Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > บทความคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 28 กรกฎาคม 2006, 15:42
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ TOP:
เรื่อง "computer search" ดูแล้วน่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะเรื่องที่
ทำให้เรา "สามารถหาbit ที่ n ของ p ได้โดยตรง ไม่ต้องหากันตั้งแต่ bit ที่ 1 ถึง n" ไม่รู้ว่าค้นพบโดย computer ได้อย่างไร มีใครตั้งเป็นข้อคาดเดาบางอย่างไว้ก่อน แล้วให้ computer ตรวจสอบเล่นๆอย่างนั้นหรือครับ อีกประเด็นหนึ่งคือ ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องเริ่มต้นหาจากบิตแรก แต่ว่าสุดท้ายแล้ว เราต้องคำนวณเยอะ พอๆกับเริ่มต้นหาจากบิตแรกรึเปล่า
มันเกิดจากการค้นพบสูตรที่เรียกกันว่า BBP formula: $$ \pi= \sum_{k=0}^\infty \frac{1}{16^k} \left( \frac{4}{8k+1} -\frac{2}{8k+4} -\frac{1}{8k+5} -\frac{1}{8k+6} \right) $$ โดยอาศัย integer relation detection algorithm ที่เรียกว่า PSLQ ครับ

นักคณิตศาสตร์จะรวบรวมค่าคงที่ที่น่าสนใจต่างๆส่งให้คอมพ์ แล้วรัน PSLQ ซึ่งเครื่องก็จะ search หาความสัมพันธ์ที่อาจมีอยู่ในรูปของ linear combination (over $\mathbb Z$) ของค่าคงที่เหล่านั้น เมื่อเครื่องรายงานความสัมพันธ์ที่มันค้นพบให้ทราบ เราจึงพิสูจน์สูตรนั้นด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์อีกทีครับ

ตอนที่เจอสูตร BBP เขาสังเกตเห็นพจน์ $16^k$ จึงคิดได้ว่าสูตรนี้สามารถนำไปใช้หาบิทที่ $n$ ของ $\pi$ ได้โดยตรง ซึ่งจะประหยัดแรงกว่าการหาตั้งแต่บิทที่ 1 ถึง $n$ มากๆเลยครับ ในตอนนั้น (1995) นักคณิตศาสตร์ตื่นเต้นและประหลาดใจกับการค้นพบนี้เป็นอย่างมาก เพราะไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะมีวิธีที่สามารถหาบิทที่ $n$ ของ $\pi$ ได้โดยตรง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 28 กรกฎาคม 2006, 22:30
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Post

ขออนุญาตอธิบายเสริม BBP formula ที่คุณ warut นำมาแสดง

คำว่า bit ในที่นี้ไม่ใช่แต่ละหลักในเลขฐาน 10

อย่างเช่นสูตร BBP ในที่นี้ จะเห็นว่าเป็นฐาน 16 แปลว่าผลลัพธ์ที่แทน n แต่ละครั้ง
จะได้ 1 hexadecimal (base 16) digit ของ p หรือเท่ากับ 4 bits ในฐาน 2
เพราะว่า 2^4 = 16

สรุปว่าสูตร BBP นี้ แทนค่า n แต่ละตัว จะให้ผลลัพธ์เป็นเลขฐาน 2 ทีละ 4 bits
(คำอธิบายนี้ ถูก/ผิด อย่างไร รบกวนคุณ warut แนะนำด้วยครับ)

BBP นี้มาจากชื่อของ David Bailey, Peter Borwein และ Simon Ploufe
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 28 กรกฎาคม 2006, 22:37
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Post

ถ้าใช้สูตรนี้ก็จะได้ออกมาครั้งละ 10 หลักในเลขฐาน 2 (10 bits)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 28 กรกฎาคม 2006, 23:01
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Switchgear:
สรุปว่าสูตร BBP นี้ แทนค่า n แต่ละตัว จะให้ผลลัพธ์เป็นเลขฐาน 2 ทีละ 4 bits
เอ... ผมไม่คิดว่ามันจะง่ายขนาดนั้นนะครับ เพราะมันยังมีตัวทดมาจากเทอมอื่นๆด้วย

คำว่า bit ของผมนี่ก็ใช้ในความหมายปกตินั่นแหละครับ ซึ่งก็มาจากคำว่า binary digit (ไม่ใช่ decimal digit) นั่นเอง

ถ้าใครสนใจเรื่องนี้เพิ่มเติม ลองไปดูได้ที่ PiHex ครับ

ผมขุดกระทู้นี้ขึ้นมาตอบ เพราะผมกำลังเคลียร์เรื่องตกค้างเก่าๆของผมที่ mathcenter ให้หมดน่ะครับ ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจสักเท่าไหร่ ยังไงก็ขอบคุณ คุณ Switchgear ที่ช่วยมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

29 กรกฎาคม 2006 18:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 29 กรกฎาคม 2006, 21:45
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Post

ใครสนใจที่มาและวิธีใช้ BBP formula อ่านเพิ่มในนี้ได้อีกที่หนึ่ง

nth_digit
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 09 ตุลาคม 2006, 17:28
snow_flyer snow_flyer ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 1
snow_flyer is on a distinguished road
Post

คิดตามไม่ทันเลย ยังไงช่วยเฉลยพิสูจน์สูตรให้หน่อยได้ไหมคะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 14 พฤษภาคม 2007, 09:45
munoi's Avatar
munoi munoi ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 เมษายน 2007
ข้อความ: 66
munoi is on a distinguished road
Default

โหย ! ยอดจิงๆเรยค่ะพี่ มายด์อ่านแล้วยังต้องทำความเข้าใจอยู่นานทีเดียวเลย ขอคำนับ1จอก ค๊า (คิคิ)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 24 พฤษภาคม 2007, 11:06
iMissU's Avatar
iMissU iMissU ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤษภาคม 2007
ข้อความ: 68
iMissU is on a distinguished road
Default

โอ้ว สุดยอดเรยยย
__________________
อย่าท้อเมื่อทุกข์ใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 25 พฤษภาคม 2007, 21:55
นายกอไก่'s Avatar
นายกอไก่ นายกอไก่ ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2007
ข้อความ: 15
นายกอไก่ is on a distinguished road
Default

เด็กน้อยคนนี้จะพยายามทำความเข้าใจนะ
แต่ตอนนี้ยังงงๆอยู่เลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 28 ธันวาคม 2007, 14:30
Amount of infinite Amount of infinite ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 พฤศจิกายน 2007
ข้อความ: 34
Amount of infinite is on a distinguished road
Default

หุหุ ดูๆแล้ว ไม่ค่อยรู้เรื่องเลย แต่กดเครื่องดูๆแล้ว ก็โอเคนะคับ สู้ๆ
__________________
บางครั้ง การที่เราจำทำอะไร เงินไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 16 พฤษภาคม 2008, 18:45
กรza_ba_yo's Avatar
กรza_ba_yo กรza_ba_yo ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 772
กรza_ba_yo is on a distinguished road
Default

คิดได้ไงคับสุดยอด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
An Euler's identity <Pol> พีชคณิต 0 21 กรกฎาคม 2001 10:34


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:02


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha