Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 22 ธันวาคม 2006, 08:41
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Question Cardan's Method

การหารากของพหุนามกำลังสามอ่ะครับคือว่าผมลองอ่านดูแล้วอ่ะครับ มันงงๆนิดนึง
พอเราจัดรูปสมการจาก $ax^{3} + bx^{2} + cx + d$ให้เป็น $t^{3} + pt +q$ แล้วหลังจากนั้น
ให้ $t = u+v$ เป็นรากของสมการ $t^{3} + pt +q$ นั้นคือสมมติรากอยู่ในรูปแบบ u+v แล้วจะหา u และ vซึ่งจะได้ $u^{3} +v^{3} + (3uv + p)(u + v) = o$ (ต่อจากนี้คือจุดที่งงครับ) เพื่อให้ไม่มีกำลังหนึ่งจึงให้ $3uv + p = 0$ และจะได้ $u^{3} + v^{3} = -q$ ทำให้ได้ระบบสมการ $u^{3} +v^{3} =-q$ และ $uv = -\frac{p}{3}$ (แล้วเรากำหมดให้ไม่มีกำลังหนึ่งได้เหรอครับ) ซึ่งแสดงว่า $u^{3} + v^{3}$ เป็นรากของสมการ $y^{2} + qy - \frac{p^{3}}{27} = 0$
(รู้ได้ไงครับว่ามันจะเป็นรากของสมการนี้) พอได้ถึงขั้นนี้แล้วทำยังไงต่อเหรอครับ$

editถามเพิ่มครับ

แล้วผลเฉลยของ congruet สามารถนำไปทำอะไรได้บ้างครับ แล้วก็ Congruet,moduloประยุกต์ใช้ใน
การแก้โจทย์ปัญหาต่างๆได้ยังไงเหรอครับ พอดีอ่านเนื้อหาย่อๆแล้วแต่ไม่รู้จะประยุกต์ใช้ในโจทย์ประเภทไหน อย่างไร ถ้ามีเวลาก็กรุณาช่วยยกตัวอย่างโจทย์สามารถใช้congruetแก้ได้อ่ะครับ
__________________
..................สนุกดีเนอะ...................

22 ธันวาคม 2006 17:03 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ CmKaN
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 22 ธันวาคม 2006, 13:42
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Post

ถามต่อเลยนะครับ $x^{3} - 3x^{2} - 3x -1 =0$
มีรากของระบบสมการ เป็นอย่างนี้ไหมครับ
$\sqrt[3]{\frac{7 + \sqrt{ 17 }}{2} }$ + $\sqrt[3]{ \frac{7 - \sqrt{ 17 }}{2} }$ + $1$
, $\sqrt[3]{\frac{7 + \sqrt{ 17 }}{2} }$w + $\sqrt[3]{ \frac{7 - \sqrt{ 17 }}{2} }\omega^{2}$ + $1$
, $\sqrt[3]{\frac{7 + \sqrt{ 17 }}{2} }\omega^{2}$ + $\sqrt[3]{ \frac{7 - \sqrt{ 17 }}{2} }\omega$ + $1$

เมื่อ $\omega$ เป็นรากปฐมฐาน


__________________
..................สนุกดีเนอะ...................

22 ธันวาคม 2006 13:54 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ CmKaN
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 ธันวาคม 2006, 22:56
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Lightbulb

ผมเลือกตอบคำถามที่อธิบายง่ายก่อนนะครับ.

ตรงจุดแรกที่เขียนว่า $u^3 + v^3$ เป็นรากของสมการ $y^{2} + qy - \frac{p^{3}}{27} = 0$

นี่ไม่ถูกนะครับ ที่ถูก ต้องเป็น $u^3, v^3$ จะเป็นรากของสมการ ...

ซึ่งใช้แนวคิดพื้นฐานที่ว่า สมการกำลังสองที่เรารู้ ผลบวกของราก และ ผลคูณของราก คือ

$x^2 - (ผลบวกของราก)x + ผลคูณของราก = 0$

สำหรับตัวแปรจะใช้ตัวอื่นที่ไม่ใช่ x ก็ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 25 ธันวาคม 2006, 08:39
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Thumbs up

ขอบคุณมากครับเข้าใจแล้วครับ แต่พอหา$u,v$ ได้แล้วจะได้รากของสมการเลยไหมครับ
เห็นผมอ่านในหนังสือสอวน. มันต้องมี รากปฐมฐานมาเกี่ยวข้องแต่อ่านยังไม่เข้าใจอ่ะครับ สรุปแล้วพอเรารู้$u,v$สามารถตอบได้เลยไหมครับ
__________________
..................สนุกดีเนอะ...................
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 25 ธันวาคม 2006, 09:27
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ก็เพราะว่า เนื่องจาก $u^3, v^3$ เป็นคำตอบของสมการ $y^2+qy+\frac{p^3}{27}=0$ ไงล่ะครับ
พอได้คำตอบมาต้องการหา $u,v$ ก็ต้องทำการถอดรากที่ 3 โดยลองแยกกรณีดูครับจะได้ตามที่เขาว่าไว้
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 26 ธันวาคม 2006, 17:15
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Post

คือว่ายังไม่ทราบว่าตัวเองเข้าใจจริงๆรึเปล่าเลยลองจะทำดูนะครับ ถ้าผิดตรงไหนพี่ๆช่วยบอกด้วยนะครับ
โจทย์จงหาค่าx จากสมการ $x^{3}-3x^{2}-3x-1=0 \text{จัดเป็นรูป} t^{3}+pt+q$ไดยการแทน $x=t-\frac{b}{3a}$ ได้เป็น $t^{3}-6t-6=0$ ให้ $t=u+v\text{เป็นคำตอบของสมการดังกล่าว แทนค่า} u^{3}+v^{3}+(3uv-6)(u+v)-6 =0$ ต้องการให้กำลังหนึ่งหมดไป ให้ $3uv-6=0,uv=2$ และก็จะได้ $ u^{3}+v^{3}=6 $ เนื่องจาก $u^{4}และv^{3}$เป็นรากของสมการก้ารกำลังสองรูปทั่วไปจะได้ว่า $(y-u^{3})(y-v^{3}) =0 , y^{2}-(u^{3}+v^{3})y + u^{3}v^{3} =0$แทนค่า
$ y^{2}-6y+8=0 $ ได้ $u=\sqrt[3]{2} \text{และ} v=\sqrt[3]{4}$ ดังนั้น ได้ค่าxคือ u+v+1 ซึ่งก็คือ$\sqrt[3]{2}+\sqrt[3]{4}+1$รึเปล่าครับ แต่สมการกำลังสามต้องมี3ตัวแปรไม่ใช่เหรอครับ งั้นจะหาอีกสองตัวยังไงเหรอครับ
__________________
..................สนุกดีเนอะ...................
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 26 ธันวาคม 2006, 17:59
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

$$x^3-3x^2-3x-1=0$$

By Mathematica

$$ x=1+2^{1/3}+2^{2/3}$$

$$ x=1-\frac{1-i\sqrt3}{2^{1/3}}-\frac{1+i\sqrt3}{2^{2/3}}$$

$$ x=1-\frac{1-i\sqrt3}{2^{2/3}}-\frac{1+i\sqrt3}{2^{1/3}} $$
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 26 ธันวาคม 2006, 18:22
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ที่น้องทำ ถูกต้องแล้วครับ ลองทำดูซักข้อสองข้อให้พอเข้าใจวิธีทำก็พอแล้วครับ
โอกาสที่จะใช้มีน้อยมาก ให้รู้ว่ามีวิธีการแก้อยู่ในโลกนี้ก็โอเค ละครับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 26 ธันวาคม 2006, 21:22
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Smile

ให้ $\omega ^3 = 1$ และ $\omega \not= 1$ (เช่น $\omega = \frac{-1+i \sqrt{3}}{2}$)
ในกรณีนี้ $u = 2^{1/3}$ และ $v = 4^{1/3}$
นั่นก็หมายความว่า ค่า $u$ ที่เป็นไปได้มี 3 ค่าคือ $\sqrt[3]{2}\ ,\ \omega \sqrt[3]{2}\ ,\ \omega ^2 \sqrt[3]{2}$
ในทำนองเดียวกัน ค่า $v$ ที่เป็นไปได้มี 3 ค่าคือ $\sqrt[3]{4}\ ,\ \omega \sqrt[3]{4}\ ,\ \omega ^2 \sqrt[3]{4}$

ดังนั้น $1+u+v$ เป็นไปได้ทั้งหมด $3 \times 3 = 9$ รูปแบบ คือ
  • $1 + \sqrt[3]{2} + \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \sqrt[3]{2} + \omega \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \sqrt[3]{2} + \omega ^2 \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega \sqrt[3]{2} + \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega \sqrt[3]{2} + \omega \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega \sqrt[3]{2} + \omega ^2 \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega ^2 \sqrt[3]{2} + \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega ^2 \sqrt[3]{2} + \omega \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega ^2 \sqrt[3]{2} + \omega ^2 \sqrt[3]{4}$
รูปแบบที่จะเป็นคำตอบนั้นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ $uv = 2$ ด้วย
นั่นคือคู่ของ $u,v$ ที่สอดคล้องกันคือ
  • $u = \sqrt[3]{2}$ และ $v = \sqrt[3]{4}$
  • $u = \omega ^2 \sqrt[3]{2}$ และ $v = \omega \sqrt[3]{4}$
  • $u = \omega \sqrt[3]{2}$ และ $v = \omega ^2 \sqrt[3]{4}$
ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ
  • $1 + \sqrt[3]{2} + \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega ^2 \sqrt[3]{2} + \omega \sqrt[3]{4}$
  • $1 + \omega \sqrt[3]{2} + \omega ^2 \sqrt[3]{4}$
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 27 ธันวาคม 2006, 09:14
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Post

ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับที่ช่วยตอบ แต่ยังงงตรง $\omega^{3}=1 \text{ว่ามาจากไหนเหรอครับทำไมต้องใส่ลงไปด้วยอ่ะครับ }$
__________________
..................สนุกดีเนอะ...................
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 27 ธันวาคม 2006, 10:31
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Smile

อ้าวเห็นน้องพูดถึง $\omega$ ในความเห็นด้านบน ก็นึกว่าเข้าใจที่มาแล้วซะอีก

ที่เราเขียนว่า $\omega ^ 3 = 1$ และ $\omega \not= 1$ นั้นหมายความว่าเราต้องการให้ $\omega = 1^{1/3}$ โดยที่ $\omega \not= 1$
นั่นก็คือ $|\omega| = 1$ และ $\omega$ เป็นจำนวนเชิงซ้อนที่มีขนาดมุม $\frac{2\pi}{3}$ หรือ $\frac{4\pi}{3}$ เรเดียน หรือเขียนเต็มๆก็คือ
$\omega = \cos \frac{2\pi}{3} + i \sin \frac{2\pi}{3}$ หรือ $\omega = \cos \frac{4\pi}{3} + i \sin \frac{4\pi}{3}$

แล้ว $\omega$ ช่วยให้อะไรง่ายขึ้นหรือเปล่า

เมื่อเราพูดถึง $\omega$ ที่ไม่เจาะจงค่าลงไปเลยว่าหมายถึงค่าไหน และเราไม่อยากเขียนให้ค่าติดในรูปแบบของจำนวนเชิงซ้อน พร้อมทั้งเครื่องหมายรากและเศษส่วนต่างๆเต็มไปหมด เราสามารถอ้างถึง $1^{1/3}$ ทุกค่าได้สั้นๆคือ
$1^{1/3} = 1\ ,\ \omega\ ,\ \omega^2$
ไม่ว่าเราจะเลือก $\omega$ เป็นค่าไหน ก็จะได้ $\omega^2$ เป็นอีกค่าหนึ่งเสมอ

ในทำนองเดียวกัน เราสามารถอ้างถึง $1^{1/5}$ ทุกค่าได้สั้นๆคือ
$1^{1/5} = 1\ ,\ \omega\ ,\ \omega^2\ ,\ \omega^3\ ,\ \omega^4$
ในกรณีนี้ $\omega$ จะเป็นคนละตัวกับด้านบน คือ $\omega^5 = 1$ และ $\omega \not= 1$
และเช่นเดียวกัน ไม่ว่าเราจะเลือก $\omega$ เป็นค่าไหน (จาก $4$ ค่าที่เป็นไปได้) ก็จะได้ $\{\omega\ ,\ \omega^2\ ,\ \omega^3\ ,\ \omega^4\}$ เป็นเซตเดิมเสมอ

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ $\omega$ เลือกแบบไม่เจาะจงไม่ได้ เช่น $\omega^4 = 1$ โดยที่ $\omega \not= 1$
หากเราเลือก $\omega = \cos \pi + i \sin \pi$ จะทำให้ $\omega^m$ เป็นได้เพียง $2$ ค่าคือ $-1\ ,\ 1$
ดังนั้น โดยทั่วไปเราจึงเลือก $\omega$ ค่าถัดมาที่ไม่ใช่ $1$ หรือหมายถึง $\omega = \cos \frac{2 \pi}{n} + i \sin \frac{2 \pi}{n}$

เมื่อเรานำ $\omega$ มาใช้กับการอ้างถึง $2^{1/3}$ ทุกค่าอย่างสั้นๆ ก็จะได้
$2^{1/3} = \sqrt[3]{2}\ ,\ \omega \sqrt[3]{2}\ ,\ \omega^2 \sqrt[3]{2}$

หรืออ้างถึง $2^{1/5}$ ทุกค่าอย่างสั้นๆ ก็จะได้
$2^{1/5} = \sqrt[5]{2}\ ,\ \omega \sqrt[5]{2}\ ,\ \omega^2 \sqrt[5]{2}\ ,\ \omega^3 \sqrt[5]{2}\ ,\ \omega^4 \sqrt[5]{2}$
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

27 ธันวาคม 2006 10:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 11 สิงหาคม 2008, 19:53
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

เรียนที่ไหนครับ ยากจัง รึสมัยผมเรียนไม่มีสอนเรื่องนี้กันน๊า หลักสูตรใหม่ใช่มั้ย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Numerical Method คืออะไร SoRuJa คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 4 28 ธันวาคม 2006 12:54
Halley's Method MaThNa ฟรีสไตล์ 2 04 กรกฎาคม 2005 11:47


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:31


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha