Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 12 พฤศจิกายน 2005, 21:38
modulo modulo ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 เมษายน 2005
ข้อความ: 22
modulo is on a distinguished road
Arrow Binomial Expansion

เผอิญผมได้มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์ โครงการ Gifted คณิตศาสตร์ของภาคเหนืออะครับ (ที่ภาควิชาคณิต ม.ช.) ซึ่งได้เรียนเรื่อง ทฤษฎีบททวินาม

ก็เรียนไปเรื่อย ๆ จนมาถึงสูตรนี้
n Cr + nCr+1 = n+1Cr+1

อ.ที่สอนไม่ให้ใช้การพิสูจน์แบบกระจาย factorial ซึ่งมันจะพิสูจน์ได้ โดยใช้ pascal และอีกวิธีหนึ่ง...

สมมติให้มีของอยู่ n + 1 ชิ้น

OOOO....OO
|- n ชิ้น--| 1 ชิ้น
ต่อมา เราไม่เอา 1 ชิ้นนั้น ก็จะเหลือ n ชิ้น
จาก n ชิ้น เลือกมา r ชิ้น

ต่อมา อ.ก็บอกอะไรสักอย่าง สรุปได้เป็น nCr+1 และก็ สุดท้ายก็บอกว่าเอามารวมกันแล้วจะได้ n+1Cr+1

ตอนนั้นผมงง ตั้งแต่ตอนที่สอง ที่ว่า nCr+1 อะครับ งงมากก...

ถ้าใครพอมีความรู้ รบกวนช่วยอธิบายหน่อยนะครับ
__________________
Mathematics is the queen of Science.

12 พฤศจิกายน 2005 21:45 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ modulo
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 13 พฤศจิกายน 2005, 00:05
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ขออธิบาย ตั้งแต่เริ่มต้นเลยนะครับ

สมมติมีของ n+1 ชิ้น ต้องการเลือกออกมา r+1 ชิ้น (เท่ากับว่าได้\(\large{n+1 \choose r+1} \) วิธี)

ให้ x เป็นของชิ้นหนึ่งในบรรดาของ n+1 ชิ้น

แน่นอนว่า x อาจถูกเลือกอยู่ใน r+1 ชิ้นหรือไม่ถูกเลือกก็ได้

กรณีที่ 1: ถ้า x รวมอยู่ใน r+1 ชิ้น แสดงว่า เราจะเลือกของเพียง r ชิ้น(เพราะ x เลือกไปแล้ว) จากของ n ชิ้น นั่นคือได้\(\large{n \choose r} \) วิธี

กรณีที่ 2: ถ้า x ไม่รวมอยู่ใน r+1 ชิ้น แสดงว่า เรายังต้องเลือกของ r+1 ชิ้น จากของแค่ n ชิ้น(ไม่คิด x) นั่นคือได้\(\large{n \choose r+1} \) วิธี

ดังนั้น \(\large{n+1 \choose r+1}={n \choose r}+{n \choose r+1} \)

ซึ่งสูตรนี้ สามารถนำมาช่วยพิสูจน์ เอกลักษณ์ ข้างล่างนี้ได้ด้วย

\(\large {r \choose r}+{r+1 \choose r}+{r+2 \choose r}+...+{n \choose r}={n+1 \choose r+1} \)

(อันนี้ให้เป็นของแถมแล้วกันนะครับ )
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 13 พฤศจิกายน 2005, 03:07
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb

ที่อาจารย์สอนมาเป็นการมองตามความหมายของการจัดกลุ่ม มากกว่าจะมองที่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวครับ

นอกจากจะมองแบบที่น้อง passer-by บอกมาแล้ว เราอาจมองแบบความสัมพันธ์เวียนบังเกิด คือ หากเราต้องหา \({n+1 \choose r+1}\) จาก \({n \choose r}\) ที่ทราบค่าอยู่ก่อนแล้ว จะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะไม่เปลืองแรง

จากกลุ่มสิ่งของ \(r\) ชิ้น ที่ถูกเลือกมาจากของทั้งหมด \(n\) ชิ้น ที่เราเคยจัดไว้แล้ว เพียงเรานำของชิ้นใหม่ \(1\) ชิ้นที่เพิ่มเข้ามา ไปรวมกับกลุ่มสิ่งของนี้ ก็จะได้การจัดกลุ่มสิ่งของ \(r+1\) ชิ้น ที่เลือกมาจากสิ่งของ \(n+1\) ชิ้น ที่มีสิ่งของชิ้นใหม่ \(1\) ชิ้นเพิ่มเข้ามาด้วย จะได้จำนวนวิธีเป็น \({n \choose r}\) วิธี คงเดิม

เหลือเพียงการจัดกลุ่มสิ่งของที่ไม่รวมของชิ้นใหม่ \(1\) ชิ้นนั้น ทำได้โดยเลือกสิ่งของจำนวน \(r+1\) ชิ้น จากสิ่งของเดิมทั้งหมด \(n\) ชิ้น ได้จำนวนวิธีทั้งสิ้น \({n \choose r+1}\) วิธี

ดังนั้นจำนวนวิธีจัดกลุ่มทั้งหมดจึงเป็น \(\displaystyle{{n \choose r} + {n \choose r+1} = {n+1 \choose r+1}}\)


การมองความหมายของสูตรมากกว่าตัวเลขเพียงอย่างเดียว จะได้อะไรสนุกๆมากขึ้นเยอะเลยครับ อย่างเช่น Fermat's Little Theorem ที่บอกว่า

ถ้า \(a\) เป็นจำนวนนับและ \(p\) เป็นจำนวนเฉพาะ แล้วจะได้ว่า \(a^p \equiv a \bmod p\) (หรือ \(p \mid a^p - a\) นั่นเอง)

ก็มีคนมองว่า เราสามารถพิสูจน์ทฤษฎีนี้โดยใช้ความรู้เรื่องการจัดกลุ่มได้เช่นกัน

__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 12: Divisibility of Central Binomial Coefficients warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 11 25 กุมภาพันธ์ 2006 00:19
binomial problem brother ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 3 17 เมษายน 2005 19:47
โจทย์ของ simple[2] (โจทย์ binomial) infinity ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 2 21 กันยายน 2002 17:59


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:02


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha