Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #61  
Old 13 เมษายน 2010, 17:50
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

ขอถามนิดนึงนะครับ ข้อ 8 นี่หมายความว่า สมมติ จำนวน $n$ จำนวนที่ว่า เป็น $a_1,a_2,\cdots,a_n$ ก็จะได้ว่า $a_i\pm\sqrt{a_i}=$ sq. of a rational number เมื่อ $i=1,2,\cdots n$ ใช่ไหมครับ?

13 เมษายน 2010 17:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #62  
Old 14 เมษายน 2010, 19:50
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Little Penguin View Post
ขอถามนิดนึงนะครับ ข้อ 8 นี่หมายความว่า สมมติ จำนวน $n$ จำนวนที่ว่า เป็น $a_1,a_2,\cdots,a_n$ ก็จะได้ว่า $a_i\pm\sqrt{a_i}=$ sq. of a rational number เมื่อ $i=1,2,\cdots n$ ใช่ไหมครับ?
ที่ถามมาก็ถูกครับ แต่ในเฉลยจริงๆ เขาแสดงให้เห็นว่าหาได้ไม่จำกัด (infinity)
เพราะเดิมโจทย์ก็ไม่ได้บอกว่า n เป็นเท่าไรอยู่แล้ว จึงหาไปได้เรื่อยๆ

ผมขอยกตัวอย่างคำตอบแรกของเขานะครับ

คำตอบแรกสุดคือ (25/24)^2 เนื่องจาก (25/24)^2 + (25/24) = (35/24)^2
และ (25/24)^2 - (25/24) = (5/24)^2 เป็นต้น

ผมไม่ได้เข้ามาตอบนานมากแล้ว ลืมวิธีพิมพ์สมการเกือบหมด เอาไว้จะทบทวนใหม่
และพิมพ์ให้สวยกว่าคำอธิบายข้างต้น :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #63  
Old 14 เมษายน 2010, 20:01
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

มาพบกับปัญหาข้อ 9 กันเลยครับ!

-----------------------------------------------------------------------------------------------

Problem 9:
To find a comnon value of x that will make
a2x2 +/- ax = , b2x2 +/- bx = , c2x2 +/- cx = , etc. ad infinutum.



ปัญหาข้อ 9:
จงหาค่าของ x ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ a2x2 +/- ax = ,
b2x2 +/- bx = , c2x2 +/- cx = , ต่อไปจนถึงอนันต์


-----------------------------------------------------------------------------------------------

ผมมีปัญหากับการพิมพ์เครื่องหมายบวกลบ (+/-) ทำให้สวยไม่ได้
แต่คิดว่าคงพอเข้าใจได้

ขอให้สนุกกับการแก้โจทย์นะครับ :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #64  
Old 14 เมษายน 2010, 20:02
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

มาพบกับปัญหาข้อ 10 กันเลย ไม่ต้องรอช้า!

-----------------------------------------------------------------------------------------------

Problem 10:
Find three square numbers in arithmetical progression,
such that if from each its root be subtracted, the
three remainders shall be rational squares.


ปัญหาข้อ 10:
จงหาจำนวนยกกำลังสอง 3 จำนวนในลำดับเลขคณิต,
ซึ่งหากนำรากของมันมา "ลบออกจากตัวมันเองแล้ว",
ผลลัพธ์ทั้งสามค่าต้องเป็นจำนวนตรรกยะยกกำลังสอง.



-----------------------------------------------------------------------------------------------


ขอให้สนุกกับการแก้โจทย์นะครับ :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

14 เมษายน 2010 20:04 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #65  
Old 14 เมษายน 2010, 20:09
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

เครื่องหมาย บวกลบ ใน LaTeX ให้ใช้โค้ด \pm ได้ครับ

Edit: ข้อ 8 ให้ $\displaystyle a_i=\frac{\left(i^2+2i+2\right)^4}{16i^2\left(i+1\right)^2\left(i+2\right)^2}$ เมื่อ $i\in\mathbb{N}$
จะได้
$\displaystyle a_i+\sqrt{a_i}=\left(\frac{\left(i^2+2i+2\right) \left(i^2+4i+2\right)}{4i \left(i+1\right) \left(i+2\right)}\right)^2$

$\displaystyle a_i-\sqrt{a_i}=\left(\frac{\left(i^2+2i+2\right) \left(i^2-2\right)}{4i \left(i+1\right) \left(i+2\right)}\right)^2$

ดังนั้น มีำจำนวนตรรกยะ $a_i$ จำนวนไม่จำกัดที่ $a_i\pm\sqrt{a_i}$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์

ข้อ 6 เราก็นิยาม $a_i=\left(i^2+2i+2\right)^2,b_i=4i\left(i+1\right) \left(i+2\right)$ จะได้ $a_i^2\pm a_ib_i$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์เช่นกันครับ

14 เมษายน 2010 21:25 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #66  
Old 14 เมษายน 2010, 21:22
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post
...a2x2 +/- ax = ,...
ทำไมผมเห็นสัญลักษณ์หลังสมการอันด้านบน เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ข้างในมีตัวอักษร F087 อยู่
ไม่ทราบว่ามันคืออะไรครับ

ขอถามหน่อยนะครับว่า พวก a,b,c,x อะไรพวกนี้ เป็นจำนวนตรรกยะ หรือ จำนวนเต็ม ครับ? คิดว่าระบุไว้น่าจะดีครับ เพราะว่าแต่ละข้อมันไม่เหมือนกัน

14 เมษายน 2010 21:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #67  
Old 14 เมษายน 2010, 23:50
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Little Penguin View Post
ทำไมผมเห็นสัญลักษณ์หลังสมการอันด้านบน เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ข้างในมีตัวอักษร F087 อยู่
ไม่ทราบว่ามันคืออะไรครับ

ขอถามหน่อยนะครับว่า พวก a,b,c,x อะไรพวกนี้ เป็นจำนวนตรรกยะ หรือ จำนวนเต็ม ครับ? คิดว่าระบุไว้น่าจะดีครับ เพราะว่าแต่ละข้อมันไม่เหมือนกัน
เครื่องผมเห็นแต่กล่องสี่เหลี่ยม (ไม่มีตัวอักษร F087 อยู่ข้างใน) หมายถึง จำนวนยกกำลังสอง (Squared)
พวก a, b, c, x เป็นจำนวนตรรกยะครับ !
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #68  
Old 14 เมษายน 2010, 23:51
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ลองมาดูโจทย์ข้อ 23 กันดีกว่า ... พยายามโพสต์รูปตามหนังสือต้นฉบับ
คงต้องขอแรงใครสักคนแปลโจทย์ให้หน่อย ผมอ่านแล้วมึน :-)

ในตอนท้ายสุดของบรรทัดที่ 4 ซึ่งเป็นเครื่องหมาย Xd หมายถึง ถูกคูณ
(คงมาจาก multiply + ed = multiplied ในเล่มเขาชอบย่อแบบนี้)
.
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

14 เมษายน 2010 23:55 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #69  
Old 15 เมษายน 2010, 09:05
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

สำหรับ ข้อ 7
เราเลือก $\displaystyle x=5^{4n}$
เราสามารถแสดงได้ว่า $5^{2n}$ สามารถเขียนได้ในรูปของผลบวกของกำลังสองของจำนวนเต็มบวก 2 จำนวนได้อย่างน้อย $n$ แบบที่แตกต่างกัน
ให้ $\displaystyle 5^{2n}=x_i^2+y_i^2$ เมื่อ $i=1,2,\cdots,n$ โดยที่ $x_i>y_i>0$ และ $\left\{x_i,y_i\right\}\not=\left\{x_j,y_j\right\}$ สำหรับ $i\not =j$ ใดๆ

เลือก $\displaystyle a_i=4x_iy_i\left(x_i^2-y_i^2\right)$
สังเกตว่า $\displaystyle x=5^{4n}=\left(x_i^2+y_i^2\right)^2$

จาก $\displaystyle x^2\pm a_ix=\left(\left(x_i^2\pm 2x_iy_i-y_i^2\right) \left(x_i^2+y_i^2\right)\right)^2$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ เราจึงเลือก $x,a_i$ ได้ตามที่โจทย์ต้องการ

สำหรับข้อ 9 สังเกตว่า
$$x^2\pm a_ix=sq.\Leftrightarrow \left(\frac{x}{a_i}\right)^2\pm\frac{x}{a_i}=sq.\Leftrightarrow b_i^2x^2\pm b_ix=sq.$$
เมื่อ $\displaystyle b_i=\frac{1}{a_i}$

ดังนั้น ในทำนองเดียวกับข้อ 7 เราเลือก $x=5^{4n}=\left(x_i^2+y_i^2\right)^2$, $\displaystyle b_i=\frac{1}{4x_iy_i\left(x_i^2-y_i^2\right)}$

ก็จะได้ว่า $\displaystyle b_i^2x^2\pm b_ix=\left(\frac{\left(x^2\pm2xy-y^2\right) \left(x^2+y^2\right)}{4xy \left(x^2-y^2\right)}\right)^2$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ตามต้องการ

Edit: เพิ่งนึกขึ้นได้ ข้อ 7 กับ 9 พวก $a,b,c,...$ (ตัวที่ไม่ใช่ common value ทั้งหมด) พวกนี้ เขาเลือกมาให้เรา หรือว่า ให้เราเลือกเองครับ?

15 เมษายน 2010 12:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #70  
Old 15 เมษายน 2010, 12:38
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post
คุณละครับ คิดว่าต้องมีกำลังห้าอย่างน้อยกี่จำนวน จึงจะให้ผลรวมเป็นกำลังห้าได้ ?

ประเด็นนี้ผู้เขียนบทความคือ Artemas Martin of Washington บอกไว้ว่าเขาไม่เคยค้นพบกรณีของ 3, 4 หรือ 5 จำนวน
ที่ให้ผลรวมเป็นกำลังห้า นั่นคือต่ำสุดต้องใช้ 6 จำนวน (แต่ไม่มีการพิสูจน์ ใครอยากลองค้นหาข้อแย้งก็เชิญได้ครับ)
ตามวิกิ L. J. Lander, T. R. Parkin เขาพบสมการนี้ตั้งแต่ปี 1966 ครับว่า:

$$27^5+84^5+110^5+133^5=144^5$$

15 เมษายน 2010 12:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #71  
Old 15 เมษายน 2010, 12:43
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

#68
เพื่อความสะดวก ขอใช้การถอดความและขยายความแทนการแปลตามตัวอักษร สงสัยว่าตรงไหนผิดหรือไม่ชัดเจนบอกได้นะครับ

23. จงหาจำนวนจัตุรัสสี่จำนวน $a,b,c,d$ ที่ทำให้
(1) $\sqrt{a}+\sqrt{b}+\sqrt{c}+\sqrt{d}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(2) $a+d$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(3) $b+c$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(4) $(\sqrt{c}+\sqrt{d})\sqrt{c}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(5) $(\sqrt{c}+\sqrt{d})\sqrt{b+d}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(6) $a+b+c+3c$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(7) $a+b+c+d+3c$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(8) $cd+ab$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(9) $cd+ac$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(10) $cd+bc$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(11) $cd+ab+ac+bc$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(ตั้งแต่ข้อ 12-14 เป็นความสัมพันธ์แบบ cyclic จะแสดงแค่ตัวอย่างหนึ่งตัวเท่านั้น: ผู้แปล)
(12) $a+\sqrt{b}+\sqrt{c}+\sqrt{d}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(13) $(\sqrt{a}+\sqrt{b})^2+\sqrt{c}+\sqrt{d}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(14) $(\sqrt{a}+\sqrt{b}+\sqrt{c})^2+\sqrt{d}$ เป็นจำนวนจัตุรัส
(15) จงหาจำนวนจัตุรัสอีกสี่จำนวน $p,q,r,s$ ที่ $p+\sqrt{q}+\sqrt{r}+\sqrt{s},\ q+\sqrt{p}+\sqrt{r}+\sqrt{s},\ r+\sqrt{p}+\sqrt{q}+\sqrt{s}$ เป็นจำนวนจัตุรัสทุกตัว
และ $p,q,r,s$ สอดคล้องเงื่อนไขข้อ $2-11$
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #72  
Old 15 เมษายน 2010, 23:08
TitanTS's Avatar
TitanTS TitanTS ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤษภาคม 2009
ข้อความ: 27
TitanTS is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Little Penguin View Post
ข้อ 6 เราก็นิยาม $a_i=\left(i^2+2i+2\right)^2,b_i=4i\left(i+1\right) \left(i+2\right)$ จะได้ $a_i^2\pm a_ib_i$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์เช่นกันครับ
ไม่ได้เข้ามาแปบเดียว พัฒนากันไวดีนะครับนี้
อันนี้ข้อ 6 ในแบบของผม (เห็นเขานิยมเขียนแบรูปเท่าไปกันเลยอยากเขียนบ้าง)

$a^2\pm ab = sq.$
$a = (u^2 + v^2) ,$
$b = 4uv(u-v)(u+v)$

แล้วถ้าเราคูณ $a_i$ เข้าไปด้วย $k^2$ เราก็จะได้เพิ่มอีกไม่รู้จักจบ

ส่วนข้อ 7 มาในลักษณะเดียวกัน สังเกตตรงที่ว่า $a = (u^2 + v^2)$ ต้องใช้หลาย u,v ที่ทำให้ได้ a เท่ากัน
จากความขี้เกียจของผมก็เลยไปดึงเอาเลขจากตาราง Pythagorean triples เอามาคำนวนหา a,b โดยเลือกเอาตรงที่มี $u^2 + v^2$ มากๆ (อย่างที่ผมเอามาก็คือ $425^2$)

ปัญหาคือผมรู้ได้อย่างไงว่ามี $x$ ที่ทำให้สร้างสมการกี่สมการก็ได้คำตอบคือ
เอกลักษณ์นี้ (ว่ากันว่า คิดโดย Brahmagupta ชาวอินเดีย)
$(x_1^2+y_1^2)(x_2^2+y_2^2) = (x_1y_1+x_2y_2)^2 + (x_1y_2-x_2y_1)^2$

แค่สมมุติว่าเรามี
$a_1^2+b_1^2=a_2^2+b_2^2=a_3^2+b_3^2=....=a_n^2+b_n^2$
เราก็จะสร้างสมการได้ n สมการแล้ว
ทีนี้ถ้าผมเอามาคูณต่อด้วยอะไรซักอย่างเราก็ยิ่งมีสมการเพิ่ม
$(c^2+d^2)(a_1^2+b_1^2)=(ca_1+db_1)^2+(cb_1-da_1)^2=(cb_1+da_1)^2+(ca_1-db_1)^2$
$=(c^2+d^2)(a_2^2+b_2^2)=(c^2+d^2)(a_3^2+b_3^2)=(c^2+d^2)(a_n^2+b_n^2)$

15 เมษายน 2010 23:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TitanTS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #73  
Old 15 เมษายน 2010, 23:35
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ขอบคุณ #71 ของคุณ nongtum ที่ช่วยแปลโจทย์ยาวเหยียดข้อ 23 ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
(เพื่อนๆ บางคนอาจเก่ง Math แต่อาจจอดเพราะโจทย์ภาษาอังกฤษได้)

ขอบคุณ #70 ของคุณ Little Penguin ที่ช่วย Update ข้อมูลเกี่ยวกับกำลังห้า

ขอบคุณหลายคนที่ช่วยกันเสนอแนวคิดการแก้โจทย์ ผมคิดว่ากระทู้คงเป็นประโยชน์
กับน้องๆ อีกหลายรุ่นเลย :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #74  
Old 15 เมษายน 2010, 23:39
TitanTS's Avatar
TitanTS TitanTS ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤษภาคม 2009
ข้อความ: 27
TitanTS is on a distinguished road
Default

^
#72
ข้างบนผมแก้แค่ทีเดียวทำไมมันขึ้นมามากมายอย่างงี้
มาต่อกันที่ข้อ 8
มันก็คล้ายๆกับ ข้อที่ผ่านมาแค่ให้ b=1 เราก็แค่เอา $4uv(u+v)(u-v)$ หารออกตลอดก็จะได้

$a^2 \pm a =sq.$
$a = \frac{u^2 + v^2}{4uv(u+v)(u-v)} $

ดูถ้ามันง่ายขึ้นกว่้าข้อแรกๆมากเลยครับนี้
แล้วใครมีเวลาลองกลับไปดูข้อที่เราข้ามกันมาด้วยนะครับ

15 เมษายน 2010 23:43 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TitanTS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #75  
Old 15 เมษายน 2010, 23:46
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ตอบคุณ Little Penguin ในท้าย #69 ที่ถามว่า

Edit: เพิ่งนึกขึ้นได้ ข้อ 7 กับ 9 พวก a,b,c,... (ตัวที่ไม่ใช่ common value ทั้งหมด) พวกนี้ เขาเลือกมาให้เรา หรือว่า ให้เราเลือกเองครับ?

พวก a,b,c,... ให้เราเลือกได้เอง ซึ่งก็ต้องเลือกเพื่อให้ x เป็น common value
ดังนั้น x แต่ละตัว ก็จะมี a,b,c,... ที่ไม่เหมือนกันไปเรื่อยๆ
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:56


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha