Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 11 กันยายน 2017, 20:08
naamY naamY ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2014
ข้อความ: 16
naamY is on a distinguished road
Default อยากทราบเกี่ยวกับ Determinant

Determinant เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตเมทริกซ์จตุรัส และมีเรนจ์เป็นเซตของจำนวนจริง

ผมอยากทราบว่าเพราะอะไร โดเมนถึงเป็นเซตของเมทริกซ์จตุรัสหรอครับ และทำไมถึงบอกว่ามีเรนจ์เป็นเซตจำนวนจริง

ขอบคุณมากครับ

11 กันยายน 2017 20:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ naamY
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 11 กันยายน 2017, 20:23
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ naamY View Post
Determinant เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตเมทริกซ์จตุรัส และมีเรนจ์เป็นเซตของจำนวนจริง

ผมอยากทราบว่าเพราะอะไร โดเมนถึงเป็นเซตของเมทริกซ์จตุรัสหรอครับ และทำไมถึงบอกว่ามีเรนจ์เป็นเซตจำนวนจริง

ขอบคุณมากครับ
เพราะนักคณิตศาตร์นิยามให้ค่าของดีเทอร์มิแนนต์ต้องเป็นเมทริกซ์จัตุรัสเท่านั้นครับ จริง ๆ เราจะนิยามว่าโดเมนเป็นเมทริกซ์ที่ไม่เป็นจัตุรัสก็ได้ครับ แต่ว่าถ้านิยามแล้ว ต้องคิดต่อไปว่าจะเอาไปคิดทฤษฎีบทต่าง ๆ ต่อยอดได้หรือไม่ ถ้าได้ก็คิดต่อไป แล้วถ้าคนนิยมมาก ก็จะแพร่หลายเองครับ

ส่วนเรนจ์เป็นจำนวนจริง หมายถึง ได้ผลลัพธ์ของดีเทอร์... เป็นจำนวนจริง

ถ้าจำไม่ผิด ในระบบจำนวนเชิงซ้อน น่าจะนิยามให้เป็นจำนวนเชิงซ้อนได้นะครับ

คือทุกอย่างขึ้นอยู่เราจะนิยาม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 11 กันยายน 2017, 20:35
naamY naamY ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2014
ข้อความ: 16
naamY is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon View Post
เพราะนักคณิตศาตร์นิยามให้ค่าของดีเทอร์มิแนนต์ต้องเป็นเมทริกซ์จัตุรัสเท่านั้นครับ จริง ๆ เราจะนิยามว่าโดเมนเป็นเมทริกซ์ที่ไม่เป็นจัตุรัสก็ได้ครับ แต่ว่าถ้านิยามแล้ว ต้องคิดต่อไปว่าจะเอาไปคิดทฤษฎีบทต่าง ๆ ต่อยอดได้หรือไม่ ถ้าได้ก็คิดต่อไป แล้วถ้าคนนิยมมาก ก็จะแพร่หลายเองครับ

ส่วนเรนจ์เป็นจำนวนจริง หมายถึง ได้ผลลัพธ์ของดีเทอร์... เป็นจำนวนจริง

ถ้าจำไม่ผิด ในระบบจำนวนเชิงซ้อน น่าจะนิยามให้เป็นจำนวนเชิงซ้อนได้นะครับ

คือทุกอย่างขึ้นอยู่เราจะนิยาม
ขอบคุณนะครับผม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 15 ตุลาคม 2018, 17:52
Spectra Spectra ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 ตุลาคม 2018
ข้อความ: 5
Spectra is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็น determinant ใน 2มิติ ค่าของ determinant จะเป็น scaling factor ของ area ที่เกิดขึ้นจากเวกเตอร์ 2 ตัว เมื่อเทียบกับ identity matrix
ถ้า 3มิติ ก็จะเป็น scaling factor ของ volume
4มิติ ขี้นไปก็เป็น scaling factor ของ hypervolume
ที่ domain ต้องเป็น square matrix เพราะหากเราลองดู matrix 3x2 มันจะเป็นเว็กเตอร์ 2 ตัวใน 3มิติ แต่เราไม่สามารถ define concept ของ volume กับเวกเตอร์เพียง 2 ตัวได้
ที่ range เป็น $\mathbb{R}$ ก็เพราะเราสามารถหาเว็กเตอร์ n ตัวในมิติ n ที่ให้ scaling factor ที่อยู่ใน $\mathbb{R}$ ได้

15 ตุลาคม 2018 17:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Spectra
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 19 ตุลาคม 2018, 01:30
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ผมว่าเหตุผลที่เค้านิยามแบบนั้นเป็นเพราะเราต้องการตรวจสอบว่าระบบสมการเชิงเส้น $AX=b$ จะมีคำตอบแบบ unique หรือไม่ ซึ่งมันก็จะหมายความว่า $A^{-1}$ สามารถหาได้

แต่การหาอินเวอร์สนั้นเราจำเป็นต้องมีเงื่อนไขว่าคูณทางซ้ายและทางขวาต้องได้ตัวเดียวกัน $AA^{-1}=A^{-1}A=I_n$ ซึ่งถ้า $A$ ไม่ใช่เมทริกซ์จัตุรัสแล้วล่ะก็ อินเวอร์สซ้ายขวาก็จะมีมิติไม่เท่ากัน แถมผลคูณออกมาไม่เท่ากันด้วย เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์คนละมิติ สมการข้างต้นจึงไม่มีทางเป็นไปได้ เค้าก็เลยต้องใช้เฉพาะเมทริกซ์จัตุรัสครับ

อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เวลาเราต้องการหาว่า $A^{-1}$ มีอยู่จริงหรือไม่นั้น มันจะขึ้นอยู่กับว่าพจน์อะไรบางอย่างมีค่าเป็นศูนย์หรือเปล่า เช่น $\bmatrix{a & b \\ c & d}$ มีอินเวอร์สก็ต่อเมื่อ $ad-bc \not= 0$ (พิสูจน์ไม่ยากครับ) หรือถ้าเป็นเมทริกซ์ 3x3 ก็จะได้ว่ามีอินเวอร์สก็ต่อเมื่อพจน์ยาวๆยืดๆ (ที่เราชินตากับคูณลงลบคูณขึ้น) ไม่เท่ากับศูนย์ เค้าก็เลยนิยามให้ไอพจน์นี้แหละ เรียกว่าเป็น determinant คือสิ่งที่เอาไว้เช็คว่าเมทริกซ์หนึ่งๆจะมีอินเวอร์สหรือไม่

นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเค้าต้องใช้โดเมนเป็นเมทริกซ์จัตุรัส และเรนจ์เป็นจำนวนจริง(เชิงซ้อน) ครับ
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 20 ตุลาคม 2018, 10:11
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

นิยามนี้ค่อนข้างชัดยกตัวอย่างว่า...ดิเทอร์มิแนนต์ของเมตริกซ์มิติสามคูณสามคือ ส่วนประกอบสเกล่าร์ของเวกเตอร์ปริมาตร...

...."determinant of 3x3 dimension matrix is a scaling factor of it's volume vector."
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 21 ตุลาคม 2018, 09:47
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default นิยามเดท(ต่อ)

...พยายามพิมพ์เป็นเทคให้นะครับ...
ให้เมตริกซ์ $A=[a_{ij}]_{3\times 3}$
และเมตริกซ์$\bmatrix{\overrightarrow{u} \\ \overrightarrow{v}\\\overrightarrow{w} } =A\bmatrix{\overrightarrow{i} \\ \overrightarrow{j}\\\overrightarrow{k} } $
.....จะได้ว่า...$det(A)=|A| =\overrightarrow{u}\cdot ( \overrightarrow{v}\times \overrightarrow{w}) =\overrightarrow{v}\cdot ( \overrightarrow{w}\times \overrightarrow{u}) =\overrightarrow{w}\cdot ( \overrightarrow{u}\times \overrightarrow{v})$
....และ...$-|A| =\overrightarrow{u}\cdot ( \overrightarrow{w}\times \overrightarrow{v}) =\overrightarrow{v}\cdot ( \overrightarrow{u}\times \overrightarrow{w}) =\overrightarrow{w}\cdot ( \overrightarrow{v}\times \overrightarrow{u})$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 22 ตุลาคม 2018, 09:38
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default นิยามเดท(ต่อ)

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
...พยายามพิมพ์เป็นเทคให้นะครับ...
ให้เมตริกซ์ $A=[a_{ij}]_{3\times 3}$
และเมตริกซ์$\bmatrix{\overrightarrow{u} \\ \overrightarrow{v}\\\overrightarrow{w} } =A\bmatrix{\overrightarrow{i} \\ \overrightarrow{j}\\\overrightarrow{k} } $
.....จะได้ว่า...$det(A)=|A| =\overrightarrow{u}\cdot ( \overrightarrow{v}\times \overrightarrow{w}) =\overrightarrow{v}\cdot ( \overrightarrow{w}\times \overrightarrow{u}) =\overrightarrow{w}\cdot ( \overrightarrow{u}\times \overrightarrow{v})$
....และ...$-|A| =\overrightarrow{u}\cdot ( \overrightarrow{w}\times \overrightarrow{v}) =\overrightarrow{v}\cdot ( \overrightarrow{u}\times \overrightarrow{w}) =\overrightarrow{w}\cdot ( \overrightarrow{v}\times \overrightarrow{u})$
นิยามของโคแฟกเตอร์
$C_{11}(A)=\overrightarrow{i} \cdot (\overrightarrow{v} \times \overrightarrow{w}) $
$C_{12}(A)=\overrightarrow{j} \cdot (\overrightarrow{v} \times \overrightarrow{w} )$
$C_{13}(A)=\overrightarrow{k} \cdot (\overrightarrow{v} \times \overrightarrow{w} )$
การหาค่าเดทจึงสมเหตุสมผลที่.$det(A)=|A| =\overrightarrow{u}\cdot ( \overrightarrow{v}\times \overrightarrow{w}) =a_{11}C_{11}(A)+a_{12}C_{12}(A)+a_{13}C_{13}(A)$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

22 ตุลาคม 2018 11:55 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 23 ตุลาคม 2018, 11:24
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การหาเมตริกซ์อินเวอร์สด้วยวิธีเวกเตอร์

ให้เมตริกซ์ $A=[a_{ij}]_{3\times 3}$
และเมตริกซ์$\bmatrix{\overrightarrow{u} \\ \overrightarrow{v}\\\overrightarrow{w} } =A\bmatrix{\overrightarrow{i} \\ \overrightarrow{j}\\\overrightarrow{k} } $
และให้$\bmatrix{ \overrightarrow{u^{-1}} & \overrightarrow{v^{-1}} & \overrightarrow{w^{-1}} } =\bmatrix{ \overrightarrow{i} & \overrightarrow{j} & \overrightarrow{k} } A^{-1}$เมื่อ $AA^{-1}=I$
จะได้ว่า...$\overrightarrow{u^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{v} \times \overrightarrow{w}) $
...$\overrightarrow{v^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{w} \times \overrightarrow{u}) $
...$\overrightarrow{w^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{u} \times \overrightarrow{v}) $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

23 ตุลาคม 2018 11:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: เปลี่ยนจากอักษรwเป็นk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 ตุลาคม 2018, 13:40
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
ให้เมตริกซ์ $A=[a_{ij}]_{3\times 3}$
และเมตริกซ์$\bmatrix{\overrightarrow{u} \\ \overrightarrow{v}\\\overrightarrow{w} } =A\bmatrix{\overrightarrow{i} \\ \overrightarrow{j}\\\overrightarrow{k} } $
และให้$\bmatrix{ \overrightarrow{u^{-1}} & \overrightarrow{v^{-1}} & \overrightarrow{w^{-1}} } =\bmatrix{ \overrightarrow{i} & \overrightarrow{j} & \overrightarrow{k} } A^{-1}$เมื่อ $AA^{-1}=I$
จะได้ว่า...$\overrightarrow{u^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{v} \times \overrightarrow{w}) $
...$\overrightarrow{v^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{w} \times \overrightarrow{u}) $
...$\overrightarrow{w^{-1}} =\frac{1}{det(A)} (\overrightarrow{u} \times \overrightarrow{v}) $
หรือสรุปว่า $A^{-1}=\bmatrix{(\overrightarrow{u^{-1}} \cdot \overrightarrow{i}) & (\overrightarrow{v^{-1}} \cdot \overrightarrow{i })&(\overrightarrow{w^{-1}} \cdot \overrightarrow{i} )\\( \overrightarrow{u^{-1}} \cdot \overrightarrow{j}) &( \overrightarrow{v^{-1}} \cdot \overrightarrow{j})&(\overrightarrow{w^{-1}} \cdot \overrightarrow{j}) \\ (\overrightarrow{u^{-1}} \cdot \overrightarrow{k}) &( \overrightarrow{v^{-1}} \cdot \overrightarrow{k })&(\overrightarrow{w^{-1}} \cdot \overrightarrow{k}) }_{3\times 3} $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
จัดรูป Determinant (Matrix) Oriel ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 4 25 พฤษภาคม 2013 14:14
Determinant BLACK-Dragon ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 13 05 มกราคม 2013 21:52
ช่วยพิสูจน์ determinant ข้อนี้หน่อยครับ HTR ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 1 07 กันยายน 2010 19:38
determinant ครับ erk12th ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 3 22 มกราคม 2007 13:13
นิยามของ Determinant คืออะไรครับ Math man ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 7 30 ตุลาคม 2006 17:20


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:54


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha