Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 29 กรกฎาคม 2005, 16:14
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post Number Pyramid

Number Pyramid

1
11
21
1211
111221
312211
13112221
...

Number Pyramid จะมีสมบัติอยู่ว่า บรรทัดที่ n จะเขียนโดยดูจากบรรทัด ที่ n-1 แล้วเขียนในรูป จำนวนครั้งที่เลขซ้ำต่อด้วยเลขที่ซ้ำ เช่น บรรทัดที่ 5 ไปบรรทัดที่ 6

111 -> 31 มี 1 อยู่ 3 ตัว
22 -> 22 มี 2 อยู่ 2 ตัว
1 -> 11 มี 1 อยู่ 1 ตัว

นำมาเขียนต่อกันจะได้ 111221 -> 312211

เราจะมีวิธีการที่จะหาจำนวนหลักของ Pyramid Number บรรทัดที่ n ได้โดยไม่ต้องไล่ไปทีละบรรทัดได้หรือไม่ครับ ใช้ความรู้เรื่องอะไรเข้ามาช่วยบ้าง ขอคำแนะนำหน่อยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 30 กรกฎาคม 2005, 12:53
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เท่าที่ทราบจำนวนหลักของพจน์ที่ n จะสอดคล้องกับ order-71 linear recurrence relation ซึ่งถ้า n มีค่ามากๆหรือมีจำนวนหลายๆค่าก็อาจจะคุ้มที่จะใช้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 31 กรกฎาคม 2005, 17:54
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon22

ลองแข็งใจนั่งมองอยู่เหมือนกันครับ. เกือบเห็น ๆ แต่แล้วก็หลุด ถ้ามัน 71 recuurence จริง ๆ นี่คงตายแน่ ๆ เลยครับ. ที่เห็นตอนนี้ (ถึง n= 13)ชัดแต่ไม่รู้ว่าถูกไหมคือ 3 ตัวท้ายจะสลับระหว่าง 2 1 1 กับ 2 2 1

เท่าที่ดู 1, 2, 4, 6, 6, 8, 10, 14, 20, 26, 34, 46, ...
จะเห็นว่า
4 = 2 + 2
6 = 4 + 2
6 = 6 + 4 - 4
8 + 6 + 6 - 4
10 = 6 + 8 - 4
14 = 10 + 8 - 4
20 = 14 + 10 - 4

26 = 20 + 14 - 8 --> เริ่มไป
34 = 20 + 26 - 12
46 = 26 + 34 - 14

อีกแบบเกือบสวยแต่ก็หลุดในที่สุด
6 = 2 + 2 + 2 , 10 = 6 + 6 - 2 , 26 = 14 + 10 + 2
6 = 4 + 2 + 0 , 14 = 8 + 6 + 0 , 34 = 20 + 14 + 0
8 = 6 + 4 - 2 , 20 = 10 + 8 + 2 , 46 = 26 + 20 + 0 --> หลุดเลย

พยายามดูแบบบล็อก ๆ คล้าย ๆ John Nash ใน A Butifulmind แต่รู้สึกเห็นแ่ค่บางบล็อค พลังจินตนาการยังไม่พอ มึน
เช่น แถว 9 : 3 1 1 3 1 2 1 1 1 3 1 2 2 1
กับแถว 12 : จะมีอยู่เหมือนกัน เป็นต้น.

31 กรกฎาคม 2005 17:57 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 06 สิงหาคม 2005, 23:14
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post

ขอบคุณมากครับ
แต่ว่า 71 recuurence มันคืออะไรหรือครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 สิงหาคม 2005, 00:24
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ให้ an แทนจำนวนหลักของพจน์ที่ n ของลำดับดังกล่าว "{an} satisfies an order-71 linear recurrence relation" หมายถึงมีค่าคงที่ c0, ..., c70 (ซึ่งในกรณีนี้เป็นจำนวนเต็มทุกตัว) ที่ทำให้สมการ\[a_{n+71}=c_{70}a_{n+70}
+c_{69}a_{n+69}+\dots+c_1a_{n+1}+c_0a_n\]เป็นจริงสำหรับทุกค่า n 1

ข้อมูลค่า c0, ..., c70 คงพอจะค้นหาได้นะ แต่จะใช้สูตรนี้ได้ก็ยังต้องรู้ค่า a1, ..., a70 อีกด้วยแหละครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 08 สิงหาคม 2005, 21:40
whitecloud whitecloud ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มกราคม 2005
ข้อความ: 4
whitecloud is on a distinguished road
Post

ขออนุญาตเสนออะไรให้คิดเล่นสักหน่อยน่ะครับ
คือผมคิดว่าผมจะละเรื่อง 71 recurrenceไว้เพราะ คงวุ่นวายมากและคาดว่าหากลองแก้ดูจะต้องมีปัญหากับ"ความเป็นพจน์ที่แท้จริงของ Number pyramidนี้"ฉะนั้น ขอเสนอ(แบบโง่ๆ)เหมือนการมองแบบธรรมดาว่า
1.สิ่งที่เรารู้คือ บรรทัดที่ n จะอธิบายว่าบรรทัดที่ n - 1 มีKกี่จำนวนและคงค่าKต่อท้ายไว้
2.สิ่งที่สังเกตได้อีกนั่นก็คือ ถ้าให้ บรรทัดที่1 เป็น 1 และบรรทัดที่ 2 เป็น 11 ดังเขียนไว้ตามลำดับ พบว่า ในบรรทัดเลขคี่ จะลงท้ายด้วย 221 และในบรรทัดเลขคู่จะลงท้ายด้วย 211
3.สิ่งที่สังเกตเห็นอีกคือ เลขสองหลักข้างหน้า หากพิจารณาบรรทัดคี่ นับแต่บรรทัดที่ 5 จะเป็น 11,13,31 เสมอ หากพิจารณาบรรทัดคู่ นับแต่บรรทัดที่ 6 จะเป็น 31,11,13
4.สิ่งที่สังเกตเห็นอีกคือ
พิจารณา บรรทัดคี่
บรรทัดที่ 5 11......12....21
บรรทัดที่7 13......11....2221
บรรทัดที่9 31......13....1211131221
บรรทัดที่11 1113..12.....21133112132113212221
บรรทัดที่13 1321..13.....2132111213122112311311222113......221
บรรทัดที่15 3113..11.....22...........................................................................221
บรรทัดที่17 1113..12............................................................................................221
บรรทัดที่19 1321..13......................................................................................................221
บรรทัดที่21 3113..11.............................................................................................................221
จะเห็นได้ว่า หากมองจากทางซ้ายเป็นหลัก ท่านจะพบความสัมพันธ์ดังที่ผมเน้นให้เห็น และคาดการณ์ว่า การเขยิบหลักแบบทวีคูณนี้ น่าจะทำให้เป็นแนวทางทางหนึ่งได้ เช่น ในบรรทัดเลขโดด 2,ในบรรทัดเลขสองหลัก4,ในบรรทัดเลขสามหลัก 8
แนวคิดบางอย่างที่อยากจะบอก
1.หากเราลองคิดโดยสร้างเครื่องมือหรือเงื่อนไข ที่ระบุเจาะจงไปในแต่ละหลักโดยให้เป็นการทำงานสองทาง(คือ ทางนึงยังมีความสัมพันธ์กับเลขข้างเคียงตามเงื่อนไขอยู่ เช่น 13...11...2221 หมายถึง เมื่อเรารู้ว่าในหลักที่เน้นคือ 11 เป็นเลขเรียงคงตัวอยู่อย่างงั้น ก็หาในหลักนั้น แล้วค่อยประกอบเป็นชุดใหญ่)
2.ไม่ลืมอยู่แล้วว่าต้องการหาบรรทัดที่ n และเลขต้องมหาศาลแน่ ฉะนั้นความสัมพันธ์ที่กล่าวข้างต้นนี้ อาจเปรียบได้กับ <0.00001 เมื่อเทียบกับผลทั้งหมด
(ติชมความบ้าของผมได้เลยด้วยความยินดี บรรทัดคู่ใครอยากลองลองไปทำดู พบใกล้เคียงกัน ขออภัยหากตั้งแล้วรกบอร์ด)
__________________
รอบๆตัวมีคนเพียง 2 คนนึงชื่อลาภ คนนึงชื่อยศ เราบรรพชิตไม่สนใจลาภ ยศ แต่ที่นี่สงบเหมาะกับผู้แอบอิงพเนจรเช่นเรา อา คณิตสถาน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 08 สิงหาคม 2005, 23:11
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon21

ผมลองเขียนถึงแถวที่ 13 เท่านั้นเองครับ. พลังไม่ถึงพอที่จะเขียนถึงแถวที่ 21 ด้วยสาเหตุหลัก คือ มันตกขอบกระดาษเสียก่อน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 12 สิงหาคม 2005, 16:44
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post

บรรทัดที่ จำนวนหลัก
1 1
2 2
3 2
4 4
5 6
6 6
7 8
8 10
9 14
10 20
11 26
12 34
13 46
14 62
15 78
16 102
17 134
18 176
19 226
20 302
21 408
22 528
23 678
24 904
25 1182
26 1540
27 2012
28 2606
29 3410
30 4462
31 5808
32 7586
33 9898
34 12884
35 16774
36 21890
37 28528
38 37158
39 48410
40 63138
41 82350
42 107312
43 139984
44 182376
45 237746
46 310036
47 403966
48 526646
49 686646
50 894810
51 1166642
52 1520986
53 1982710
54 2584304
55 3369156
56 4391702
57 5724486
58 7462860
59 9727930
60 12680852
61 16530884
62 21549544
63 28091184
64 36619162
65 47736936
66 62226614
67 81117366
68 105745224
69 137842560
70 179691598
71 234241786
72 305351794
73 398049970
74 518891358
75 676414798
76 881752750
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 23: Number Theory once more warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 17 28 ธันวาคม 2011 20:38
ช่วยคิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 0 08 กันยายน 2006 18:22
ปัญหา Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 4 16 พฤศจิกายน 2005 20:30
Missing number? passer-by ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย 60 11 มิถุนายน 2005 20:43
Carmichael number <warut> ทฤษฎีจำนวน 2 13 กรกฎาคม 2001 07:28


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 22:30


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha