Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 28 กรกฎาคม 2010, 18:29
Ne[S]zA's Avatar
Ne[S]zA Ne[S]zA ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,221
Ne[S]zA is on a distinguished road
Default ถามเรื่อง Riemann zeta function หน่อยครับ

คืออยากทราบว่า Riemann zeta function
$$\xi (s)=\sum_{k = 1}^{\infty} \dfrac{1}{k^s}$$
สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างครับ >>>> อยากได้แนวไปทำโครงงาน
__________________
||!<<<<iNesZaii>>>>!||
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 กรกฎาคม 2010, 21:27
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ลองหาจาก google เจอในวิชา Quantum Field Theory ครับ ไม่รู้ว่าจะโหดไปรึเปล่า ลองดูครับ

Casimir effect
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 29 กรกฎาคม 2010, 17:45
Ne[S]zA's Avatar
Ne[S]zA Ne[S]zA ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,221
Ne[S]zA is on a distinguished road
Default

มันโหดไปครับ เหอๆ พอจะมีเรื่องที่มันเบาๆหน่อยมั้ยครับ ขอบคุณสำหรับการช่วยเหลือครับ อิอิ
__________________
||!<<<<iNesZaii>>>>!||
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 29 กรกฎาคม 2010, 18:51
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็นโครงงานเลข ม.ปลาย ทำไมไม่ลองเปลี่ยนจาก focus ที่ application ไป focus ที่ visualization แทนล่ะครับ เพราะ Riemann zeta function เกี่ยวข้องกับ prime number distribution

ผมว่าแค่ ทำให้คนทั่วไปมองภาพ Riemann zeta function/Riemann hypothesis แบบถูกต้องและเข้าใจง่ายๆ ก็ถือว่าเก่งแล้วนะครับสำหรับ เด็ก ม.ปลาย

p.s. แต่ถ้าจะทำ visualization กันจริงๆ อาจต้องมีพื้นฐาน programming หรือ maths software นิดหน่อยครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 29 กรกฎาคม 2010, 19:08
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Ne[S]zA View Post
มันโหดไปครับ เหอๆ พอจะมีเรื่องที่มันเบาๆหน่อยมั้ยครับ ขอบคุณสำหรับการช่วยเหลือครับ อิอิ
ไม่ทราบว่าเรื่องเบาๆที่ว่า เป็นพวกนุ่น หรือสำลี ได้มั้ยครับ อิอิ
หมายเหตุ จะได้ไม่เครียดครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 29 เมษายน 2011, 09:14
o_gilbert o_gilbert ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 เมษายน 2011
ข้อความ: 2
o_gilbert is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Ne[S]zA View Post
คืออยากทราบว่า Riemann zeta function
$$\xi (s)=\sum_{k = 1}^{\infty} \dfrac{1}{k^s}$$
สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างครับ >>>> อยากได้แนวไปทำโครงงาน
พอดีผ่านเข้ามา เห็นคำถามของคุณ Ne[S]zA ผมเองก็เคยสงสัยมาก่อน ว่า Riemann zeta function นี่มันใช้ยังไง และสำคัญยังไง เข้าใจหัวอกคับ เลยขออนุญาต ช่วยตอบเท่าที่ผมรู้นะคับ

คุณ Ne[S]zA มีคำถามว่า Zeta function เราจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์อะไร ได้อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นเลย ต้องเข้าใจจุดเริ่มของเรื่องนี้ก่อนนะคับ
ย้อนกลับไปเมื่อ เกือบ 200 ปีก่อน Leonhard Euler เขาทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องของจำนวนเฉพาะ และสร้าง Zeta function ขึ้นมาก่อน เพียงแต่นิยามใช้กับจำนวนจริงเท่านั้น แล้ว Euler ก็ค้นพบว่า Zeta function ของเขา มีความลับที่สัมพันธ์กับ รูปแบบของจำนวนเฉพาะซ่อนอยู่ นั่นก็คือ

Zeta function = 1+ 1/2^k+ 1/3^k+ 1/4^k... = (2^k/2^k -1)(3^k/3^k -1)(5^k/5^k -1)...

เราจะเห็นได้ว่า เมื่อเอาผลรวมของอนุกรม Zeta function มาเขียนใหม่ จะเห็นว่า สามารถเขียนได้ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะไปได้จนถึง infinity เลยคับ (อยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ infinite ตัว)
นั่นคือ เราเห็นได้ชัดเจนเลยว่า มันเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะนั่นเอง เมื่อพบดังนี้ ดังนั้น Euler คงจินตนาการตอนนั้นได้ว่า Zeta function อาจจะเป็นกุญแจไขความลับของ pattern หรือ รูปแบบ ของจำนวนเฉพาะนั่นเอง ดังนั้น Euler อาจจะกำลังเข้าใกล้ความลับของจำนวนเฉพาะเข้าไปอีกนิดก่อนใครเลยในยุคนั้น

จากจุดนี้ อีกหลายสิบปีต่อมา Riemann เขาสนใจในเรื่องของจำนวนเฉพาะเช่นกัน จึงเอา zeta function จาก Euler ทำไว้ มาศึกษาต่อคับ ซุ่มศึกษาค้นคว้า และได้ตีพิมพ์งานวิจัยออกมาตัวหนึ่งในปี 1859 ชื่อภาษาอังกิดว่า 'On the number of Prime number less than a given Magnitude' ความยาว 8 หน้า ต้นฉบับคือภาษาเยอรมันนะคับ ชื่อว่า 'Ueber die Anzahl der Primzahlen unter einer gegebenen Grosse' คนในวงการเรียก paper ชื่อดังนี้ สั้นๆว่า 'Ueber die Anzahl' แปลเป็นไทยก็ประมาณว่า 'จำนวนของจำนวนเฉพาะน้อยกว่าขนาดที่กำหนดมาให้' เขานำ Zeta function จาก Euler มาทำการศึกษาต่อ โดยนิยาม k ใน zeta function จากจำนวนจริง มาเป็นเป็นจำนวนเชิงซ้อน k = x+yi คับ
เมื่อ Riemann เขานำ Zeta function มาเล่นในจำนวนเชิงซ้อนแล้ว ทำให้เราในยุคนี้พบคุณสมบัติอื่นๆที่สวยงาม เกี่ยวกับ Number Theory (ทฤษฎีจำนวน) อีกมากมายเลยคับ เราก็คงไม่รู้ว่า ในตอนนั้น ตัวของ Riemann เขาอาจจะต้องการที่จะหา Pattern ของจำนวนเฉพาะ หรือ เขาอาจจะค้นหาความลับอื่นๆของจำนวนเฉพาะหรือไม่อย่างไร เพราะใน paper นี้เขาบอกว่า ไม่ใช่เรื่องที่เขาสนใจ แต่เขาพบว่า เมื่อเขา นำ Zeta function มาเล่นในจำนวนเชิงซ้อนแล้ว เจ้า Zeta function นี่จะเขียนใหม่ได้ในรูปนึงของ Gamma function+Trigon+Zeta function รวมกัน(ซ้อนในสมการอีกที) เขาเรียกรูปแบบใหม่นี้ว่า Functional equation ของ Zeta function นะคับ (สมการเชิงฟังก์ชั่นของ Zeta funcion)เมื่อได้ Functional equation มาแล้ว เขาเกิดการคาดการณ์นึงขึ้นมาคับว่า Root (zero) ของ Zeta function จำนวนหนึ่ง จะมีส่วนจริง Real part = 1/2 เราเรียก Root พวกนี้ของ zeta function ว่า Non-Trivial zeros หรือ รากที่ไม่ชัดแจ้ง นั่นเอง คับ
นั่นคือ F(z) = 0 ก็ต่อเมื่อ z =1/2+yi โดยที่ z ก็คือ non-trivial zero (root) ประมาณนี้นะคับ
ซึ่งต่อมาการคาดการณ์ที่เป็นสมมติฐาน ใน paper นี้ ของ Riemann ได้กลายมาเป็นปัญหาที่มีชื่อเสียงมากๆ
ปัญหานี้ถูกตั้งชื่อว่า Riemann Hypothesis หรือ สมมติฐานของรีมันน์
ที่ตอนนี้เป็นเวลา 150 กว่าปีมาแล้ว ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจริงหรือไม่จริง น่ะเองคับ
จริงๆแล้ว นักคณิตศาสตร์ในอดีตนั้น เขาก็มีพยายามที่จะหารูปแบบของจำนวนเฉพาะเช่นกันคับ และพอมาเจอกับการคาดการณ์ในสมมติฐานของ Riemann อีก นักคณิตศาสตร์เขาพบว่าปัญหาเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันคับ คือถ้าบอกได้ว่า non-trivial zero มีส่วนจริงเป็น 1/2 ทุกตัวรึไม่ เราก็อาจเจอรูปแบบของจำนวนเฉพาะได้เช่นกัน หรือ ถ้าเราเจอรูปแบบของจำนวนเฉพาะแล้ว เราก็อาจจะตอบคำถามของ Riemann ได้ว่าการคาดการณ์ของเขาจิงรึไม่ นั่นเองคับ ซึ่งทุกอย่างก็คำนวณวิเคราะห์มาจาก functional equation ของ zeta function คับ ทั้งหมดนี้ก็เป็นประวัติย่อๆเกี่ยวกับ zeta function นะคับ
ที่นี้ ที่คุณ Ne[S]zA ถามว่า Zeta function จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้ยังไงบ้าง ตอบได้ว่าอย่างนี้คับ บอกได้เลยว่า zeta function นี่สำคัญกับอนาคตของมนุษยชาติเรามากๆคับ
เนื่องจากว่า จำนวนเฉพาะ Prime number เนี่ย เพราะมันไม่มี pattern ไร้รูปแบบคับ พวก 2 3 5 7 11 13 ... พวกนี้แหละคับ มันจึงถูกนำไปใช้ในการเข้ารหัส และระบบความปลอดภัย เกือบทุกอย่างเลยคับ แต่ที่เราเอาไปใช้งาน จะเป็น Prime number ที่ใหญ่กว่านี้มากๆ ซึ่งใช้ algorithm และถอดรหัสได้ยากมากคับ เพราะเงื่อนไขที่เราใช้หาจำนวน ในตอนนี้นั้น ก็คือ 'ตัวเลข ที่ 1 กับ ตัวมันเอง หารลงตัว' เท่านั้น ดังนั้น หากเป็นจำนวนที่ใหญ่มากๆ algorithm ในการหาจำนวนเฉพาะ ก็จะใช้เวลานานมากกกๆๆๆ ในการหาว่า ตัวเลขเฉพาะที่นำไปเข้ารหัสความปลอดภัยนั้น เป็นจำนวนเฉพาะตัวไหน ดังนั้น หากมีการค้นพบว่า สมการของรูปแบบของจำนวนเฉพาะ
เป็นอย่างไร ได้ขึ้นมาแล้วละก็ ทีนี้ละคับ ระบบ security ทั้งหมดก็จะใช้ไม่ได้เลยคับ เพราะตอนนั้น เราคงสามารถสร้างสมการ pattern หรือ sequence ของจำนวนเฉพาะ เพื่อ access หาจำนวนเฉพาะ ไป hack เข้า server หรือระบบความปลอดภัยอื่นๆได้ทั้งหมด พูดได้เลยว่าเราต้องยกเครื่องเปลี่ยนระบบ security กันใหม่ทุกอย่าง การเข้ารหัส login e-mail , Server, ระบบความปลอดภัยของการเงิน องค์กรต่างๆ จนถึงระบบขีปนาวุธ-นิวเคลียร์ ต้องยกเครื่องใหม่เลย เพราะทุกวันนี้เราใช้จำนวนเฉพาะ มาทำการเข้ารหัสทั้งหมดนั่นเอง พูดเลยว่าถ้ารู้ความลับของรูปแบบจำนวนเฉพาะแล้วละก็ ความไร้ระเบียบ+ความโกลาหล ของโลกต้องเกิดขึ้นแน่นอน

ส่วนเรื่องการพิสูจน์ สมมติฐานของรีมันน์ ว่าจริงหรือไม่นั้น ตอนนี้ มีคนพยายามคำนวณ เจอ root หรือ non-trivial zero ของ zeta function ไปแล้ว ถึงตัวที่ 10^21 (ตัวที่ 10 ยกกำลัง 21) zero ตัวนี้ ก็ยังมี real part = 1/2 อยู่คับ
ซึ่ง สมมติฐานรีมันน์ ยังจริงอยู่ แต่นี่ยังเป็นกรณี finite หรือ จำกัด อยู่นั่นเอง หากจะพิสูจน์ได้ทั้งหมด เราต้องบอกได้ว่า zero ทุกๆตัว ไปจนถึงที่อนันต์ (แล้วตัวไหนละ) ก็ยังมี real part =1/2 อยู่ ซึ่งเห็นได้ว่า แค่ตัวที่ 10^21 ก็ยังไม่ใช่ ตัวที่ infinite หรือ อนันต์คับ ดังนั้น กรณี ตัวที่อนันต์จะพิสูจน์ได้นั้น เรายังต้องใช้เวลาและต้องหาความรู้ใหม่ๆอีกมาก เพื่อที่จะใช้นำมาหาคำตอบให้ไปถึงตัวที่อนันต์คับ
สรุปได้คร่าวๆก็คือ zeta function ถูกเรานำมาใช้ในเรื่องทฤษฎีจำนวนเพื่อหาสมบัติต่างๆของจำนวนเฉพาะ (เนื่องจากเราพบว่ามันอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ infinite ตัว) นั่นเองคับ
ดังนั้น ในอนาคต ถ้าวันนึงมีใครที่สามารถพิสูจน์สมมติฐานรีมันน์ได้จาก zeta function หรือพิสูจน์ได้จากวิธีอะไรอื่นๆก็ตาม ว่าจริง หรือไม่จริงยังไง ต่อไป เราคงจะมีคำตอบเกี่ยวกับ รูปแบบของจำนวนเฉพาะมากขึ้นกว่าปัจจุบันนี้อีกมากมาย และปริศนาคำถาม คงจะมีคำตอบทั้งหมดให้เราคับ แล้วเมื่อวันที่เรื่องของ zeta function และจำนวนเฉพาะมีคำตอบแล้ว เมื่อถึงวันนั้นเราก็คงจะต้องมานั่งเกาหัวกัน เพื่อมาหาจำนวนชนิดใหม่ใช้แทนจำนวนเฉพาะ ด้วยคับ เพื่อจัดระเบียบของโลกและธรรมชาติกันใหม่ เพราะจำนวนเฉพาะคงจะไม่มีใครใช้อีกแล้ว แล้วเราจะเรียกจำนวนชนิดใหม่นี้ว่าจำนวนอะไรดีเอ่ยทีนี้ อาจจะต้องสร้างจำนวน หรือหาจำนวนชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น จำนวนบักหำ,จำนวนน้องเหมียว, จำนวนบักเสี่ยว.,etc ฮาฮานะคับ อะไรปะมาณนี้แหละคับ
หากจะทำเป็นโครงงานคิดว่า อาจจะต้องเริ่มจากศึกษาประวัติของจำนวนเฉพาะและทฤษฎีจำนวนที่เกี่ยวข้องก่อน จะดีกว่าคับ เพราะเนื้อหาค่อนข้าง advanced มาก อย่างน้อยขอให้เราเข้าใจในความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาก่อน ผมว่าก็น่าจะโอเคแล้วคับ
หากสนใจสามารถศึกษาได้จากวิชา Complex analysis (การวิเคราะห์จำนวนเชิงซ้อน) นะคับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 29 เมษายน 2011, 10:51
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ o_gilbert View Post
แล้วเมื่อวันที่เรื่องของ zeta function และจำนวนเฉพาะมีคำตอบแล้ว

เมื่อถึงวันนั้นเราก็คงจะต้องมานั่งเกาหัวกัน เพื่อมาหาจำนวนชนิดใหม่ใช้แทนจำนวนเฉพาะด้วยคับ

เพื่อจัดระเบียบของโลกและธรรมชาติกันใหม่ เพราะจำนวนเฉพาะคงจะไม่มีใครใช้อีกแล้ว
คิดว่าจะมีวันนั้นหรือเปล่าครับ

ทำไมพอรู้คำตอบเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะแล้วเราถึงเลิกใช้เสียล่ะครับ

ศึกษามันมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรมแล้วจะทิ้งมันไปง่ายๆเลยหรือ

จำนวนเฉพาะคงน้อยใจแย่เลยนะ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 03 พฤษภาคม 2011, 21:00
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
คิดว่าจะมีวันนั้นหรือเปล่าครับ

ทำไมพอรู้คำตอบเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะแล้วเราถึงเลิกใช้เสียล่ะครับ

ศึกษามันมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรมแล้วจะทิ้งมันไปง่ายๆเลยหรือ

จำนวนเฉพาะคงน้อยใจแย่เลยนะ
เขาคงหมายถึงว่า หมดความสนใจในการใช้จำนวนเฉพาะในการเข้ารหัสในลักษณะที่ใช้ในปัจจุบัน หรือเปล่าครับ? ซึ่งถ้าถึงเวลานั้นจริงๆ ระบบความปลอดภัยบนโลกก็คงปั่นป่วนหนักแน่ๆ ก็คงต้องปล่อยให้พวกผู้เชี่ยวชาญเขาหาวิธีแก้ไขกันต่อไป

สิ่งที่คนคาดเดากันแต่ัยังพิสูจน์ไม่ได้แล้วก็ไม่ได้สมมูลกับ Riemann's Conjecture ก็มีอีกตั้งหลายๆอย่าง

สุดท้ายแล้ว ผมเชื่อนะครับว่าจำนวนเฉพาะก็ยังมีเสน่ห์ในตัวของมันอยู่ดี แล้วก็จะมีไปอีกนาน

03 พฤษภาคม 2011 21:01 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Little Penguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 พฤษภาคม 2011, 10:01
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

โลกของความจริง สมมติได้หลายแบบแล้ว กระบวนการคำนวนก็มีได้เช่นกันได้หลายแบบ ผลลัพธ์ก็มีด้วย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
โจทย์ Function ค่ะ areenart ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย 4 12 สิงหาคม 2009 15:40
Function JamesCoe#18 คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 2 22 กรกฎาคม 2009 13:50
ถามหา function ที่ map จาก นี้ ไป ยัง นั่น ? คนบ้า คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 4 13 มิถุนายน 2008 23:56
โจทย์function dektep พีชคณิต 2 05 ตุลาคม 2007 23:48
FUNCTION GOD ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 2 14 มีนาคม 2002 16:45


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:02


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha