh^3 x +12h_{0} \tanh^5 x$

แทนค่า $U_{0}$ ลงไปแล้ว simplify ฝั่งขวาจะ represent ได้ในรูป $U_{0}$ ทั้งหมด

หรือง่ายๆคือ hyperbolic ที่มี $e^x$ พ่วงมาหมด ดังนั้น $g(x)$ จะเขียนได้ในรูป $e^x$ ทั้งหมด (ทำไม?)

จากตรงนี้เราน่าจะปักใจได้ว่า อนุพันธ์ทุกอันดับที่เป็น algorithm ที่จำเป็นเขียนได้ในรูป $e^x$ หมด

ข้อความข้างบน support ได้โดย Leibniz rule ว่าถ้าเรา repeat กระบวนการ(ถึกๆ) แบบนี้ต่อไป

https://en.wikipedia.org/wiki/General_Leibniz_rule

สำหรับทุกๆ $k$ มันจะ represent ได้ในรูป $e^x$ ทั้งหมดทางฝั่งขวา ..............(ทำไม?)

ก็เท่ากับว่าเราได้ทอน PDE ออกมาให้อยู่ในรูป linear non-homogeneous ODE แล้ว

ซึ่งก็ควรจะแก้ได้ด้วยความรู้ ODE ปกติ https://en.wikipedia.org/wiki/Linear...ntial_equation

(เอกลักษ์อนุพันธ์ของ hyperbolic มัน allow linear operator ได้ ดังนั้น มันควรจะใช้เครื่องมือของ linear ODE แก้ได้)

ต่อมาก็เหลือแค่คำนวณ solution ให้มันลู่เข้า algorithm ทำได้โดยการ take ค่าของ $U_{k}$ ทุก $k$ ออกมา

ซึ่งก่อนที่จะได้ค่าแบบใน paper เวลาใส่คอมมันน่าจะใช้ algorithm แบบ hyperbolic function ก่อนแล้วเขียนในรูป $e^x$

จากนั้นอาจจบด้วยการประมาณ $e^x$ ด้วย taylor series (สังเกตดู)

ซึ่งท้ายสุดการ simplity converge solution น่าจะจบลงตรงที่ summation ของ $U_{k}$ แล้ว take limit

มันควรจะได้ form เดียวกันกับ $u(x,t)$ ในโจทย์ (ตัวแปร $t$ โพล่มายังไง? อาจารย์ถาม?)

สรุปว่า paper นี้ใช้คอมพิวเตอร์ตัด algorithm ส่วนใหญ่ครับ แล้วโดดไป simplify converge solution เลย

ปล. ทั้งหมดนี้ ผมทดเองกับมือแล้วสังเกตดูว่ามันจะจบลงด้วย algorithm จำกัดครับ

สำหรับคำถามปลายเปิดที่อาจารย์คุณอาจจะถาม เช่นมีวิธีจัดการดีกว่านี้มั้ยก็บอกไปเลยว่า

computer+finite difference นี่แหละ มันยังเป็น main approach ของพวก Diff EQ อยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 07 ตุลาคม 2016, 12:04
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

ถ้าใช้เวปช่วยคำนวน หรือ เครื่องมือคำนวน การเขียนเปเปอร์ ต้องใช้อนุกรมอนันต์ ที่แสดงว่าเป็นคลื่น ตามทฤษฎีของไอนสไตน์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 07 ตุลาคม 2016, 12:59
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kongp View Post
ถ้าใช้เวปช่วยคำนวน หรือ เครื่องมือคำนวน การเขียนเปเปอร์ ต้องใช้อนุกรมอนันต์ ที่แสดงว่าเป็นคลื่น ตามทฤษฎีของไอนสไตน์
เห็นใจคนที่เขาเข้ามาแล้วอยากได้คำตอบที่มีคุณภาพบ้างสิครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 07 ตุลาคม 2016, 14:02
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

อ้อ ใช้ ทูลพวก C,Pascal program ชองมหาลัยในอเมริกา มาช่วยในการทำวิจัย (ผมตอบเพื่อแนะให้คิดกว้างขึ้นครับ แม้สายคณิตศาสตร์ไม่หมายรวมแนวคิดทางฟิสิกส์ในการเขียนเปเปอร์ คุณภาพอยู่ตรงนี้ ใช่มั้ยครับ ? อ้างทฤษฏีต่างๆ เก่ง ก็แล้วแต่อาจารย์ที่ตรวจมั้งครับ บางทีผลสรุปไม่ออกมางดงาม ก็แย่ละนะ)

ตอนผมสนใจเรื่องแบบนี้ได้ library ของ Cornal Uni. มา ก็บื้อซื่อ อยู่นาน ไฟล์เต็มไปหมด ไม่อยากให้น้องเป็นแบบผม รู้ๆไว้ ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 07 ตุลาคม 2016, 14:18
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

ลองถามอาจารย์ รศ.ดร. ไพศาล นาคมหาชลาสินธุ์ นะครับ ท่าสอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์ ติดต่อดู (อาจจะใช้เวลานาน ถ้าสนใจมากก็ถามท่าน นะครับ)

07 ตุลาคม 2016 14:18 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ kongp
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 07 ตุลาคม 2016, 15:04
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

RDTM = Recursive division Time Mean. ? แนวคำตอบแบบ Difrerence Equations แล้ว c คือความเร็วแสงที่เค้าประมาณได้และใช้ในเปเปอร์นี้
n คือ ความหนืด ในเวปนี้ https://en.wikipedia.org/wiki/Whitham_equation

ใส่สมการ 18, 19 ใน Wolfram Alpha ดูนะครับ ถ้าไม่ออก เข้ามหาลัยให้เครื่องของภาควิชา ใส่สมการนี้ดู น่าจะง่าย ถ้ามีโปรแกรมดี รุ่น Profesional

วิชาเกี่ยวกับเลเซอร์ ก็ใช้การคำนวนแนวๆ นี้ สายช่าง เอาสมการซีรีย์ใส่เครื่องคิดเลข Casio 9800 ขึ้นไป ทั้งคำนวนตามโจทย์ และ แสดงกราฟทั้งหมด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:21


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha