Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 20 กรกฎาคม 2016, 20:11
ฟินิกซ์เหินฟ้า ฟินิกซ์เหินฟ้า ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 พฤศจิกายน 2012
ข้อความ: 295
ฟินิกซ์เหินฟ้า is on a distinguished road
Default โจทย์ยาก โควตา มช

1. กำหนดให้ $\displaystyle{A=\{0,1,\cdots,99\},B=\{100,101,\cdots,199\}}$

และนิยาม $\displaystyle{A*B=\{ab|a\in A,b\in B\}}$

จงหาค่าของ $n(A*B)$

2. $\displaystyle \sum_{n = 0}^{\infty}\frac{(-1)^{n+1}}{n}$ ลู่เข้าเพราะอะไรครับ

3.

20 กรกฎาคม 2016 20:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ฟินิกซ์เหินฟ้า
เหตุผล: เพิ่มข้อ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 21 กรกฎาคม 2016, 08:28
issac issac ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 กันยายน 2012
ข้อความ: 79
issac is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ฟินิกซ์เหินฟ้า View Post
1. กำหนดให้ $\displaystyle{A=\{0,1,\cdots,99\},B=\{100,101,\cdots,199\}}$

และนิยาม $\displaystyle{A*B=\{ab|a\in A,b\in B\}}$

จงหาค่าของ $n(A*B)$

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ฟินิกซ์เหินฟ้า View Post
2. $\displaystyle \sum_{n = 0}^{\infty}\frac{(-1)^{n+1}}{n}$ ลู่เข้าเพราะอะไรครับ
n = 0 ได้เหรอครับ


21 กรกฎาคม 2016 16:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ issac
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 21 กรกฎาคม 2016, 09:45
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ฟินิกซ์เหินฟ้า View Post

2. $\displaystyle \sum_{n = 0}^{\infty}\frac{(-1)^{n+1}}{n}$ ลู่เข้าเพราะอะไรครับ
ข้อนี้ไม่น่าจะเรียกว่าโจทย์ยากนะครับ เรียกว่าโจทย์เกินหลักสูตรจะเหมาะกว่า
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 22 กรกฎาคม 2016, 10:57
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ข้อนี้ไม่น่าจะเรียกว่าโจทย์ยากนะครับ เรียกว่าโจทย์เกินหลักสูตรจะเหมาะกว่า
มีวิธีทำที่ไม่เกินหลักสูตรอยู่ครับ
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 22 กรกฎาคม 2016, 21:38
ฟินิกซ์เหินฟ้า ฟินิกซ์เหินฟ้า ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 พฤศจิกายน 2012
ข้อความ: 295
ฟินิกซ์เหินฟ้า is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Thgx0312555 View Post
มีวิธีทำที่ไม่เกินหลักสูตรอยู่ครับ
ขอ Hint ข้อสอง หน่อยครับพี่
ละข้อแรกมีวิธีนับเจ๋งๆมั้ยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 23 กรกฎาคม 2016, 01:08
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

$\dfrac{1}{n}-\dfrac{1}{n+1}=\dfrac{1}{n(n+1)}$

อีกข้อไม่รู้เหมือนกันครับ
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 23 กรกฎาคม 2016, 08:16
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

เอ...ผมเข้าใจว่า

$$
\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{(-1)^{n+1}}{n} \neq \sum_{n=1}^{\infty} \dfrac{1}{n(n+1)}
$$

นะครับ ผมเข้าใจอะไรผิดไปรึเปล่า เริ่มไม่แน่ใจ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 23 กรกฎาคม 2016, 13:46
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
เอ...ผมเข้าใจว่า

$$
\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{(-1)^{n+1}}{n} \neq \sum_{n=1}^{\infty} \dfrac{1}{n(n+1)}
$$

นะครับ ผมเข้าใจอะไรผิดไปรึเปล่า เริ่มไม่แน่ใจ
เข้าใจถูกแล้วครับ อันที่จริงได้มากกว่านั้นด้วย

$$
\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{(-1)^{n+1}}{n} < \sum_{n=1}^{\infty} \dfrac{1}{n(n+1)}
$$

ถ้าแค่ระดับม.ปลายคงทำได้ถึงแค่นี้ คือพิสูจน์ว่ามี bound แต่ลืมไปว่ามากกว่านั้นคงเป็นระดับมหาลัยแล้วแหละครับ
เพิ่มนิดนึงถ้าใช้ squeeze นับว่าเป็นระดับมหาลัยมั้้ยครับ
$\displaystyle \dfrac{1}{1 \cdot 2}+\dfrac{1}{3 \cdot 4}+\cdots + \dfrac{1}{(2n-1)2n}<\sum_{n=1}^{\infty}\dfrac{(-1)^{n+1}}{n} < 1-\dfrac{1}{2\cdot 3}-\dfrac{1}{4\cdot 5}-\cdots-\dfrac{1}{2n(2n+1)}$
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้

23 กรกฎาคม 2016 13:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Thgx0312555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 23 กรกฎาคม 2016, 13:48
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

อยากเห็นวิธีทำข้อแรกแบบไม่ใช้โปรแกรมคิดครับ
น่าจะเป็นข้อสอบปี 52 หรือ 53 ครับ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

23 กรกฎาคม 2016 13:55 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
เหตุผล: เพิ่มรูป
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 07 สิงหาคม 2016, 22:44
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อาศัยองค์ประกอบ3ส่วนดังนี้
1) ระเบียบวิธี คือ การเรียบเรียงลำดับขั้นตอน,จินตนาการ,ความเข้าใจในการใช้องค์ความรู้ หลักการ ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ต่างๆที่มีอยู่มาใช้แก้ปัญหา
2) ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีอยู่มากมายในองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์
3) เครื่องมือ คือ อุปกรณ์ เครื่องบันทึกข้อมูล เครื่องคำนวณและประมวลผล เช่น ดินสอ ปากกา กระดาษ เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
.....โจทย์คณิตศาสตร์โดยทั่วไปบางโจทย์ก็ใช้แค่สูตรไม่กี่สูตร ทฤษฎีสำคัญ 1-2 ทฤษฎี เช่นถ้าเป็นโจทย์เรขาคณิตก็ใช้ทฤษฎีบทปิทากอรัส , หรือถ้าเป็นโจทย์พีชคณิตก็อาจใช้ทฤษฎีจำนวน เป็นต้น ก็สามารถหาคำตอยออกมาได้
.....โจทย์คณิตศาสตร์โดยทั่วไปบางโจทย์ก็ต้องใช้ทั้งระเบียบวิธีมาเรียงร้อยทฤษฎีต่างๆเข้าด้วยกันคือต้องใช้ความพยายามความอดทนใช้เวลา มาก ถึงจะสามารถหาคำตอบออกมาได้
.....ปัญหาคณิตศาสตร์บางปัญหาก็ต้องใช้ทั้งระเบียบวิธี ทฤษฎีที่มีอยู่เดิม และยังต้องใช้เครื่องมืออื่นๆมาช่วยในการคิดคำนวณวิเคราะห์หาคำตอบ ถึงจะคาดการณ์หาคำตอบออกมาได้
+++++สำหรับปัญหาข้อนี้++++++
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ฟินิกซ์เหินฟ้า View Post
1. กำหนดให้ $\displaystyle{A=\{0,1,\cdots,99\},B=\{100,101,\cdots,199\}}$

และนิยาม $\displaystyle{A*B=\{ab|a\in A,b\in B\}}$

จงหาค่าของ $n(A*B)$
.......ผมขอนำเสนอระเบียบวิธีหนึ่งที่จะใช้หาคำตอบดังนี้
อันดับแรกเซต $A=\left\{0,1,2,...,99\right\} $ ตัด $0$ ออกไปก่อนเหลือ $A=\left\{1,2,...,99\right\} $ ส่วนเซต $B=\left\{100,101,...,199\right\} $ เหมือนเดิม เมื่อนำ2จำนวนมาคูณกันจำนวนหนึ่งมาจากเซต$A$ อีกจำนวนมาจากเซต $B$
รูปแบบการคูณ $ab$ โดยที่ $a\in A,b\in B$จะมีทั้งหมด $99\times 100=9900$ คู่ ตามข้อคาดการณ์ของผมจะสามารถจัดรูปแบบทั้ง $9900$ คู่ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1........ผลคูณไม่ซ้ำกับคู่ไหนเลย เช่น $3\times 101=303$ ผลคูณที่ได้ $303$ จะมีเพียงคู่ของ $3\times 101$ เพียงคู่เดียวไม่ซ้ำกับคู่อื่นๆเลย เป็นต้น
กลุ่มที่ 2........ผลคูณซ้ำกัน 2 คู่เท่านั้น เช่น $3\times 100=2\times 150=300$ เป็นต้น
กลุ่มที่ 3........ผลคูณซ้ำกัน 3 คู่ เช่น $26\times 100=25\times 104=20\times 130=2600$ เป็นต้น
.........เริ่มวิธีทำ
ในจำนวน 9900 คู่ เราจะต้องวิเคราะห์ว่ากลุ่ม 1 มีกี่คู่ ,กลุ่ม 2 มีกี่คู่ และกลุ่ม 3 มีกี่คู่ แล้ว
$$จำนวนผลคูณที่แตกต่างกัน=(จำนวนคู่ในกลุ่ม 1)+\frac{(จำนวนคู่ในกลุ่ม 2)}{2} +\frac{(จำนวนคู่ในกลุ่ม 3)}{3} $$
.........การพิจารณาว่ากลุ่ม 1 มีกี่คู่ ,กลุ่ม 2 มีกี่คู่ และกลุ่ม 3 มีกี่คู่?
พิจารณาสมาชิกของเซต $B$ ทีละตัว เริ่มจาก $100$ แล้วพิจารณาว่า $a$ ตั้งแต่ $1-99$ผลคูณ $a\times 100$คู่ไหนอยู่กลุ่มไหนดังนี้
$$จำนวนที่หาร 100 ลงตัว มี 1,2,4,5,10,20,25,50,100$$
ตัวประกอบ$1$และ$100$ไม่ต้องนำมาคิด
เริ่มที่1.ตัวประกอบ $2$ หาเลขที่คูณกับ $2$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 2a\leqslant 199\Rightarrow 50\leqslant a\leqslant 99\Rightarrow a=50\rightarrow 99$ แต่ตัด $50$ออกไปเพราะมันคูณกับ $2$ได้$100$....
สรุป $a=51\rightarrow 99$
2.ตัวประกอบ $4$ หาเลขที่คูณกับ $4$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 4a\leqslant 199\Rightarrow 25\leqslant a\leqslant 49\Rightarrow a=25\rightarrow 49$ แต่ตัด $25$ออกไปเพราะมันคูณกับ $4$ได้$100$....
สรุป $a=26\rightarrow 49$
3.ตัวประกอบ $5$ หาเลขที่คูณกับ $5$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 5a\leqslant 199\Rightarrow 20\leqslant a\leqslant 39\Rightarrow a=20\rightarrow 39$ แต่ตัด $20$ออกไปเพราะมันคูณกับ $5$ได้$100$....
สรุป $a=21\rightarrow 39$
4.ตัวประกอบ $10$ หาเลขที่คูณกับ $10$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 10a\leqslant 199\Rightarrow 10\leqslant a\leqslant 19\Rightarrow a=10\rightarrow 19$ แต่ตัด $10$ออกไปเพราะมันคูณกับ $10$ได้$100$....
สรุป $a=11\rightarrow 19$
5.ตัวประกอบ $20$ หาเลขที่คูณกับ $20$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 20a\leqslant 199\Rightarrow 5\leqslant a\leqslant 9\Rightarrow a=5\rightarrow 9$ แต่ตัด $5$ออกไปเพราะมันคูณกับ $20$ได้$100$....
สรุป $x=6\rightarrow 9$
6.ตัวประกอบ $25$ หาเลขที่คูณกับ $25$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 25a\leqslant 199\Rightarrow 4\leqslant a\leqslant 7\Rightarrow a=4\rightarrow 7$ แต่ตัด $4$ออกไปเพราะมันคูณกับ $25$ได้$100$....
สรุป $a=5\rightarrow 7$
7.ตัวประกอบ $50$ หาเลขที่คูณกับ $50$แล้วมีสมบัติดังนี้ $100\leqslant 50a\leqslant 199\Rightarrow 2\leqslant a\leqslant 3\Rightarrow a=2\rightarrow 3$ แต่ตัด $2$ออกไปเพราะมันคูณกับ $50$ได้$100$....
สรุป $a=3$
.......จะได้ว่าค่า
$$a=1\rightarrow 99ที่ไม่มีในค่าข้างบนคือ a=1,2,4,10,20,50 ...ค่า aเหล่านี้จะให้ผลคูณอยู่ในกลุ่ม1$$
$$a=1\rightarrow 99ที่มีซ้ำกันในค่าข้างบนคือ a=6-7,26-39 ...ค่า aเหล่านี้จะให้ผลคูณอยู่ในกลุ่ม3$$
$$ค่า a=1\rightarrow 99นอกจากนั้นคือ a=3,5,8-9,11-19,21-25,40-49,51-99...ค่า aเหล่านี้จะให้ผลคูณอยู่ในกลุ่ม2$$
สรุปกรณีที่ $b=100 และค่า a=1\rightarrow 99จะให้ผลคูณอยู่ในกลุ่ม1=6คู่......กลุ่ม 2=77 คู่....กลุ่ม3=16 คู่$..........
หลังจากนั้นก็เริ่มกระบวนการใหม่คือ $b=101 ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะ ค่า a=1\rightarrow 99 จะให้ผลคูณแตกต่างกันทั้งหมด...คือจัดอยู่ในกลุ่ม 1 ทั้ง 99 คู่$
.......แล้ว $b=102 ซึ่งเป็นจำนวนประกอบก็ทำกระบวนการเหมือน b=100 ครับ$
.....โจทย์ข้อนี้ดูยังไงก็เป็นโจทย์ที่น่าจะต้องใช้เครื่องคำนวณเช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยคิดนะครับเพราะจำนวนตั้งแต่ 100 ถึง 199 ดูแล้วน่าจะมีจำนวนตัวประกอบเป็นลักษณะเฉพาะทำให้ต้องคิดทุกจำนวน

08 สิงหาคม 2016 06:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 08 สิงหาคม 2016, 15:51
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

อย่าคิดว่ามีเจตนาอันไม่สมควรนะครับ

ขอถามหน่อยครับ
๑) ข้อสอบมีกี่ข้อ
๒) แต่ละข้อ แต่ละท่านที่เข้ามาแสดงความเห็น
คิดว่าใช้เวลาเท่าใด
๓) เวลาที่ให้ เหมาะสมไหม
หรือต้องไป กวดวิชา จึงจะเสร็จทันได้

เคารพรักครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:58


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha