Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 03 มิถุนายน 2004, 23:29
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

วันแรก

ข้อ 7.
โดยอุปนัยทางคณิตศาสตร์จะพิสูจน์ได้ว่า
f(2n) = 2n และ f(2n+1) = 1 เมื่อ n >= 1

ข้อ 8.
f(x + f(y)) = 2x + 4y + 2547
f(0) = -2f(y) + 4y + 2547
f(y) = (4y + 2547 - f(0)) / 2
x + f(y) = x + (4y + 2547 - f(0)) / 2
f(x + f(y)) = f(x + (4y + 2547 - f(0)) / 2)
2x + 4y + 2547 = (4[x + (4y + 2547 - f(0)) / 2] + 2547 - f(0)) / 2
4x + 8y + 2(2547) = 4[x + (4y + 2547 - f(0)) / 2] + 2547 - f(0)
4x + 8y + 2(2547) = 4x + 8y + 3(2547) - 3 f(0)
f(0) = 2547 / 3
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 04 มิถุนายน 2004, 04:57
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

บอกได้คำเดียวว่า "ยากส์"

คำตอบข้อ 8. (วันแรก) ของคุณ <คิดด้วยคน> ถ้าให้ y = 0 ในบรรทัดที่ 2 ก็จะหา f(0) ได้ทันทีเลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 04 มิถุนายน 2004, 10:43
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon15

คราวนี้น่าจะถูกแล้ว. ข้อ 3 วันที่สอง ถ้าให้ S(m, n) แทนจำนวนวิธีในการจัด โดยที่ m = จำนวนคน, n = จำนวนครั้งของการสลับ จะได้ว่า S(18, 150) = S(18, 3) = 951 . No comment ใครคิดออกช่วยลองตรวจดูว่าคำตอบตรงกันหรือเปล่า

ส่วนข้ออื่น ๆ ที่ผมลองแตะไป ให้คำตอบเพิ่มเติมจากคุณคิดด้วยคน มี
วันแรก : ข้อ 1)56/18 ข้อ 15) 2002 ข้อ 16) กำลัง attack อยู่ ข้อ 17) 4 ส่วน 2 ข้อท้ายสุด อันนี้ใช้ความจำ เพราะปากระดาษทดทิ้งไปแล้ว คือ ข้อ 20) ab/(a + b) ข้อ 21) 5

วันที่สอง : ข้อ 1 ,จำได้ว่า attack ไปแล้วแต่รู้สึกยังติดสมการที่โดยหลักการ sol ได้ แต่ยัง sol ไม่ออก . ข้อ 4. ได้แล้วใช้ตรีโกณตอนเริ่มต้น เพื่อหาสูตรของพื้นที่สี่เหลี่ยมใด ๆ ก่อนนั่นเอง แล้วค่อยโยงไปอสมการของโจทย์ ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าอสมการของโจทย์ยังไม่แหลมพอ ข้อที่เหลือจะค่อย ๆ ลองพยายาม sol สักวันละข้อสองข้อ.

ว่าแต่คุณอ้วนกับคุณ warut ยังไม่ลอง attack บ้างหรือครับ. น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบโอลิมปิกของ สสวท. ทั้งหลายด้วย ไม่ลอง attack ดูบ้าง ?

04 มิถุนายน 2004 10:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 04 มิถุนายน 2004, 16:00
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

จะพยายามครับผม

สำหรับคราวนี้ขอประเดิมด้วยข้อ 2 ของวันแรกก่อนเพราะผมคิดว่าข้อนี้มีปัญหาครับ
ข้อนี้ตามความคิดของผมคิดว่าคำตอบคือ "หาค่าไม่ได้" ซึ่งเดาว่าคงไม่ใช่คำตอบที่ผู้
ตั้งโจทย์ต้องการให้ตอบกระมัง

พิสูจน์
เห็นได้ชัดว่าจำนวนจริง a และ b ต่างก็ไม่เท่ากับศูนย์
จาก a6 - 3a2b4 = 3 จะได้ a4 - 3b4 = 3/a2
จาก b6 - 3a4b2 = 32 จะได้ b4 - 3a4 = 32/b2
จับสองสมการบวกกันจะได้ -2a4 - 2b4 = 3/a2 + 32/b2
จะเห็นว่าข้างซ้ายของสมการเป็นลบแต่ข้างขวาเป็นบวก จึงเกิดข้อขัดแย้งขึ้น

ผู้ออกโจทย์คงไม่ได้ระวังว่าไม่มีคำตอบที่ทั้ง a และ b เป็นจำนวนจริง (ปัญหาทำนองนี้
เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วด้วย) คุณ gon (และอีกหลายคน) อาจจะคิดว่าผมคิดมากอีก
("เราก็ไม่ต้องสนสิว่า a กับ b จะเป็นจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน เราแค่หาค่าของ
a4 + b4 ออกมาก็พอ") แต่ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดว่าถ้าเรายอมให้ a และ b เป็น
จำนวนเชิงซ้อนแล้วค่าของ a4 + b4 จะมีได้มากกว่าหนึ่งค่าครับ!

04 มิถุนายน 2004 16:07 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 04 มิถุนายน 2004, 16:19
alpha alpha ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 119
alpha is on a distinguished road
Icon16

ข้อ 20 (คิดออกข้อนี้ข้อเดียว - -'')
เมื่อวาดรูปก็จะได้รูปดังที่แนบมาด้วย
พบว่า
D ABD ~ D EFD ---> x/a = FD/BD -----(1)
D BCD ~ D BEF ---> x/b = BF/BD -----(2)
(1)+(2) : x(1/a +1/b) = (BF+FD)/BD
x[(a+b)/ab] = BD/BD = 1
x = ab/(a+b) #
__________________
การกลายพันธุ์:
เมื่อเอาปี 2542 เป็นปีฐาน พบว่า
ข้อสอบคณิต 1 ปัจจุบัน ยากราวกับ สมาคมคณิตศาสตร์ ปี 42
ข้อสอบคณิต 2 ปัจจุบัน ยากราวกับ ข้อสอบคณิต 1 ปี 42
ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ ปัจจุบัน ยากราวกับข้อสอบโอลิมปิกไทย ปี 42

อนาคต คณิต 1 จะกลายเป็นโอลิมปิก คณิต 2 จะกลายเป็นสมาคมฯ แล้วทีนี้ ข้อสอบโอลิมปิกไทย จะกลายเป็น IMO มั้ยล่ะเนี่ย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 04 มิถุนายน 2004, 18:40
โนบิตะ โนบิตะ ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2004
ข้อความ: 1
โนบิตะ is on a distinguished road
Post

ข้อ 8 วันแรก

เนื่องจาก f:RR ดังนั้น แทน x = -f(0) และแทน y = 0
ได้ว่า f(-f(0) + f(0)) = 2(-f(0)) + 4(0) + 2547
f(0) = -2f(0) +2547
f(0) = 2547/3
_________________________________________________

ข้อ 2 วันที่ 2

กำหนด f(x + y) = f(x) + f(y) + 2547 -----------------(*)
และ f(2004) = 2547

จะพิสูจน์ว่า f(nx) = nf(x) + (n-1)2547 , เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก
เนื่องจาก f(1(x)) = 1f(x) + (1-1)2547 = f(1)
สมมติให้ f(kx) = kf(x) + (k-1)2547 -----------------(**)
จาก(*) f(kx+x) = f(kx) + f(x) +2547
จาก(**) f((k+1)x) = kf(x) + (k-1)2547 + f(x) + 2547 = (k+1)f(x) + ((k+1)-1)2547
ดังนั้น f(nx) = nf(x) + (n-1)2547 , เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก

ได้ว่า f(25472004) = 2547f(2004) + 25462547 ----(1)
และ f(20042547) = 2004f(2547) + 20032547 ----(2)
(1)=(2)
2547f(2004) + 25462547 = 2004f(2547) + 20032547
2547(2547) + 25462547 = 2004f(2547) + 20032547
ได้ว่า f(2547) = 25471545/1002

04 มิถุนายน 2004 18:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ โนบิตะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 05 มิถุนายน 2004, 17:20
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon15

ข้อ 19. ผมทำแบบ basic ไม่ออกสักที เหนื่อยใจเลยต้องใช้วิชาแคลคูลัส คือ Lagrange Multiplier (ลากรอง มัลติพลายเออร์) solve เลย ราบรื่นฉลุย ลองดูนะครับ. (ใครทำแบบง่าย ๆ ได้ ก็ดี)

โดย Lagrange Multiplier : ให้ f(a, b, c) = a + 2b + 3c \ grad f(a, b, c) = (1, 2, 3) และ g(a, b, c) = 9a2 + 4b2 + c2 \ grad g(a, b, c) = (18a, 8b, 2c)
จะมี l ซึ่ง grad f(a, b, c) = l grad g(a, b, c) ด้วยเงื่อนไข 9a2 + 4b2 + c2 = 91
จะได้ a = 1/3 \ (a, b, c) = (1/3,3/2, 9)

ส่วนข้อ 18. ก็ลอง กรองดูแล้ว แต่รู้สึกถ้าคิดไม่ผิด สมการสุดท้ายของ a จะเป็นสมการกำลังสาม ซึ่งได้คำตอบจำนวนจริงที่ไม่สวย (ถ้าคิดไม่ผิดนะครับ)

อ้อ. ข้อ 2 วันแรก ผมเห็นด้วยกับคุณ warut ครับ. อันที่จริงผมยังไม่ออกหรอกว่าสมการมีปัญหา แต่พอจะ solve ดู โดย sense สมการอีกอัน เครื่องหมายมันควรจะเป็นบวกทั้งหมด เพราะไม่งั้นมันจะ solve ออกมาไม่สวย แต่เมื่อเห็นชัดเช่นนี้ก็น่าจะได้ข้อสรุปว่า โจทย์น่าจะมีปัญหา

06 มิถุนายน 2004 17:01 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 05 มิถุนายน 2004, 20:13
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เย่...ในที่สุดผมก็อ่านใจผู้ออกโจทย์ข้อ 2 วันแรกออกแล้ว
(a4 + b4)3 = (a6 - 3a2b4)2 + (b6 - 3a4b2)2 = 32 + (32)2 = 27
ดังนั้น a4 + b4 = 3 ครับผม
โจทย์ข้อนี้จะยุ่งยากน้อยลงถ้าเราให้ A = a2 และ B = b2 ซะก่อน
จริงๆถ้าโจทย์ให้หา A2 + B2 โดยที่ A และ B เป็นจำนวนจริง และ
A3 - 3AB2 = 3 และ B3 - 3A2B = 32
ก็จะไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 06 มิถุนายน 2004, 13:40
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เห็นด้วยกับคุณ gon เรื่องข้อ 18 วันแรกครับ คำตอบไม่สวยเอาเสียเลย ซึ่งก็เป็นไปได้
สองอย่างคือคนตั้งโจทย์ใจร้ายมากหรือไม่ก็โจทย์พิมพ์ผิดไปจากที่ตั้งใจไว้

a = (-1 + (53 + 678)1/3 + (53 - 678)1/3)/6
= 0.657298106138375... เป็นรากจริง (ซึ่งมีอยู่รากเดียว) ของสมการ 2a3 + a2 - 1 = 0

b = 4/(a2 + 1) = (8 + (8 + 678)1/3 + (8 - 678)1/3)/3
= 2.793216505472184... ซึ่งก็คือรากจริงรากเดียวของสมการ b3 - 8b2 + 26b - 32 = 0

c = 4/(a + 1) = (8 - 2(8 + 678)1/3 - 2(8 - 678)1/3)/3
= 2.413566989055631... เป็นรากจริงรากเดียวของสมการ c3 - 8c2 + 40c - 64 = 0

นั่นคือ abc = 16a/(a + 1)/(a2 + 1) = (-8 + 4(307 + 3978)1/3 + 4(307 - 3978)1/3)/3
= 4.431250870995745... อันเป็นรากจริงรากเดียวของสมการ p3 + 8p2 + 176p - 1024 = 0

07 มิถุนายน 2004 03:11 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 06 มิถุนายน 2004, 17:03
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon15

Happy Dpromt ครับ. ปัญหาค่อย ๆ ถูกทลายลงเรื่อย ๆ วันนี้มาต่อได้อีกข้อ

ข้อ 16 วันแรก : จงหาสามหลักสุดท้ายของ 222004 หลังจากไม่ฉลาดอยู่นาน สุดท้ายก็หลุดจนได้ มาดูวิธีที่ไม่ฉลาดกันก่อนครับ.


210 = 1024 24 mod 1000
\ 22004 = 22000 24 24200 24 mod 1000 2600 3200 24 mod 1000 2460 320024 mod 1000 ...(512)(3285) mod 1000 ... (1)
3284 = (10 - 1)142 โดย ท.บ. ไบโนเมียล จะได้ว่า 3285(681)(3) 43 mod 1000
\ 22004 (512)(43) 43 mod 1000 จะมีจำนวนเต็มบวก t ซึ่ง 22004 = 16 + 1000t
ในทำนองเดียวกัน จะได้ว่า 21000 = 376 mod 1000 แต่ 376n 376 mod 1000 ทุกจำนวนเต็มบวก n (!!! want to prove. ? !!!)
\ 222004 = 216 + 1000t = (216)(21000)t (24)(26)(376)n (536)(376) 536 mod 1000
นั่นคือ 3 หลักสุดท้ายของ 222004 คือ 536


Note : หลังจากเริ่มฉลาดขึ้น ก็จะค้นพบ สิ่งต่อไปนี้ เช่น 76n 76 mod 1000 เป็นต้น. และ สำหรับข้อนี้ ถ้าใช้ 2410n + 2 242 mod 1000 ก็จะเพิ่มความเร็วในการแก้ปัญหาข้อนี้ได้อย่างมากทีเดียว (นี่คือ ข้อสอบที่ให้ทำใน 3 ชั่วโมง แถมยังลึกล้ำขนาดนี้เชียวหรือ ? ผมนั่งคิดข้อนี้เกินกว่า 2 ชั่วโมง เพราะคาดไม่ถึงว่า ถ้าทำตรง ๆ จะ Labour ขนาดนี้ แถมยังซ่อน Trick ไว้ท้ายสุดอีก) ถ้าโจทย์ข้อนี้เปลี่ยนเป็น 772004 ก็จบเกมส์ไปตั้งนานแล้ว ว่างั้นไหมครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 06 มิถุนายน 2004, 19:32
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าวิธีไหนเหมาะสมกับข้อ 16 ที่สุด แต่วิธีที่ผมทำน่าจะมีเลขที่
ต้องคิดน้อยกว่าของคุณ gon นะครับ เพียงแต่ต้องทราบ Euler-Fermat Theorem
เท่านั้น (สำหรับคนที่ได้ผ่านเข้ารอบไปฝึกวิชากับเหล่าเทพเจ้า คงจะต้องได้เรียนแน่ครับ)

ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ถ้า gcd(a, m) = 1 แล้ว af(m) 1 (mod m) โดยที่ f คือ Euler's phi function

เริ่มจากพิจารณาใน modulo 125 ก่อนนะครับ เพราะ 1000 = 2353 = 8*125
เนื่องจาก f(53) = 52f(5) = 25*4 = 100 ดังนั้น 2100 1 (mod 125)
เราจึงสนใจว่า 22004 ? (mod 100)
แต่เรารู้ว่า f(52) = 5f(5) = 20 ดังนั้น 220 1 (mod 25)
เพราะฉะนั้น 22004 24 = 16 (mod 25) นั่นคือ 25 | 22004 - 16
แต่เรารู้ว่า 4 | 22004 - 16 ด้วย ดังนั้น 100 | 22004- 16 นั่นคือ 22004 16 (mod 100)
และ 22004 - 3 13 (mod 100) (ทำไมถึงมี -3 เดี๋ยวก็จะเข้าใจครับ)
เพราะฉะนั้น 22^2004 - 3 213 = 8192 67 (mod 125) นั่นคือ 125 | 22^2004 - 3 - 67
ดังนั้น 1000 หาร 8*(22^2004 - 3 - 67) = 22^2004 - 8*67 = 22^2004 - 536 ได้ลงตัว
สรุปเศษของการหารก็คือ 536 ครับ ทำจริงๆน่าจะใช้เวลาน้อยกว่าที่ผมพิมพ์เยอะเลย

06 มิถุนายน 2004 19:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #27  
Old 08 มิถุนายน 2004, 18:36
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon15

เหนือชั้นจริง ๆ ครับ. คุณ warut ขอคารวะให้หนึ่งจอก ผมมีดาบแต่ดันใช้ดาบไม่เป็น ตอนนี้กำลัง attack ข้อ 13 อยู่ครับ. เลยขอใช้ Fermat little Theorem ซะเลย ซึ่งจะพิสูจน์ได้ไม่ยากว่า pq - 1 + qp - 1 1 mod pq เมื่อ p, q เป็นจำนวนเฉพาะที่ต่างกัน

ปัญหามันอยู่ตรงที่พจน์หลังน่ะครับ. พยายามจะใช้ wilson Theorem แต่ยังไม่ออกเลย กำลังพยายามมอง ๆ อยู่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #28  
Old 09 มิถุนายน 2004, 15:04
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

555...ผมเป็นโรคบ้าจี้ซะด้วยเล่นชมกันอย่างงี้ผมเลยต้องทำต่ออีก...

ข้อ 13 เนี่ยตามความเห็นของผมคิดว่าผู้ออกข้อสอบต้องการวัดความรู้ 3 อย่างคือ

1. Fermat's Little Theorem
ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะและ a เป็นจำนวนเต็มที่ p หารไม่ลงตัวแล้ว ap-1 1 (mod p)
จะเห็นว่าทฤษฎีนี้เป็นกรณีพิเศษของ Euler_Fermat Theorem

2. Wilson's Theorem
p เป็นจำนวนเฉพาะก็ต่อเมื่อ (p - 1)! -1 (mod p)

3. Chinese Remainder Theorem
ถ้า gcd(m, n) = 1 แล้วระบบสมการ
x r (mod m)
x s (mod n)
จะมีคำตอบเพียงหนึ่งเดียวใน modulo mn

ให้ N = 2930 + 3128 + 28!30!
เนื่องจาก 29 | 2930 และ 3128 1 (mod 29) โดย Fermat's Little Theorem และ 29 | 28!30!
ดังนั้น N 0 + 1 + 0 = 1 (mod 29)

ต่อไปเราจะหาว่า 28!30! ? (mod 31)
โดย Wilson's Theorem เรารู้ว่า 30! -1 (mod 31) ----- (*)
นั่นคือ -1 30*29*28! (-1)(-2)28! = 2*28! (mod 31)
ดังนั้น 28! (-1)((31+1)/2) = -16 (mod 31) ----- (**)
จับ (*) คูณ (**) จะได้ 28!30! 16 (mod 31)
แต่เนื่องจาก 2930 1 (mod 31) โดย Fermat 's Little Theorem และ 31 | 3128
ดังนั้น N 1 + 0 + 16 = 17 (mod 31)

สรุปว่าเราต้องแก้ระบบสมการ
N 1 (mod 29)
N 17 (mod 31)

นั่นคือ N = 31s + 17 โดยที่ s เป็นจำนวนเต็ม
ดังนั้น 31s + 17 1 (mod 29)
เพราะฉะนั้น 31s 2s -16 (mod 29)
สรุปได้ว่า s -8 21 (mod 29)
นั่นคือ s = 29t + 21 โดยที่ t เป็นจำนวนเต็ม
ดังนั้น N = 31(29t + 21) + 17 = 31*29t + 31*21 + 17 = 31*29t + 668
สรุปได้ว่าคำตอบที่ต้องการคือ 668 ครับผม

09 มิถุนายน 2004 15:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #29  
Old 10 มิถุนายน 2004, 10:10
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

วันที่สอง

ข้อ 5.
เห็นได้ชัดว่า 23 | p2 + 2543 เมื่อ p > 2 และ 3 | p2 + 2543 เมื่อ p > 3
ดังนั้น 23* 3 | p2 + 2543 เมื่อ p > 3
และ สำหรับ p > 3 จะได้ว่า p2 + 2543 ต้องเขียนได้ในรูปของ 23 + x* 31 + y เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาค่า x, y ที่ทำให้ได้จำนวนตัวหารบวกที่แตกต่างกันน้อยกว่า 16 ตัวแล้ว พบว่า 23 + x* 31 + y < 2543 ทั้งสิ้น นั่นคือ ไม่มี p > 3 ที่เป็นคำตอบที่ต้องการ

สำหรับ p <= 3 พบว่ามีเพียง 2 เท่านั้นที่เป็นคำตอบ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #30  
Old 13 มิถุนายน 2004, 19:52
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

เป็นเว็บที่ดีมากๆๆเลยครับ อยากจะรบกวนด้วยครับ ท่านผู้ใดทราบเว็บคณิตศาสตร์ที่มีโจทย์รัสเซีย กับเยอรมัน ที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วมีโจทย์เด็ดๆมั้งครับ บอกผมด้วยนะครับ ขอบคุณนะครับ และต้องขออภัยด้วยครับที่มาขัดจังหวะ อรรถรสในการแก้โจทย์ ของปิศาจคณิตทั้งหลาย...อิอิอิ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha