Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 13 เมษายน 2001, 23:10
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile จะหาค่า cos72 องศา ได้ยังไง

ผมคิดได้ 2 วิธี
อยากทราบว่า คนอื่น ๆ จะคิดยังไงครับ

[ 13 เมษายน 2001: ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้วจากคุณ: gon ]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 18 เมษายน 2001, 09:24
xlover13 xlover13 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 30
xlover13 is on a distinguished road
Post

ผมทำอย่างนี้ครับพี่มังกร
cos 72 = sin 18
ให้ x = 18 องศา
ตั้งสมการขึ้นมาว่า
36 + 54 = 90 (องศาทั้งหมดครับ)
36 = 90 - 54
sin36 = sin(90-54)
sin 2x = sin(90-3x)
2 sinx cosx = cos 3x
2 sinx cosx = 4(cos^3)x - 3cos x
เอา cos x หารตลอด (ยังไงก็ตาม cos 18 ย่อม
ไม่เท่ากับศูนย์ ใช่มั้ยครับ )
2 sin x = 4(cos^2)x - 3
2 sin x = 4(1-(sin^2)x) - 3
2 sin x = 4 - 4(sin^2)x - 3
4(sin^2)x + 2 sin x - 1 = 0
ให้ sinx = A (ผมชอบทำแบบนี้มากกว่า เพราะ
ผมชอบตาลาย เลยต้องกำหนดให้มันอ่านง่าย ๆ )
4A^2 + 2A - 1 = 0
A = [-2+sqrt(4 + 16)]/8
หรือ = [-2-sqrt(4 + 16)]/8
แต่ A = sin 18 เป็นค่าบวก เพราะฉะนั้น
A = [-2+sqrt(20)]/8
= [-2+2*sqrt(5)]/8
= (sqrt(5) - 1)/4
เพราะฉะนั้นผมขอตอบว่า
cos 72 = sin 18 = [sqrt(5) - 1]/4
ถูกรึเปล่าครับ พี่มังกร เข้ามาเฉลยด้วย
ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 19 เมษายน 2001, 18:39
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

นั่นก็เป็นวิธีนึงครับ.
ซึ่งก็ถูกต้อง.ถ้าคิดเองก็เก่งมากครับ
แต่จริง ๆยังมีอีกหลายวิธีครับ.
อีก ราวๆ 3 - 4 วิธี แต่กลัวจะไม่มีคนคิดกัน
หรือไปปิดกั้นความคิด เลยบอกแค่รู้ว่ามี 2 วิธี.ครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 31 กรกฎาคม 2004, 21:54
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

อยากทราบอีก 2 วิธีอะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 31 กรกฎาคม 2004, 22:03
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ขอรบกวนอีกนิดครับ แล้ว ค่า cos1 กับ sin1 องศาสามารถหาได้แบบ cos72 ไหมครับ โดยไม่ต้องกระายเป็นอนุกรมอะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 01 สิงหาคม 2004, 14:28
tana's Avatar
tana tana ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 145
tana is on a distinguished road
Post

ปอง ( xlover13 ) หายไปนานมาก คิดว่าไม่ได้เข้าเว็บนี้แล้วนะเนี่ย ปี 4 ใกล้จบแล้วใช่ป่ะครับ นี่ออฟ นะ ไม่รู้จำกันได้ป่าว ตั้งแต่ก่อนเข้าปี 1 แล้วน่ะ
__________________
" จุดสูงสุด คือ เบื้องล่างที่ผ่านมา จุดสูงค่า คือ สิ่งใดหนอชีวี "
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 01 สิงหาคม 2004, 19:09
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

อ่า. 3 ปีผ่านไป เพิ่งมีคนอยากรู้ ตอนนี้นึกออกแค่วิธีสามเหลี่ยมนะครับ.
ถ้า A = 36 แล้ว 5A = 180 A + 2A + 2A = 180 แสดงว่า มุม 36 จะเป็นมุม ๆ หนึ่งในสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ABC ที่มี ขนาดมุมทั้งสามเป็น 36, 72, 72 ดังรูป
จากรูปให้ด้านตรงข้ามมุม A, B คือ a, b ตามลำดับ จากจุด B ลากส่วนของเส้นตรงเพื่อแบ่งครึ่งมุม ABC ไปตัด AC ที่จุด D เราจะได้ว่า D DBC D ABC
เมื่อ BC = a ก็จะได้ว่า BD = AD = a ด้วย เพราะเป็น D หน้าจั่ว
และเมื่อ AC = b จึงได้ว่า DC = b - a

โดยสมบัติของสามเหลี่ยมคล้าย จึงได้ว่า a/b = (b - a)/a จัดรูปจะได้ว่า b2 - ab - a2 = 0
\ b = (-1 + 5)a/2 เท่านั้น และ จาก D ABC เมื่อลากส่วนของเส้นตรงจาก A มาตั้งฉากกับ BC ก็จะได้ว่า cos 72 = a/2b = a/2[ (-1 + 5)a/2] = 1/(1 + 5) = (5 - 1)/4

สำหรับค่าของ cos 1 กับ sin 1 รู้สึกว่าจะถามกันมาหลายครั้งแล้ว เดี๋ยวผมจะลองนั่งคิดจริง ๆ สักครั้งให้ แล้วจะมาเปิดเผยความลับสววรค์ให้ฟัง ถ้าออกอาจจะได้อะไรที่มันค่อนข้างประหลาด ๆ เดี๋ยวขอตัวไปคิดก่อนครับ.

อ้อ. ลืมไปค่าของ cos 72 = sin 18 ที่เคยคิดไว้ตอนนั้นรู้สึกว่าจะใช้ จำนวนเชิงซ้อน ขอไประลึกก่อนเช่นกัน

01 สิงหาคม 2004 19:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 02 สิงหาคม 2004, 03:37
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ขอบคุณล่วงหน้าครับ ท่านกร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 02 สิงหาคม 2004, 17:44
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

ตอนนี้โดยหลักการ ดูเหมือนว่าผมจะหาค่าของ cos 1 กับ sin 1 ได้แล้วครับ. โดยมือก็ได้มาถึง cos 3 กับ sin 3 แต่พอจะกระโดดลงไปที่ cos 1 กับ sin 1 ถ้าเล่นตรง ๆ ก็จะได้สมการกำลัง 3 ซึ่งจะเข้ากรณีลดทอนไม่ได้ หมายความว่า คำตอบทั้ง 3 ค่า ได้เป็นจำนวนจริงทั้งหมด แต่ไม่เท่ากันทั้ง 3 ค่าเลย แต่รูปของมันจะออกมาในแบบ (a + bi)1/3 + (a - bi)1/3 ซึ่งเข้าใจว่าตอนนี้ยังไม่มีวิธีการทั่วไปในการลดรูปออกมาถึง ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าได้จำนวนจริงทั้ง 3 ค่าแน่ ๆ

ดังนั้นผมเลย ใช้ลูกเล่นนิดหน่อย ซึ่งก็จะได้สมการกำลัง 3 เช่นกัน แต่ในกรณีนี้จะเข้ากรณีที่ เป็นจำนวนจริงค่าเดียว อีก 2 ค่าที่เหลือเป็นจำนวนเชิงซ้อน (ถ้าคิดไม่ผิดนะ) ก็ยังไม่อยากจะแก้ตรง ๆ โดยมือ เลยใช้ Mathematica 5 จัดการ Solve ก่อน ปัญหาก็คือ ผมจิ้มเครื่องคิดเลขเท่าไร มันก็ไม่ตรงกับค่าที่ควรจะเป็นเลย (สังสัยคิดผิด)ตรวจสอบไปไม่ต่ำกว่า 20 รอบแล้ว ถ้าใช้เฉพาะเครื่องคิดเลขแก้ มันก็ตรง แต่พอใช้ Mathematica solve ดันไม่ตรง เป็นงง. เดี๋ยวต้องใช้ไม้ตายสุดท้ายคือ มือ !!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 02 สิงหาคม 2004, 19:35
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ลุ้นสุดโก่ง รอด้วยความตื่นเต้น เหมือนเด็กน้อยรอของขวัญในวันเกิด ขอให้คิดได้ไวๆนะครับ ผมอยากรู้จนแทบนอนไม่หลับแล้วครับ ขอบคุณมากๆครับ ท่านกร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 04 สิงหาคม 2004, 11:27
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon22

น่าเสียดายมาก เพราะผมคิดเลขผิด สมการกำลัง 3 จากลูกเล่นแบบแรกที่ผมลอง ก็ยังคงเข้ากรณีลดทอนไม่ได้อยู่ดี รูปข้างล่าง นี่คือคำตอบของ cos 1 จาก Mathematica
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 04 สิงหาคม 2004, 11:28
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon20

ส่วนคำตอบจากมือที่เป็นคำตอบรวม คือ ดังรูป ไม่ว่าผมจะลองใช้เทคนิคเท่าทีมีอยู่ในการถอดรากที่สามของจำนวนเชิงซ้อนของแต่ละวงเล็บแบบใดก็ตาม สุดท้ายก็จะไปได้สมการกำลังสามที่เข้ากรณีลดทอนไม่ได้อย่างฉิวเฉียดทุกที ดังนั้นโดยความรู้ที่มีผมมีอยู่ตอนนี้จึงหาได้แค่ cos 3 กับ sin 3 เท่านั้น (อันนี้หมู)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 04 สิงหาคม 2004, 11:30
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

อย่างไรก็ดี ผมได้ลองประมาณค่าของ cos 1 อย่างหยาบ ๆ (ไหน ๆ ก็ทำมาแล้ว) โดยเลขโดยตรง ก็จะได้ ว่า cos 1 (1/2) [ 724 + 33.75(3 + 15 + (10 - 25)1/2) ] 1/10 ซึ่งเมื่อลองจิ้มเครื่องคิดเลขดู จะพบว่าถูกเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น เพราะใช้เอกลักษณ์ง่าย ๆ ในการประมาณ แต่ถ้าลองปรับแก้นิดหน่อยเป็น cos 1 (1/2) [ 754 + 33.75(3 + 15 + (10 - 25)1/2) ] 1/10 ก็จะถูกต้องถึง 4 ตำแหน่ง แต่นั่นก็ไม่มีประโยชน์อันใด เขียนให้ดูเล่น ๆ อีกอันก็เช่นกัน cos 1 (1/2) [ 42035 + 2931(3 + 15 + (10 - 25)1/2 ) + 5( (150 - 305)1/2 + (30 - 65)1/2 - 45 - 5 ) ] 1/16 ถูกต้องทศนิยมตำแหน่งที่ 5
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 04 สิงหาคม 2004, 23:29
<ขาจร>
 
ข้อความ: n/a
Post

ท่านกรช่วยกรุณาแสดง หลักการและวิธีคิดด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ ท่านกร คิดว่าคงยาวพอสมควร ขอบคุณครับผม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 05 สิงหาคม 2004, 12:12
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ไม่มีอะไรมากครับ. เรารู้ค่าของ sin 18 เราก็จะรู้ค่าของ cos 18 จาก sin2q + cos2q = 1 จากนั้นเราก็จะรู้ค่าของ cos 36 กับ sin 36 จาก cos 2q = 2cos2q - 1 = 1 - 2sin2q แล้วก็จะหาค่าของ cos 6 จากสูตรของ cos (A - B) เมื่อ A = 36, B = 30 ค่าของ sin 6 ก็ทำนองเดียวกัน พอได้มาเสร็จ เราก็จะได้ค่าของ cos 3 กับ sin 3 จากสูตรของ cos 2q เช่นกัน สุดท้ายจึงใช้สูตร cos 3q กับ sin 3q เพื่อหาค่าของ cos 1 กับ sin 1 ซึ่งจะเป็นสมการกำลังสาม ซึ่งผมลืมดูไป เพราะ ถ้าเราต้องการรู้ค่าของ cos q หรือ sin q จากสูตรของ cos 3q กับ sin 3q นี้ จะได้สมการกำลังสาม ซึ่งถูก force (บังคับ) ให้เข้ากรณีที่ลดทอนไม่ได้เสมอ (หรือกรณีเป็นจำนวนจริง 3 ค่า แต่เท่ากัน 2 ค่า และ เป็นครึ่งหนึ่งของอีกค่า เมื่อ r2/4 = q3/27) ( ดูสูตรสมการกำลังสามจาก บทความที่เพื่อนผม Top เขียนที่นี่http://www.mathcenter.net/sermpra/sermpra07/sermpra07p01.shtml)

ดังนั้น โดยหลักการค่าของ cos, sin ของมุมองศาที่เป็นจำนวนเต็ม 3 เท่า คือ 0, 3, 6 , ... , 87, 90 เราจะหาค่าจริง ๆ ออกมาได้หมดครับ.

05 สิงหาคม 2004 12:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 08:02


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha