Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2012, 22:00
Worrchet Worrchet ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 373
Worrchet is on a distinguished road
Default ช่วยสอนเรื่อง การหมุน การสะท้อน การเลื่อนขนานหน่อยครับ

รบกวนท่านผู้รู้ ช่วยสอนเรื่อง การหมุน การสะท้อน การเลื่อนขนานหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2012, 11:38
whatshix's Avatar
whatshix whatshix ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 430
whatshix is on a distinguished road
Default

ถ้าเป็น ม.ต้น การหมุนหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นพวก 90 180 หรือ 270 องศา ครับ

รการหมุน (x,y) รอบจุดกำเนิด

90 ทวนเข็ม = 270 ตามเข็ม
1.สลับ x,y
2.เปลี่ยนเครื่องหมายของ x ที่สลับแล้ว
เช่น (2,3) >>> (-3,2)

90 ตามเข็ม = 270 ทวนเข็ม
1.สลับ x,y
2.เปลี่ยนเครื่องหมายของ y ที่สลับแล้ว
เช่น (2,3) >>> (3,-2)

180 ทวนเข็ม = 180 ตามเข็ม
เปลี่ยนเครื่องหมายของ x,y (ไม่ต้องสลับ x กับ y)
เช่น (2,-3) >>> (-2,3)

การหมุนรอบจุดที่ไม่ใช่จุดกำเนิด

1.ลบจุดที่ต้องการหมุนด้วยจุดหมุน (เพื่อเลื่อนขนานมาจุดกำเนิด)
2.หมุนจุด(ที่ลบได้ในข้อ 1 แล้ว)ตามขนาดมุมและทิศทางที่กำหนด (โดยใช้สูตรรอบจุดกำเนิด)
3.บวกผลลัพธ์ของการหมุนในข้อ 2 ด้วยจุดหมุน (เพื่อเลื่อนขนานกลับไป ที่ที่ควรอยู่)
เช่น
หมุน (3,4) รอบ (1,5) เป็นมุม 90 องศา ทวนเข็ม
1. (3,4) - (1,5) = (2,-1) ลบ
2. (2,-1) >>> (1,2) หมุน
3. (1,2) + (1,5) = (2,7) บวก

สูตรทั่วไปของการหมุนเป็นมุม $\theta $
(ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกา $\theta $ จะเป็นบวก ส่วนหมุนตามเข็มนาฬิกา $\theta $ จะเป็นลบ)
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
จริงๆแล้ว ผมคือเด็กแว้นซ์ที่ปลอมตัวมาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2012, 11:41
Worrchet Worrchet ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 373
Worrchet is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากๆเลยครับคุณครู
เดี๋ยวผมขอไปอ่านก่อนนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2012, 11:45
Worrchet Worrchet ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 373
Worrchet is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ whatshix View Post
ถ้าเป็น ม.ต้น การหมุนหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นพวก 90 180 หรือ 270 องศา ครับ

รการหมุน (x,y) รอบจุดกำเนิด

90 ทวนเข็ม = 270 ตามเข็ม
1.สลับ x,y
2.เปลี่ยนเครื่องหมายของ x ที่สลับแล้ว
เช่น (2,3) >>> (-3,2)

90 ตามเข็ม = 270 ทวนเข็ม
1.สลับ x,y
2.เปลี่ยนเครื่องหมายของ y ที่สลับแล้ว
เช่น (2,3) >>> (3,-2)

180 ทวนเข็ม = 180 ตามเข็ม
เปลี่ยนเครื่องหมายของ x,y (ไม่ต้องสลับ x กับ y)
เช่น (2,-3) >>> (-2,3)

การหมุนรอบจุดที่ไม่ใช่จุดกำเนิด

1.ลบจุดที่ต้องการหมุนด้วยจุดหมุน (เพื่อเลื่อนขนานมาจุดกำเนิด)
2.หมุนจุด(ที่ลบได้ในข้อ 1 แล้ว)ตามขนาดมุมและทิศทางที่กำหนด (โดยใช้สูตรรอบจุดกำเนิด)
3.บวกผลลัพธ์ของการหมุนในข้อ 2 ด้วยจุดหมุน (เพื่อเลื่อนขนานกลับไป ที่ที่ควรอยู่)
เช่น
หมุน (3,4) รอบ (1,5) เป็นมุม 90 องศา ทวนเข็ม
1. (3,4) - (1,5) = (2,-1) ลบ
2. (2,-1) >>> (1,2) หมุน
3. (1,2) + (1,5) = (2,7) บวก

สูตรทั่วไปของการหมุนเป็นมุม $\theta $
(ถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกา $\theta $ จะเป็นบวก ส่วนหมุนตามเข็มนาฬิกา $\theta $ จะเป็นลบ)

ผมงงอยู่ที่นึงครับ คือ
90 ทวนเข็ม = 270 ตามเข็ม
90 ตามเข๊ม = 270 ทวนเข็ม
รบกวนช่วยขยายความทีนะครับ
ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2012, 20:45
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

ลองวาดรูปแล้วหมุนดูสิครับ
เหมือนหน้าปัดนาฬิกาอ่ะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 08 กุมภาพันธ์ 2012, 10:40
Worrchet Worrchet ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 373
Worrchet is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ จะลองวาดดู
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 12 พฤศจิกายน 2015, 23:27
boat25451's Avatar
boat25451 boat25451 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2013
ข้อความ: 82
boat25451 is on a distinguished road
Default

แสดงว่าถ้าหมุนจุด (-3,0) ทวนเข็มนาฬิกา90องศา รอบจุด (-2,1)
จะได้พิกัดใหม่เป็น (-1,-1) ใช่มั้ยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 20 พฤศจิกายน 2015, 21:45
อัศวินมังกรแดง's Avatar
อัศวินมังกรแดง อัศวินมังกรแดง ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 พฤศจิกายน 2015
ข้อความ: 18
อัศวินมังกรแดง is on a distinguished road
Default

การหมุน

การหมุนจุด $a$ รอบจุด $b$ ไป $\theta$ ทิศตามเข็มนาฬิกาคือให้นึกถึงกราฟอะครับ
จุด $b$เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มี $ab$ เป็นรัศมีนะครับ แล้วเลื่อนจุด $a$ ไปตามเส้นรอบวงไปเป็นมุม $\theta$ ตามเข็มนาฬิกา แล้วจุดที่เกิดจากการหมุนจะมีสมบัติดังนี้(ให้เป็นจุด$c$)
1. $\overline{ab}=\overline{bc}$
2. $a\hat bc=\theta$
สูตร $A(a_1,a_2)$ หมุนรอบ $P(p_1,p_2)$ ไป $\theta$ทิศตามเข็มนาฬิกา จะได้เป็นจุด $\grave A(x,y)$
ซึ่ง $x=(a_1-p_1)cos\theta+(a_2-p_2)sin\theta+p_1$
และ $y=-(a_1-p_1)sin\theta+(a_2-p_2)cos\theta+p_2$

การเลื่อนขนาน

การเลื่อนจุด $a$ โดยเวกเตอร์ $b$ ก็คือวางหางเวกเตอร์ที่จุด $a$ แล้วหัวเวกเตอร์จะอยู่ที่ตำแหน่งที่เลื่อนไป
สูตร $A(a_1,a_2)$ เลื่อนโดยเวกเตอร์ $P(p_1,p_2)$ ได้เป็น $\grave A(a_1+p_1,a_2+p_2)$

การสะท้อน
1. การสะท้อนผ่านจุด
การสะท้อนจุด $a$ ผ่านจุด $b$ ก็ให้ลากเส้น $\overline{ab}$ แล้วต่อผ่านจุด $b$ จนระยะทางเท่ากับ $ab$
สูตร $A(a_1,a_2)$ สะท้อนผ่าน $P(p_1,p_2)$ ได้เป็น $\grave A(2p_1-a_1,2p_2-a_2)$
2. การสะท้อนผ่านเส้น
คือการสะท้อนของจุดผ่านจุดบนเส้นตรงที่เป็นprojectionของจุดนั้นบนเส้นตรง
สูตร $A(a_1,a_2)$ สะท้อนผ่าน $y=px+q$ ได้เป็น $\grave A(m,n)$
ซึ่ง $m=2(\frac{pq-pa_2-a_1}{p^2+1} )-a_1$
และ $n=2(q-\frac{p(pa_2+a_1-pq)}{p^2+1} )-a_2$

ตามนั้นแหละครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:58


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha