Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 มิถุนายน 2007, 14:50
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Post ลิมิตอย่างเคย

เนื่องจากกระทู้เดิมเข้าแล้วค้างบ่อยผมเลยขออนุญาติมาโพสไว้ทีนี่แทนครับ สำหรับเด้กปี1ที่กำลังเรียนแคลกันทุกๆคน (ขอให้พี่ๆในบอร์ดนี้ที่จบไปแล้วอย่าเพิ่งแสดงวรยุทธ์กันนะครับ)
1 จงแสดงการหาค่าลิมิตต่อไปนี้โดยใช้นิยาม (เดลต้า กับ เอฟซิลอนอะ)
1.1 $ \lim_{ x \rightarrow c}mx+b$=mc+b
1.2 $\lim_{ x \rightarrow c}\sqrt{x} =\sqrt{c}$
1.3 $\lim_{x\rightarrow c}x^2$=$c^2$
1.4 $\lim_{x\rightarrow 1}4x^3+3x^2-24x+22$= 5
1.5 $\lim_{x\rightarrow 1}\frac{x}{x+1} $= $\frac{1}{2} $
2. จงหาค่าลิมิตต่อไปนี้ (ห้ามใช้กฏของโลปิตาล)
2.1 $\lim_{x\rightarrow 2}\frac{\sqrt{6-x}-2 }{\sqrt{3-x} -1} $= ?
2.2 $\lim_{x\rightarrow 0}\frac{\sqrt[3]{1+cx} -1}{x}$ = ?
เอาไปแบบหอมปากหอมคอก่อนครับ เด๋วจะมาแปะเพิ่มทีหลัง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 01 กรกฎาคม 2007, 09:42
[SATAN]_narak [SATAN]_narak ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 กรกฎาคม 2007
ข้อความ: 1
[SATAN]_narak is on a distinguished road
Default

ขอตัวอย่างด้วยดิครับ ผมทำไม่เป็นอะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 01 กรกฎาคม 2007, 18:41
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

ผมอ่านทฤษีที่ใช้เดลตากับเอฟสิลอนไม่ค่อยรู้เรื่องอะครับ ยังไงรบกวนเกริ่นนิดหน่อยสิครับ
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 01 กรกฎาคม 2007, 20:20
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

นิยาม$$\lim_{x\to a}f(x)=L$$
ก็ต่อเมื่อ ทุก $\epsilon > 0$ จะมี $\delta > 0$ ซึ่งถ้า $|x-a|<\delta$ แล้ว $|f(x)-L|<\epsilon$

เทคนิคการพิสูจน์โจทย์ลิมิตโดยใช้นิยามนี้ก็คือการทำย้อนกลับและใช้อสมการครับ ใครมีอสมการอยู่กับตัวมากเท่าไหร่ก็ทำโจทย์แนวนี้ได้มากเท่านั้น ความยากของโจทย์จะอยู่ที่ตัวฟังก์ชันที่เราจะพิสูจน์ครับ ถ้ามันซับซ้อนมากอสมการที่จะนำมาใช้ก็จะหายาก ผมขอลองทำให้ดูข้อง่ายๆข้อนึงนะครับ
$$\lim_{x\to c}mx+b = mc+b$$
ในที่นี้ $a=c$ และ $L=mc+b$
หัวใจสำคัญในการพิสูจน์อยู่ที่เราจะต้องทำให้ $|(mx+b) - (mc+b)|<\epsilon$ เป็นจริง เมื่อเราเลือก $\delta$ ซึ่งเป็นฟังก์ชันของ $\epsilon$ ที่สอดคล้องอสมการ $|x-a|<\delta$

คราวนี้จะเลือก $\delta$ ยังไงดี ? ก็ลองจัดรูปดูครับ

$|(mx+b)-(mc+b)|<\epsilon$

$|m(x-c)|<\epsilon$

$|m||x-c|<\epsilon$

หลังจากทำมาถึงตรงนี้ก็มีกรณีที่เราต้องแยกคิดคือ

กรณีที่ $1$ $|m|=0$ จะได้ $0<\epsilon$ ซึ่งเป็นจริงเสมอ เราก็เลือก $\delta$ เป็นอะไรก็ได้ครับ
กรณีที่ $2$ $|m|>0$ จะได้ $|x-c|<\dfrac{\epsilon}{|m|}$ เราต้องการเลือก $\delta$ ซึ่งทำให้ $|x-c|<\delta$ ฉะนั้นเราก็เลือก $\delta=\dfrac{\epsilon}{|m|}$ ซะเลย

ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเบื้องหลังวิธีคิด ถ้าจะเขียนพิสูจน์ให้ดูสวยๆแบบนักคณิตศาสตร์ก็จะเป็นแบบนี้ครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
กำหนดให้ $\epsilon>0$

กรณีที่ 1 $m=0$ เลือก $\delta=1$ จะได้ว่า ถ้า $|x-c|<\delta$ แล้ว $$|(mx+b)-(mc+b)|=0<\epsilon$$

กรณีที่ 2 $m\neq 0$ เลือก $\delta=\dfrac{\epsilon}{|m|}$ จะได้ว่า ถ้า $|x-c|<\delta$ แล้ว $$|(mx+b)-(mc+b)|=|m||x-c|<|m|\delta=\epsilon$$

ดังนั้น $\displaystyle{\lim_{x\to c}mx+b = mc+b}$ ตามต้องการ

---------------------------------------------------------------------------------------------------
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 22:43
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

โอ้ กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับ (อ่านเองมาตั้งนานไม่รู้เรื่องเลย55+) ขอบคุณมากนะครับ
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 22:55
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Default

น้อง Redfox อ่านเข้าใจแล้วไม่ลองทำข้ออื่นดูเหรอคับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 23:01
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

ทดสอบซะเลย ข้อ2 เลือก
\[
\delta = \frac{\varepsilon }{{\left| {x^{\frac{1}{2}} + c^{\frac{1}{2}} } \right|}}
\]
ถ้า
\[
\left| {x - c} \right| < \delta
\]
แล้ว จากโจทย์จัดรูป

\[
\frac{{\left| {x - c} \right|}}{{\left| {x^{\frac{1}{2}} + c^{\frac{1}{2}} } \right|}} < \varepsilon = \delta \left| {x^{\frac{1}{2}} + c^{\frac{1}{2}} } \right|
\]
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 23:03
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

อุ่ยลืมตอบ ดังนั้น limx→c√x=√c
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 23:29
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

มันมือขอต่อเลยละกัน
กำหนด
\[
\varepsilon > 0
\]
กรณี 1
\[
\left| {x + c} \right| = 0
\]
เลือก
\[\delta = 2\]จะได้ว่า ถ้า
\[
\left| {x - c} \right| < \delta
\]
แล้ว
\[
\left| {x^2 - c^2 } \right| = 0 < \varepsilon
\]
กรณี2
\[
\left| {x + c} \right| \ne 0
\]
เลือก
\[
\delta = \frac{\varepsilon }{{\left| {x + c} \right|}}
\]

\[
\left| {x^2 - c^2 } \right| = \left| {x - c} \right|\left| {x + c} \right| < \varepsilon = \delta \left| {x + c} \right|
\]
ดังนัน้
\[
\mathop {lim}\limits_{x \to c} x^2 = c^2
\]
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 08 กรกฎาคม 2007, 23:43
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Default

วิธีพิสูจน์ข้อนี้แยกเป็น 2 กรณีก็จะเห็นชัดขึ้นนะครับ คือ
1. กรณี $c=0$ สำหรับแต่ละ $\epsilon >0$ จะเลือก $\delta = \epsilon^2$ จะได้ผลที่ต้องการคือ
\[ \forall \epsilon >0 \exists \delta >0, \; \; 0<|x-0| <\delta \Rightarrow |\sqrt{x}-0| < \epsilon\]
2. กรณี $c>0$ สำหรับแต่ละ $\epsilon >0$ เลือก $\delta =\sqrt{c}\epsilon$
\[ \forall \epsilon >0 \exists \delta >0, \; \; 0<|x-c| < \delta \Rightarrow |\sqrt{x}-\sqrt{c}| = |\frac{x-c}{\sqrt{x}+\sqrt{c}}| < \frac{1}{\sqrt{c}} |x-c| < \epsilon\]
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 09 กรกฎาคม 2007, 00:16
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

$\delta$ ที่เลือกมาต้องเป็นฟังก์ชันของ $\epsilon$ อย่างเดียวนะครับ ไม่ขึ้นกับ $x$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 10 กรกฎาคม 2007, 20:27
RedfoX's Avatar
RedfoX RedfoX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 182
RedfoX is on a distinguished road
Default

ออ แสดงว่าเลือกผิดซินะครับ ต้องแก้เป็นแบบของพี่ M@gpie ใช่ปะครับ
__________________
ชอบคณิตศาสตร์ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:24


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha